12/31/09

ผวจ.พงษ์ศักดิ์ นาคประดา จะมอบอำนาจให้กับประชาชน




วัน ที่ 18 ธันวาคม 2552 เวลา 14.39 น. พงษ์ศักดิ์ นาคประดา มอบอำนาจให้กับประชาชน: ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ หอประชุมอำเภอคำเขื่อนแก้ว กิจกรรม มอบผ้าห่มกันหนาว ให้กับประชาชน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 13 ตำบล 115 หมู่บ้าน จำนวน 1,500 ผืน ประธานโดย ท่านพงษ์ศักดิ์ นาคประดา ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ซึ่ง นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารท้องที่ ผู้บริหารท้อถิ่น และ แขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน โดยมี ท่าน รณ ฤทธิชัย คานเขต สส.ยโสธร เขต 1 ประสานงานและให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้ด้วย ผมประทับใจ โอวาท ที่ ท่านพงษ์ศักดิ์ นาคประดา ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้ ขยายความ ของคำว่า ยโสธร สร้างสุข สร้างรอยอยิ้ม ซึ่งท่าน อธิบายสั้นๆว่า ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ใน จังหวัด ยโสธร จะต้องร่วมกัน ทำอย่างไรก็ได้ ให้ คนยโสธร มีความสุข และมีรอยยิ้ม ... สิ่งที่ประชาชนยโสธร จะมีความสุขได้ ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนไม่มีความทุกข์เลย แต่หมายความว่า หากแม้นประชาชนจะมีความทุกข์ หรือปัญหา อุปสรรค บ้าง ในการประกอบอาชีพโดยสุจริตแล้ว ปัญหา อุปสรรคเหล่านั้น มีหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ ที่รับผิดชอบ รับทราบปัญหา ให้การบรรเทา แก้ไข หรือช่วยเหลือในการแก้ปัญหาเหล่านั้นของประชาชน... ประชาชนก็จะมีความสุข เมื่อมีความสุข ก็จะมีรอยยิ้ม ยิ้มน้อย ยิ้มใหญ่ ก็แล้วแต่ขนาดของความสุขของแต่ละคน... แต่โดยเป้าหมายที่มุ่งหวังของ ท่านพงษ์ศักดิ์ นาคประดา ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร แล้ว หวังจะให้ จังหวัด ยโสธรเป็นเมืองแห่ง ความสุข และ รอยยิ้ม.. ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ ที่ดีมากๆ..
ผมประทับใจ ประสบการณ์ การสร้างรอยยิ้มของท่าน 2 เรื่อง เรื่องที่ 1 การ สร้างคลองซอย คลองไส้ไก่เข้าสู่ไร่นา จากอ่างเก็บน้ำเข้าแปลงเพาะปลูก เพื่อสร้างอาชีพเสริม ทำนาปีละ 2 ครั้ง ขยายพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์ จากประสบการณ์ของท่าน ใน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีแนวคิด การแก้ปัญหาโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดย นำงบประมาณจากกระทรวงแรงงาน จำนวน 2 ล้านบาท ที่ตามแผนงานโครงการ การฟื้นฟูปัญหาจากอุทกภัยในจังหวัด ที่เสนอ ขอทาสีรั้ว และสถานที่ราชการต่างๆ รวม จวนผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย ... ท่าน ศึกษาแล้วพบว่า วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับท่านคือ ใช้จ่ายในการทาสี ตามแผนงานโครงการ แต่ท่านวิเคราะห์แล้วพบว่า หากนำเงินงบประมาณ 2 ล้านบาท นี้ ไปให้ประชาชนในชนบทได้ใช้จ่ายเอง จะเกิดประโยชน์มากกว่า ไม่ยึดติดกับตัวหนังสือ แต่ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง... ท่านเลือกเส้นทางที่ยากกว่า คือ จึงเสนอขอ เปลี่ยนกิจกรรม ไปเป็น นำเงินงบประมาณ 2 ล้านบาทนี้ ไปให้ ชาวนา ขุดคลองไส้ไก่ คือคลองขนาดเล็กๆ ตามท้องทุ่ง ในที่นาของชาวนาเอง ให้ ชาวนาเป็นคนขุดเอง แต่ขุดแล้ว สามารถเบิกค่าแรงได้จากทางราชการ... พบว่าได้ผลลัพธ์ ดีเกินความคาดหมาย เพราะเนื้องานที่ได้ ประเมินคร่าวๆ ว่าหากเป็นสิ่งที่ดำเนินการจ้างานโดยรัฐเองแล้ว จะเท่ากับลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท แสดงว่าได้ผลดีถึง 5 เท่า กับงบที่ลงทุนไป ... จึงพบว่า 5 เท่าที่ได้มานั้นได้มาจาก เพราะ ชาวนาขุดคลองเอง จึง ขุดแบบดี เพราะขุดให้ตนเอง ขุดไม่ดีแล้วจะขุดทำไม ไม่พอใจจะหยุดทำไม ทุกคนต่างขุดจนเป็นที่พึงพอใจของตนเอง ขุดคนเดียวไม่พอ นำพ่อ แม่ พี่ น้อง ในครอบครัว มาช่วยกันขุด สร้างสัมพันธภาพในครอบครัวด้วย...
เรื่องที่ 2 คือ การไปร่วมรับฟังและร่วมแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ ยกตัวอย่าง วันที่ 16 ที่ผ่านมา ท่านไปร่วมรับประทานอาหารเย็นข้าวเหนียวจ้ำแจ่ว กับพี่น้องบ้านคำผักหนาม คำผักกูด ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม.. ท่านไปร่วม กิน นอน พูด คุย และที่สำคัญ ท่านไป ฟัง ชาวบ้านถึงพื้นที่ มีชาวบ้านให้ข้อเสนอแนะว่า ...พวกผมกำลังปลูกยางพารา ยางกำลังจะครบกำหนดกรีด แต่พวกเรา กว่า 300 คน กรีดยางไม่เป็น ทำอย่างไร พวกเราจึงจะกรีดยางเป็น ไม่ต้องไปจ้างคนจากภูมิภาคอื่น... ท่านพงษ์ศักดิ์ นาคประดา ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้ให้ประชาชนร่วม กันหาแนวทาง และเสนอท่าน และท่านก็อนุมัติโครงการในคืนนั้นเอง คือ โครงการฝึกอบรมนักรีดยางในชุมชน และส่งออก นักรีดยางด้วย... กล่าวคือ อบรมเตรียมความพร้อมเอาไว้ เมื่อทำเป็นแล้ว ขณะที่ยางในพื้นที่ยังไม่ครบกำหนดกรีด ท่านก็จัดหาตลาดให้ คือ มีสวนยางจากจังหวัดใกล้เคียงที่ครบกำหนดกรีดแล้ว ก็ส่งคนพวกนี้ไปรับจ้างกรีดหารายได้เข้าครอบครัวได้ เช่น ที่ มุกดาหาร นครพนม สกลนครเป็นต้น ส่วนแผนงาน โครงการ ที่ท่านเสนอ และจะดำเนินการในอนาคตอันใกล้ ที่น่าประทับใจและถือว่า เป็นสิ่งที่ท้าทาย เป็นอย่างยิ่งคือ การมอบงบประมาณการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้กับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปดำเนินการเอง ไม่ต้องผ่าน นายอำเภอ หรือส่วนราชการ แล้วให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้โดยหมู่บ้านเอง หมู่บ้านละ 1 หมื่นบาท ...

No comments:

Post a Comment