12/30/08

นพ.กวี ไชยศิริ คนดีศรียโสธร



วัน ที่  24 ธันวาคม 2551  เวลา 18.09 น. ออกเดินทางร่วมกับคณะ ภก. องอาจ  แสนศรี   รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  นายมงคล  สุทธิอาคาร   รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  นายวิทยา  เพชรรัตน์  สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยมี ดำริ นนทสามารถ เป็นพลขับ เพื่อเข้าร่วมงาน ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี (ริมมูล) งานนี้ ท่าน นพ.สมชาย  เชื้อเพชรโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อ เป็นเกียรติ แก่ ท่าน กวี  ไชยศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เนื่องในโอกาส ย้ายไป ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาล ในสังกัด กระทวงสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย งานนี้มีผู้บริหารการสาธารณสุข ในเขต ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 ทั้ง 4 จังหวัดเข้าร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียง  น.พ.สุรพร  ลอยหา  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  และ คุณนาย ยุพิน  ลอยหา ได้เข้าร่วมงานนี้ด้วยความโดดเด่น ในชุด คาวบอยทั้ง 2 ท่าน เท่าที่ผมรู้จัก ท่านกวี ไชยศิริ เป็นผู้บริหารยุคใหม่ ที่มีแนวคิดพัฒนาในยุคต้นๆก็ว่าได้ ผมมีโอกาสได้ร่วมเห็นผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ของท่าน โดยการเปลี่ยนภาพลักษณ์ ของ  โรงพยาบาลได้อย่างเป็นรูปธรรมในเวลาอันสั้น โดยการใช้ ยุทธศ่าสตร์ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ( ยุทธศ่าสตร์ การบริหารจัดการ เป็น Public Health Universal Strategic ที่ 5 ตามแนวคิดของ น.พ.สุรพร  ลอยหา  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  ) ภาพที่เป็นผลงานท่านกวี ไชยศิริ ที่คนใน จังหวัดยโสธร ยังระลึกถึงทุกวันนี้คือ การเปลี่ยน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี และเป็นรูปธรรม ภายใต้ แนวคิด Think Big หรือ ท่านกวี ไชยศิริ มักจะพูดเสมอว่า คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก  ท่านนำคำพังเพย ที่ คนในสังคมมักจะพูดกันเสมอว่า มี อยู่ 2 โรง ที่ คนไม่อยากไปมากที่สุดคือ 1. โรงพัก และ 2 โรงพยาบาล  ท่านบอกว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทำไมจึงต้องเข้าพบยาก ให้เข้าพบง่ายได้ไหม หรือไปหาลกน้องได้ไหมหรือไปหาชาวบ้านได้ไหม ไปถามเขาวว่า เข่าต้องการอะไร แล้วมาปรับปรุงให้ตรงตามความต้องการของชาวบ้าน   ท่านศึกษาจนถ่องแท้ว่า  ที่มาที่สำคัญ ที่ว่า ทำไมคนจึงไม่ชอบมาโรงพยาบาล จนได้คำตอบหลายๆอย่าง เช่นขับรถมาไม่มีที่จอด เพราะเจ้าหน้าที่จอดเต็มหมด พอลงจากรถก็เจอกลิ่นเหม็น ภาพความรกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ ไม่มีความสวยงาม สิ่งอำนวยความสะดวกมีน้อย ห้องน้ำสกปรก พอไปพบเจ้าหน้าที่ก็โดนด่า โดนดุ รอพบแพทย์ก็นาน แพทย์ก็มีหน้าที 2 อน่างคือ เป็นศรัตรูกับคนไข้ และคอยจับผิดคำพูดองคนไข้ และคำพูดที่เจ็บแสบที่สุดที่ท่านเล่ให้ฟังคือ เขาบอกว่าโรงพยาบาลเป็นโรงฆ่าสัตว์(รักษาไม่หาย) ท่านนำปัญหาเหล่านี้มาปรับเปลี่ยน ที่สามารถปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ให้ โรงพยาบาลยโสธรเป็นที่รู้จักกันในขณะนั้นด้านการพัฒนา ท่านเริ่มจากเรื่องที่ทำได้ทันที เช่น โรงพยาบาลยโสธรทำไมต้องเหม็น ทำให้หอมได้ไหม ท่านศึกษาจนพบว่า น้ำยาดับกลิ่นไม่จำเป็นต้องเหม็นก้ดับกลิ่นได้  สภาพแวดล้อมทำไมต้องรกรุงรัง สวยงามเหมือนโรงแรมได้ไหม ท่านเริ่มทันที ให้ทุกจุดบริการตกแต่ง ทั้งภายในภายนอก ต้นไม้ดอกไม้ สวยงามสำนักงานให้เป็นบ้านของเขาให้สวยงามจนเป็นที่พึงพอใจของเจ้าหน้าที่ก่อน จนพร้อมที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้ โรงพยาบาลยโสธรเปลี่ยนแปลงทันตาเห็น ห้องพิเศษทำไมจึงต้องรอคิวนาน ไม่พอ ท่านสร้างเพิ่ม เงินไม่มี ท่านสามารถหาจากผู้มีจิตศรัทธาได้ คนละ ห้อง สองห้อง ท่านพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนา 5 ส. เมื่อ 5 ส. แล้ว คู่ขนานไปพร้อมกับการพัฒการพัฒนาบุคลากร แนวความคิดท่านบอกว่า คนต้องมีความรู้จึงจะให้บริการในงานที่ตนรับผิดชอบได้ดี บุคลากรท่านทุกท่านต้องได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ เมื่อทำงานหนักแล้วต้องได้รับการพักผ่อน คนที่ไม่เคยลาพักผ่อนเลย ท่านบอกว่าควรปรับปรุงเป็นอย่างยิ่ง เพราะคนต้องมีการพักบ้างตามความเหมาะสม  คนที่ต้งการเรียนต่อ ปริญญาตรี ปริญญาโท สมัยนั้น หากใครสอบได้ท่านให้ไปเลยทันที โดยไม่ต้องรอว่า ต้องจบมาแล้ว 4 ปี 5 ปี จึงไปสอบได้ เพราะท่านมีแนวคิดว่า

            ห้องสมุด ในโรงพยาบาลยโสธร มีหนังสือให้สามารถค้นว้าหาความรู้ได้ทุกสาขา เพราะท่านเป็นคนรักการอ่าน แม้แต่ตอนเดินทางท่านยังอ่านหนังสือบนรถ รถตู้คันที่ท่านใช้ ต้องมีอย่างน้อย 2 อย่าง คือโต๊ะอ่านหนังสือ และโคมไฟอ่านหนังสือ

การก่อสร้างตึก การออกแบบตึก ท่านบอกว่าพวกเราออกแบบเองได้ไหม ทำไมต้องเป็นกองแบบแผน กองช่าง พวกเราผู้ใช้งาน สามารถออกแบบเองได้ ว่าต้องการแบบไหน แล้วให้ช่างเทคนิคไปเขียนแบบให้ตรงตามหลักวิชาการต่อไป อาคารใหม่ โรงพยาบาลยโสธรในปัจจุบัน ที่โดดเด่นเป็นสง่า และการตกแต่งอาคารสไตล์โรงแรม ก็เป็นผลงานการออกแบบของท่าน ภายใต้แนวคิด ให้แสงเข้าตรงกลางอาคาร เพื่อประหยดพลังงานด้วย

            ด้านการบริการท่านปฏิบัติตนเป็นเป็นแบบอย่าง เจ้าหน้าที่ทำไมต้อง ดุ คุณหมอทำไมต้องด่า ท่านกลับกันเลย เปลี่ยนจากหมอด่า เป็นหมอเป็นชม  ชื่นชมคนทุกคน โดยเฉพาะคนที่ทำความดี ทั้งชมทั้งให้โอกาส เจ้าหน้าที่ไม่เคยยกมือไหว้ใคร ท่านสามารถให้ โรงพยาบาลยโสธรมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เป็นเอกลักษณ์ของตนเองคือการไหว้ เป็นต้น

            งานชุมชน ท่านรู้จักชาวบ้านเกือบทุกชุมชน เข้าใจปัญหาชาวบ้าน เพราะนอกจากจะอ่านมากแล้ว ท่านยังเป็นนักฟังที่ดี ซึ่งท่านเคยบอกว่า หากเราเพียงแค่ฟังคนอื่นด้วยความตั้งใจแล้ว สามารถแก้ปัญหาได้ไปกว่าครึ่งแล้ว คนไข้ แม้อยู่กลางทุ่งนา ไกแค่ไหน ท่านก็ลุย เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

            ด้วยผลงานที่ท่านสร้างที่ โรงพยาบาลยโสธร ทำให้ท่านได้มีโอกาสไปสร้างบุญกุศล ให้กับคนได้มากขึ้น โดย ปี 2540 ได้รับตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี  โรงพยาบาลที่ ในสมัยนั้น ใครๆก็คิดว่าไม่สามารถที่จะปรับ เปลี่ยน หรือพัฒนาอะไรได้อีกแล้ว เพราะ มีพื้นที่จำกัดเพียง 25 ไร่เท่านั้นเอง หลายคนพูดว่าเป็น สลัม เพราะ แออัดทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งตึก ทั้ง คนไข้ก็แออัด ที่จอดรถก็ไม่มี บริการก็ช้า เป็นต้น ปัจจุบัน ท่านสามารถพิสูจน์ได้ว่า หากใช้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวความคิด ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก และ คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก ท่านสามารถพัฒนา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จากที่เคยมีงบประมาณติดลบ ปีละ หลายร้อยล้าน ทำให้ปัจจุบัน มีงบประมาณ บวก หลายร้อย ล้าน และมีเงินงบประมาณ ชดเชย สนับสนุนให้กับ โรงพยาบาลในเครือข่ายอีกปีละหลายสิบล้านบาท 

1 comment:

  1. Anonymous25/1/09

    ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล

    ReplyDelete