6/17/10
ประชุมวิทยากร รพ.สต.เขต13 ณ ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์เขต7
15 มิถุนายน 2553: ประชุมวิทยากร รพ.สต.เขต13 ณ ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์เขต7 อุบลราชธานี: ภาคบ่าย ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม วิทยากร รพ.สต.เขต13 ณ ห้องประชุม ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์เขต 7 อุบลราชธานี ประธานการประชุมโดย นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 อำนวยการโครงการโดย นพ.วุฒิไกร มุ่งหมาย สาธารณสุขนิเทศก์ เขต 13 เป็นการเตรียมความพร้อม ของ วิทยากร ทุกคณะ ที่จะให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรการพัฒนาทักษะ การบริหารจัดการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) เขต 13 … โดยเป็นเจ้าหน้าที่ ทุกคน จาก สถานีอนามัยทุกแห่ง ในเขต 13 กว่า 3,000 คน คณะวิทยากร มาจากทุกจังหวัด ผมได้รับผิดชอบ เรื่อง การบริหารจัดการ รพ.สต.ให้มีประสิทธิภาพ แบบเชื่อมโยง เชิงรุก ผสมผสาน และต่อเนื่อง หัวหน้าทีมโดย ท่านพรชัย ทองบ่อ สาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ และทีม อีก 2 คน คือ อาจารย์สง่า ไชยรักษ์ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดชุม และ คุณสุพล นามแก้ว จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร
ส่วนคณะ PCA นำทีมโดย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นางนัยนา ดวงศรี หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลลุมพุก เป็นต้น คณะ บริการในสถานบริการ นำทีมโดย คุณวิลาวรรณ ไชยมี หัวหน้าศูนย์สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ อำเภอกุดชุม คณะ การบริการนอกสถานบริการ โดย คุณภัทรวรรณ จันทร์ศิริ จากศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลลุมพุก
ผู้รับผิดชอบเรื่อง การวางแผนกลยุทธ โดย ดร.อนันต์ ถันทอง จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
…. โครงการนี้ ถือเป็นโครงการ ที่ดีของ เขตตรวจราชการที่ 13 โดยเฉพาะ นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 13 ท่านได้กรุณาให้คำแนะนำ ในเทคนิคการถ่ายทอด และเนื้อหาวิชาต่างๆ ทุกเรื่อง ด้วยตัวท่านเอง พร้อมให้คำแนะนำใหม่ เช่น เรื่องใหม่ที่จะเข้ามา คือ PCA และ SRM การใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ และ การปฏิบัติตาม นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน ฯพณฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข SSS การปรับปรุง Structure การมีพฤติกรรมบริการที่ดี Service และ การมีระบบที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน System
ส่วน นพ.วุฒิไกร มุ่งหมาย สาธารณสุขนิเทศก์ เขต 13 นั้น มีโครงการที่ กระทรวงสาธารณสุขนำเอาแนวคิดของท่านไปขยายผลทั่วประเทศ คือ การตรวจสุขภาพเชิงรุก Health Check ที่พวกเราคุ้นเคย...
SRM การใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ สรุปง่ายๆได้ดังนี้นะครับ
แผนที่ ชี้เป้า เอาอย่างนี้ ทำอย่างนี้
SRM Strategic Route Map คือ แผนที่ทางเดิน
SLM Strategy Linkage Model คือ ชี้เป้า
Mini SLM คือ เอาอย่างนี้
Micro SLM คือ ทำอย่างนี้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment