12/13/09

ขั้นตอนการจ่ายเงินค่าตอบแทน อสม.เงินค่าป่วยการ อสม. 600


วันที่ 10 ธันวาคม 2552 พักผ่อนอยู่กับครอบครัวที่บ้าน ลูกๆ อยู่ด้วยกันพร้อมหน้า มี พี่แค คุณธรรมิกา แสวงศรี มาเล่นที่บ้านกับ น้องภูมิ และพี่เพียรด้วย..
วันที่ 11 ธันวาคม 2552 ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ปฏิบัติาน ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เช้า นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วมต้อนรับ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ณ ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว ภาคบ่ายประชุมคณะกรรมการ คปสอ. เพื่อเตรียมความพร้อม การเข้าแข่งขันกีฬาสาธารณสุข ประจำปี 2552 ณ ห้องกาญจนาภิเษก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ภารกิจสำคัญของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ในช่วงนี้ คือ การตรวจสอบข้อมูล อสม. ในภาพรวม เพื่อประกอบการพิจารณาจ่ายค่าป่วยการให้กับ อสม. ทุกคน ประจำปี งบประมาณ 2553 เดือนละ 600 บาท ความเดิม.. เดือนที่ผ่านมา มีข่าวเกี่ยวกับที่ ทาง อบจ. จะให้ จ่ายเงิน ผ่านทาง อบจ. ให้กับ อสม. โดยตรง โดยไม่ต้องผ่าน สถานีอนามัย .... อสม. ทั่วประเทศ ไม่เห็นด้วย เพราะ อสม. นั้น เป็นองค์กร ที่ฝึกมาโดย สถานีอนามัย กว่า 30 ปีแล้ว แม้ไม่มีเงินค่าตอบแทนสักบาท เขาก็ยินดี ที่จะปฏิบัติงานร่วมกัน กับ สถานีอนามัย เมื่อมีเงินมาเกี่ยวข้อง แลัว จะให้ นักการเมืองเข้ามาแทรกแซง ระบบ งาน ของ อสม. อสม. ส่วนใหญ่ จึงไม่เห็นด้วย ... ขอเป็นทีมงาน กัลยาณมิตร กับ สถานีอนามัยต่อไป.... ปัจจุบันนี้ สรุปแล้ว. ฯพณฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีมติ คณะรัฐมนตรี ให้ จ่าย ค่าป่วยการให้กับ อสม. ทุกคน ประจำปี งบประมาณ 2553 เดือนละ 600 บาท ตามระบบเดิม คือ รัฐบาลโอนเงิน ผ่านทาง อบจ. ทั่วประเทศ แล้ว ให้ อบจ. โอนลง ถึง อำเภอต่างๆ ตามระบบต่อไป... เพื่อ ส่งผ่านถึง อสม. และ อสม. ก็มี ผลงาน มาสรุป แลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน ที่ สถานีอนามัย ทุกเดือน เช่นเดิม.. เห็นด้วยครับท่าน..
แนวปฏิบัติการจ่ายเงินค่าตอบแทน อสม.เงินค่าป่วยการ อสม. 600 บาท/เดือน
สรุปขั้นตอนการดำเนินงานส่งเสริมอสม.เชิงรุก
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 ได้มีมติเห็นชอบในการสนับสนุนการดำเนินงานให้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.) ในการปฏิบัติงานเชิงรุกด้านส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชนเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ หนุนเสริมให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัวและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สำนักงบประมาณดำเนินการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 3,000 พันล้านบาทตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 งบหมวดอุดหนุน สนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พ.ศ. 2552 ให้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อ โอนไปยัง อบจ. ทั่วประเทศ
ขั้นตอนที่ 2 อบจ. พิจารณาอนุมัติโครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก และสนับสนุน (โอน) งบประมาณให้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผ่านเข้าบัญชีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ชื่อบัญชี โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก ปี 2552 จังหวัด…
ขั้นตอนที่ 3 สสจ. เสนอโครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด พร้อม ดำเนินการเปิดบัญชีเงินฝากประเภทกระแสรายวันและออมทรัพย์ จัดทำคำสั่งให้ อสม. ได้รับเงินค่าป่วยการ รายเดือนในอัตรา 600 บาท ต่อคน ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พ.ศ. 2552 ดำเนินการโอนงบประมาณให้แก่ หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ / ตำบล เพื่อเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการให้แก่ อสม. ต่อไป ดูแล ควบคุม กำกับ การปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ
ขั้นตอนที่ 4 หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ดำเนินการรวบรวมและตรวจสอบผลการปฏิบัติงานประจำเดือนของ อสม. รายอำเภอ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ อสม. นิเทศ ติดตาม ดำเนินการเบิกจ่าย / ดูแลการเบิกจ่าย ให้เป็นไปตามระเบียบ ครบถ้วนและทันเวลาและจัดทำหลักฐาน ใบสำคัญรับเงิน เก็บไว้ และจัดทำสำเนาส่งขึ้นไปตามระบบที่จังหวัดกำหนด
ขั้นตอนที่ 5 หน่วยงานสาธารณสุขระดับตำบล ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ อสม. ตามแผน ฯ รวบรวมและตรวจสอบผลการปฏิบัติงานประจำเดือน ของ อสม. ในความรับผิดชอบ รายตำบล และดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการให้แก่ อสม. ภายในวันสิ้นเดือนโดยจัดทำหลักฐาน ใบสำคัญรับเงิน เก็บไว้ และจัดทำสำเนาส่งขึ้นไปตามระบบที่จังหวัดกำหนด
ขั้นตอนที่ 6 ประธาน อสม. ตำบล ดำเนินการรวบรวมผลการปฏิบัติงาน อสม. เป็นรายหมู่บ้าน ส่งเจ้าหน้าที่ ระดับตำบล พร้อมรับรองผลงาน อสม. ดูแลการเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการ ฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ฯ ระดับตำบล และตรวจสอบเงินคงเหลือร่วมกับเจ้าหน้าที่ ฯ ระดับตำบล
ขั้นตอนที่ 7 อสม. ปฏิบัติงานในระแวก / คุ้ม ที่รับผิดชอบ ในเรื่องที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนา ฯ โดยเน้นการดูแลหญิงตั้งครรภ์, หญิงหลังคลอด, เด็กแรกเกิด 0-5 ปี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ บันทึกการปฏิบัติงานและลงชื่อกำกับ ทุกครั้ง พร้อมสรุปผลงานประจำเดือนของตนเองลงในแบบรายงาน อสม. 1 ส่งให้ประธาน อสม. หมู่บ้านหรือตำบลหรือเจ้าหน้าที่ระดับตำบล(ควรมีการประชุมสรุปบทเรียนหลังการดำเนินงานเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงาน และหาแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นในเดือนต่อ ๆ ไป)

No comments:

Post a Comment