14 มิถุนายน 2553 :แผนที่ ชี้เป้า เอาอย่างนี้ ทำอย่างนี้ คือ ข้อสรุป ของ SRM แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อมวิทยากรระดับจังหวัดและอำเภอ ในการขยายแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ปี 2553 จังหวัดยโสธร ณ โรงแรมกิจตรงวิลล์ รีสอร์ท อุบลราชธานี ประธานการเปิดการประชุมโดย นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) และ โรงเรียน นวัตกรรม ส่งเสริมสุขภาพชุมชน (รนสช.)
1. เพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้รับการส่งเสริมสนับสนุน
ให้มีคุณภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก
2. เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแผนสุขภาพชุมชน ที่มุ่งสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
3. เพื่อให้แกนนำ อสม. มีศักยภาพในกระบวนการเรียนรู้แผนสุขภาพชุมชน
4. เพื่อให้เจ้าหน้าที่และเครือข่ายสุขภาพมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพด้วยตนเองของชุมชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค
อำนวยการจัดงานและหัวหน้าคณะวิทยากร โดย นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร วิทยากรประกอบด้วย ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางเพียงพร สุทธิอาคาร หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ นางสุวรรณี แสนสุข หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและสุขภาพภาคประชาชน และคณะ เช่น นายสงวน บุญธรรม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายสงวน บุญธรรม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นางบุญธรรม บุญธรรม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายประดิษฐ์ ภูมิแสน นายพัลลภ เพิ่มพูล นายสุพล นามแก้ว นางละอองดาว ไชยนา นางชรินทร์ทิพย์ คำภักดี เป็นต้น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก สสจ.ยส. รพ.ยส. และ จาก สสอ. สอ. ทุกอำเภอ จำนวน 90 คน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประกอบด้วย นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว ทศพล นิติอมรบดี หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ นางอุศมา นามแก้ว หัวหน้าสถานีอนามัยย่อ นางดรรชนี เขียนนอก พยาบาลวิชาชีพ สอ.สงเปือย เป็นเนื้อหาและหลักสูตรที่ดีมาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ในพื้นที่ ทั้ง 78 ตำบล ต่อไป
นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร สามารถถ่ายทอด เนื้อหา ที่มากมาย ให้ที่ประชุมได้รู้และเข้าใจได้อย่างง่ายดาย ... เป็นตัวอย่างที่ดี ในการ ถ่ายทอดความรู้แก่บุคคลอื่นๆได้ ... ซึ่งการวิเคราะห์สถานการณ์ ทั้ง 4 มุมมอง ของ SRM มุมมองสูงสุดคือ มุมมอง ด้านประชาชน ซึ่งเป็นมุมมองด้านคุณค่า มุมมอง ภาคี มุมมอง กระบวนการ และ มุมมองพื้นฐาน ...
นิยามกล่องบนสุดของแผนที่ฯ SLM (ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)ให้ชัดเจน โดยพิจารณาว่า “ประชาชน” หมายถึงใคร (เช่นกลุ่มต่างๆ) และ “พฤติกรรม” ที่ต้องการให้ประพฤติหรือเปลี่ยนแปลงคืออะไร?
มุมมอง ด้านประชาชน ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ชุมชน มีมาตรการทางสังคม ชุมชนมีโครงการของชุมชน โดย ชุมชน ชุมชน มีระบบเฝ้าระวัง ที่มีประสิทธิภาพ
มุมมอง ภาคี อปท.ร่วมตัดสินใจ ขับเคลื่อนและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
หน่วยงานภาครัฐทุกระดับสนับสนุนและประสานงานอย่างเข้มแข็ง กลุ่ม องค์กรในและนอกพื้นที่มีบทบาท
มุมมอง กระบวนการ ระบบสื่อสารสารสนเทศมีประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการองค์กรและภาคีเครือข่ายมีประสิทธิภาพ
การจัดการนวัตกรรมที่ดี
มุมมองพื้นฐาน ระบบข้อมูลมีคุณภาพ บุคลากร แกนนำมีสมรรถนะที่เหมาะสม องค์กรมีบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงาน
จุดหมายปลายทางของ รพสต.
1. ประชาชนแสดงบทบาททางสุขภาพตามวิสัยทัศน์ได้จริง
2. ภาคีทุกภาคส่วนของสังคมมีบทบาทสร้าง สนับสนุนที่ชัดเจน
3. มีนวัตกรรมที่มาจากประชาชนเกี่ยวกับมาตรการทางสังคม
4. มีการพัฒนาทักษะการจัดการสุขภาพของประชาชน
5. มีการกระจายของข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง ทันสมัย
แผนที่ ชี้เป้า เอาอย่างนี้ ทำอย่างนี้
SRM Strategic Route Map คือ แผนที่ทางเดิน เดิม SRM ใช้ Strategy ปัจจุบันใช้ นพ.อมร นนทสุตแนะนำให้ Strategic แทน Strategy
SLM Strategy Linkage Model คือ ชี้เป้า
Mini SLM คือ เอาอย่างนี้
Micro SLM คือ ทำอย่างนี้
นั่นคือ ข้อสรุปของผม จาก การ สร้าง SRM 7 ขั้นตอน
กระบวนการขั้นตอนการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
กระบวนการ ขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างและการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
(Strategic Route Map : SRM) คือ “สร้าง 3 ขั้นตอน” และ “ใช้” 4 ขั้นตอน รวมทั้งสิ้น 7 ขั้นตอน ได้แก่
1. การวิเคราะห์บริบทและวิเคราะห์สถานการณ์ ( Situation Analysis)
2 .การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Destination Statement)
3.การสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์และการตรวจสอบยุทธศาสตร์กับแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map Construction : SRM)
4.การสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ (Strategic Linkage Model Construction: SLM)
5.การอธิบายการทำงานหรือการนิยามเป้าประสงค์และตัวชี้วัด รวมถึงการสร้างนวัตกรรมและมาตรการทางสังคม (Strategic Objective Definition) )
6.การสร้างแผนปฏิบัติการ(Action Plan / Mini - SLM) และ
7.การเปิดงานและติดตามผล (Launching)
หมายเหตุ ได้รับภาพประทับใจ จาก คุณพี่ นารถวิทักษ์ มูลสาร จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ห้องแซง อำเภอเลิงนกทา เกี่ยวกับ การ ออก OPD ที่ รพสต. ของ นพงประศาสตร์ ผิวเรืองนนท์ อดีต นพ. นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ขอบพระคุณมากครับพี่ ...
12 มิถุนายน 2553 : รับประทานอาหารเที่ยง กับ ครอบครัว ภรรยา และ ลูก ที่ อุบลราชธานี
13 มิถุนายน 2553:พักผ่อนที่บ้าน ดีใจที่ได้ต้อนรับ ครอบครัว เพื่อน สิงโต บุตรอำคา นิตยา บุตรอำคา พร้อมลูกชาย2คน
No comments:
Post a Comment