3/27/10

ประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล



วันที่ 24 มีนาคม 2553: ประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล: ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประชุม คณะกรรม การประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ประจำปี 2553 ณ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ ประธานการประชุมโดย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วและคณะกรรมการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๗๖ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การเลื่อนระดับ การให้ออกจากราชการ การพัฒนาเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการและการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องต่างๆ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๑๒ / ว. ๒๐ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ และหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๒๐๑.๐๓๗ / ว. ๒๗๕ ลงวันที่ ๓๐พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ที่ให้ผู้บังคับบัญชาสามารถกำกับติดตามการปฏิบัติราชการของผู้ใต้บังคับบัญชาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล และนำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไปใช้ประกอบการเลื่อนเงินเดือนนั้น จึงแต่งตั้งให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ หัวหน้างาน และหัวหน้าสถานีอนามัย ให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจริงในหน่วยงาน
ถือได้ว่าเป็นการ ประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล เพื่อเลื่อนเงินเดือน ตามระเบียบใหม่ เป็นครั้งแรก
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. ยกเลิกการประเมินการให้เงินเดือนจากระบบขั้น เป็นระบบร้อยละ
2. แต่ละส่วนราชการสามารถเลื่อนเงินเดือนได้ หลายระดับ โดยสามรารถเลื่อนเงินเดือนได้ ตั้งแต่ร้อยละ ๐.๑ ถึงไม่เกินรอบละ ร้อยละ ๖ ของฐานการคำนวณ จากเงินเดือน ค่ากลาง เป็นฐานในการคำนวณ
ที่ประชุม ได้อภิปรายร่วมกันและกำหนด หลักเกณฑ์ การเลื่อนเงินเดือน ดังนี้
ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือน
ร้อยละ ๖๐ – ๖๐.๙๙ พอใช้ ร้อยละ ๐.๐๑ ถึง ร้อยละ ๑.๙๙
ร้อยละ ๗๐ – ๗๐.๙๙ ดี ร้อยละ ๒.๐๐ ถึง ร้อยละ ๒.๙๙
ร้อยละ ๘๐ – ๘๐.๙๙ ดีมาก ร้อยละ ๓.๐๐ ถึง ร้อยละ ๓.๒๔
ร้อยละ ๙๐ – ๑๐๐ ดีเด่น ร้อยละ ๓.๒๕ ถึง ร้อยละ ๓.๕๐

No comments:

Post a Comment