6/9/13

3มิย.2556 ยาเสพติด_มาตรฐาน_พบยส.เขตบริการที่10


3มิย.2556 ยาเสพติด_มาตรฐาน_พบยส.เขตบริการที่10
วันที่ 3 มิถุนายน 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นางนิภาภรณ์    ภาคพรหม หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด นางพิสมัย รัตนเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายนพพร  รากวงศ์  นักวิชาการสาธารณสุข  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ เข้าร่วมประชุม
เชิงปฏิบัติการ พัฒนาบุคลากรผู้ประเมิน มาตรฐานพัฒนาระบบงานยาเสพติด ด้านการบริหารจัดการ ของหน่วยงานสาธารณสุข (พบยส.) ปี 2556 เขตพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 10 ซึ่ง จัดขึ้น วันที่ 3-4 มิถุนายน 2556 ณ ห้องประชุม แกรนด์บอลรูม โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี
ประธานการประชุม โดย นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
กล่าวรายงาน โดย นายแพทย์ สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
จัดการประชุม โดย สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หัวหน้าคณะวิทยากร โดย นางพรรรณี วาทิสุพรรณ หัวหน้างานยาเสพติด สำนักบริหารการสาธารณสุข
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
มีผู้เข้าร่วมประชุม จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ทุกแห่ง  โรงพยาบาล ทุกแห่ง  รวม 250 คน
ขอบพระคุณทีมงานพวกเราทุกๆคน ที่มีส่วนร่วม ในการให้โอกาสแก่บุตรหลานของเรา สามารถเลิก หรือฟื้นฟูสุขภาพได้จำนวนมากมาย ตั้งแต่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลไปจนถึง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เพราะงานนี้ทำได้แล้ว พวกเราจะได้รับอานิสงส์เบื้องต้นคือ ความสุข ที่ได้ให้ความช่วยเหลือคน สงกรานต์ที่ผ่านมา ผมสามารถแนะนำให้ เพื่อนร่วมงานเลิกบุหรี่ ได้ 2 คน ผมยังภาคภูมิใจมาจนทุกวันนี้ พวกท่านช่วยเหลือได้หลาน พันคน คงจะมีความสุขมากกว่าผมมากมาย
สิ่งที่คาดหวังคือ การทำงานตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ของเรา คือ การเดินเข้าหาปัญหา พระองค์ไม่เคยเดินหนีปัญหา มีแต่เดินไปค้นหาปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ให้กับพสกนิกรขอองท่าน ฉะนั้น หน่วยงานสาธารณสุขของเรา มี องค์กร เครือข่าย ที่แทรกซึมไปจนถึงระดับครัวเรือน คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม .) ใช้และพัฒนาเครือข่าย นี้ ให้มีประสิทธิภาพ งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ก็จะสำเร็จได้ในอนาคต ขอเป็นกำลังใจ ให้กับ ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกๆคน ให้ประสบผลสำเร็จในการทำงานต่อไปครับ  นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวในที่สุด






แนวทาง และข้อมูลนำเข้า สำหรับการประชุมในวันนี้ ด้านข้อกฎหมาย คือ
พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ.2522 พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ.2545 แก้ไขฉบับที่ 5    (สถานพยาบาลต้องขออนุญาตเป็น สถานบำบัดยาเสพติด สามารถครอบครองยาเสพติดได้ เพื่อประโยชน์ในการมีสิทธิครอบครองสารเสพติดได้)
ให้อำนาจ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.นี้ ค้นหา คัดกรอง กลุ่มเสี่ยง เพื่อเข้ารับการบำบัด
พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ.2545 กำหนดสถานพยาบาล หรือสถานบริการด้านการบำบัดที่ชัดเจน ตาม พ.ร.บ.นี้ ไม่มีสถานบำบัดประเภทค่ายบำบัด แต่ให้อำนาจ นายอำเภอ เป็นผู้อำนวยการค่ายบำบัด สามารถบูรณาการสรรรพกำลังจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันแก้ปัญหาในค่ายบำบัดได้)
ด้านการปฏิบัติ ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นศุนย์ข้อมูล ยาเสพติดระดับจังหวัด 
ให้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เป็นศุนย์ข้อมูล ยาเสพติดระดับ อำเภอ
ใช้ Username Password ของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เข้าไป Update ข้อมูล ให้เสร็จ สิ้น ก่อน 20 มิถุนายน 2556 รายละเอียด สามารถดุได้ ทาง หน้า Web
ข้อมูล ในภาพรวม ของ เขตพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 10 ที่ผ่านมา ล้วน เป็นข้อมูล ที่ดีมีคุณภาพ นำไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนการทำงานได้จริง ทั้งประเภทบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยนอก บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยใน การบำบัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 9 วัน จิตสังคมบำบัดในชุมชน จิตสังคมบำบัดในโรงเรียน หลักสูตรอย่างน้อย 2 เดือนครึ่ง ปกติ 4 เดือน  ข้อมูลจาก คุมประพฤติ ปกติแล้ว คือ ต้องลงเป็น ประเภท อื่นๆ ของกระทรวงยุติธรรม
ปัญหาด้านข้อมูล ที่ผ่านมา คือ การลงบันทึก ในฐานข้อมูล จำนวนวันผิด ประเภทผิด เป็นต้น 

No comments:

Post a Comment