11/16/13

10 พย.2556: สักการะพระธาตุกู่จาน:นพ.สาธารณสุขยโสธร ประวัติพระธาตุกู่จาน

10 พย.2556: สักการะพระธาตุกู่จาน:นพ.สาธารณสุขยโสธร

                   วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08.19 น. ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง  สาธารณสุขอำเภอค้อวัง นางอริยวรรณ   จันทร์สว่าง นายอุทิศ ฝูงดี              ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กู่จาน เพื่อให้การต้อยนรับ นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ หลิ่มโตประเสริฐ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และคณะ ในโอกาสที่ท่านไปกราบสักการะองค์พระธาตุกู่จาน ณ วัดบ้านกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
โดยมี นายอุทิศ ฝูงดี           ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กู่จาน
นายชุมพล พอกพูน กำนันตำบล กู่จาน ร่วมอำนวยความสะดวก

                   “ขณะนี้องค์พระธาตุกู่จานอยู่ระหว่างการบูรณะ เกือบจะแล้วเสร็จแล้ว จะสังเกตเห็นว่า องค์พระธาตุกู่จาน ขณะนี้ยังไม่มียอดฉัตร เพราะมีกำหนดการจะยกยอดฉัตร องค์พระธาตุกู่จาน ในวันเพ็ญเดือน 3 ปี 2557 หรือในวันที่มีอายุครบ 2550 ปี ในปี 2557 นี้   นายอุทิศ ฝูงดี                     ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กู่จาน กล่าว



ประวัติพระธาตุกู่จาน
สถานที่ตั้ง อยู่ ภายในวัดบ้านกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำ เขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร


ประวัติความเป็นมา เมื่อ พุทธศักราช 7 หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จ ปรินิพพานไปแล้วเป็นเวลา 7 ปี พระมหากัสสปะ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุลงแจกจ่ายในดินแถบ นี้ กลุ่มที่ได้มาคือพระยาคำแดงซึ่ง เป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ กลุ่มพระยาพุทธซึ่งเป็น ผู้มีอำนาจทางฝ่ายใต้ไม่ได้รับพระบรม สารีริกธาตุจึงได้เดินทางไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จากพระยาคำแดง พระยาคำแดงไม่อยาก ให้ทำเป็นพูดจาบ่ายเบี่ยง โดยท้าแข่งกัน ก่อสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุว่าใครจะเสร็จ ก่อน ถ้าใครแพ้ต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของกัน และกัน แต่มีข้อแม้อยู่ว่าในการก่อ สร้างเจดีย์ครั้งนี้ต้องใช้คนอย่างมากไม่เกิน 6 คน เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว พระ ยาพุทธก็เดินทางกลับมาประชุมเจ้าเมืองฝ่าย ใต้เพื่อทำการก่อสร้างพระธาตุกู่จาน ได้ คัดเลือกเอาแต่คนสนิท มีฝีมือ ได้แก่ พระยาพุทธ พระยาเขียว พระยาธรรม พระยาคำ พระยาแดง และพระยาคำใบ ส่วนนามของ ผู้สร้างพระธาตุพนมทราบเพียงท่านเดียวคือ พระ ยาคำแดงเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มทำ การก่อสร้างโดยไม่ให้ราษฎรเข้ามายุ่งเกี่ยว หากมีผู้ใดขัดขวางตัดคอทันที

กลุ่มของพระยาพุทธ เมื่อทำการก่อสร้างไป ได้ครึ่งหนึ่ง กลัวว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วพระยา คำแดงจะไม่ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ตาม ที่ได้ตกลงกันไว้และกลัวจะแพ้พระ ยาคำแดง จึงยกกองกำลังขึ้นไปแย่งชิง เอาพระสารีริกธาตุมาไว้ก่อนแล้วค่อยสร้างต่อไป จนเสร็จ แต่พระยาคำแดงได้วางมาตรการ คุ้มกันอย่างเข้มแข็ง ทั้งหกคนบุกเข้ารบ อย่างดุเดือดแต่ก็ไม่สามารถเข้าโจมตีเข้า ไปถึงที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุได้ เนื่องจาก มีกำลังน้อยกว่า และพระยาคำได้เสียชีวิต เป็นอันว่าผู้สร้างพระธาตุกู่จานยังเหลือ เพียง 5 คน เมื่อเห็นว่ามีกำลังน้อยกว่าคง สู้ต่อไปไม่ได้ จึงยกทัพกลับ เมื่อกลับ มาถึงก็ได้ทำการคัดเลือกผู้ที่มี ฝีมือ อยู่ยงคงกระพันยิงไม่เข้า ฟันไม่ เข้า รวบรวมได้หนึ่งหมื่นคนก็ยกกำลังไป ที่หัวเมืองฝ่ายเหนืออีก เพื่อแย่งชิงพระสารีริกธาตุ จากพระยาคำแดงเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ ฝ่ายของพระยาพุทธก็ได้รับความผิดหวัง ทหารที่เกณฑ์ไปเสียชีวิตทั้งหมดเหลือรอดกลับ มามีแต่เจ้าเมืองทั้งห้าเท่านั้น เมื่อไม่ ประสบผลสำเร็จก็กลับมายังเมืองของตน เพื่อทำ การคัดเลือกทหารและวางแผนการใหม่ โดยแบ่ง กำลังออกเป็น 5 ส่วนเท่ากัน ในส่วนของพระ ยาพุทธนั้นยังไม่เข้าโจมตีรอให้ทั้ง 4 ฝ่ายนั้นเข้าโจมตีก่อนแล้วจึงเข้าโจม ตีด้านหลัง ทหารของพระยาคำแดงหลงกล ที่เห็นพระยาทั้ง 4 เข้าตีด้านหน้า ก็ พากันออกมารับโดยไม่ระวังด้านหลัง พระ ยาพุธซึ่งคอยทีอยู่แล้วจึงได้พังประตู ด้านหลังเข้าไปยังที่เก็บรักษาพระสารีริกธาตุ ซึ่ง ได้บรรจุไว้ในผอบทองคำเขียนอักษรติดเอา ไว้ ซึ่งพระยาพุทธได้มาทั้งสิ้น 6 ผอบ แต่ละชิ้นของพระสารีริกธาตุมีขนาดเท่าเมล็ดงา พระยาทั้ง 5 เมื่อทำการสำเร็จแล้วจึงพาท หารถอยกลับยังเมืองฝ่ายตน หลังจากนั้นจึง ทำการก่อสร้างเจดีย์จนกระทั่งสำเร็จและได้นำ เอาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 6 ผอบ ไปประดิษฐานไว้ใน เจดีย์เป็นที่เรียบร้อย แต่ในการสร้างพระเจดีย์ ครั้งนี้เป็นที่คับแค้นของเหล่าประชาราษฎร์ยิ่ง นัก เนื่องจากไม่ได้ร่วมก่อสร้าง ดังนั้นพระ ยาทั้งห้าจึงได้ปรึกษากันว่า พวกเราต้อง สร้างใหม่อีกแห่งหนึ่งเพื่อที่จะให้ราษฎรใน แต่ละหัวเมืองได้มีส่วนร่วมในการก่อ สร้าง แต่ในครั้งนี้ต้องสร้างเป็นวิหารเพื่อเป็น ที่เก็บสิ่งของและจารึกประวัติพระธาตุไว้ให้ ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เมื่อประชาชนในเมือง ต่าง ๆ ทราบข่าวต่างมีความยินดีที่จะ ได้ร่วมสร้างวิหาร ซึ่งวิหารนั้นจะต้องทำด้วย หินและหินนั้นต้องเป็นหินทะเล เมื่อตกลง กันแล้วพระยาทั้งห้าต่างก็แยกย้ายไป บอกข่าวแก่ประชาชนของตนให้ไปนำหิน จากทะเลมาก่อสร้างพระวิหารโดยจัดแบ่งเป็น กลุ่ม ๆ กันไป

ฝ่ายพระยาคำแดงหัว เมืองฝ่ายเหนือโกรธแค้นมาก และทราบว่าผู้ที่ มาแย่งชิงพระสารีริกธาตุเป็นผู้ใด จึงได้ยก กำลังกองทัพลงมายังหัวเมืองฝ่ายใต้เพื่อพิจารณา ขอร่วมสร้างด้วยเพราะรู้ว่าพระยาทั้ง 5 ได้ไปแย่งชิงเอาพระสารีริกธาตุจากตนมาแล้ว แต่พระยาทั้งห้าไม่ยอมจึงเกิดการต่อ สู้กันขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจากฝ่ายพระยา พุทธไม่ได้เตรียมกองกำลังป้องกันไว้จึงเสีย เปรียบ ผลปรากฏว่าพระยาทั้งหมดเสียชีวิตคือ พระยาคำแดงถูกพระยาพุทธฟันด้วยทวน คอขาด ส่วนพระยาฝ่ายใต้ก็เสียชีวิตทั้ง หมดเช่นกัน ศพทั้งหมดได้ถูกเผาและนำ มาฝังไว้ห่างจากพระธาตุกู่จานประมาณ 2 -3 เมตร ทั้ง 4 ทิศ สนามรบครั้งนั้นก็ คือดอนกู่ในปัจจุบันซึ่งมีหินเรียงกันเป็น ชั้น ๆ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านกู่จาน ห่าง จากองค์พระธาตุกู่จานไปไม่มากนัก ส่วน ศพของพระยาคำแดงชาวเมืองได้ช่วยกัน เผาแล้วปั้นเป็นเทวรูปคอขาด ซึ่งปัจจุบันนี้ พระพุทธรูปคอขาดได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสมบูรณ์ พัฒนา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็น วัดที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน

ส่วนข้าวของเงินทองของพระยาคำแดง ซึ่งนำลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ และของ พระยาทั้งห้าของหัวเมืองฝ่ายใต้ ได้ถูก สาปให้จมธรณีเพื่อป้องกันมิให้ผู้ใด ทำลายและนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว
ส่วนชาว เมืองหัวเมืองฝ่ายใต้ ที่พากันไปขนหิน ทะเลนั้นบางกลุ่มก็ยังไปไม่ถึงบางกลุ่ม ก็ไปถึง บางกลุ่มก็กลับมาถึงครึ่งทาง บางกลุ่มก็มาถึงแล้วแต่กลุ่มที่เดินทาง ไปก่อนหลังเมื่อทราบข่าวว่าเจ้าเมืองของตน ตายก็พากันทิ้งหินไว้ตามที่ต่าง ๆ ซึ่งเราเห็นอยู่หลายแห่ง
เมื่อดอนกู่ได้ เกิดศึกใหญ่มีคนตายมากมายชาวเมืองที่ เหลืออยู่เสียขวัญ ก็พากันอพยพถิ่นฐานไป หาที่สร้างเมืองใหม่ ปล่อยให้พระธาตุกู่จาน ถูกทอดทิ้งมาตั้งแต่บัดนั้น จนกลายเป็น ป่าทึบตามธรรมชาติเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานา ชนิด หลายต่อหลายชั่วอายุคนที่ไม่อาจนับ ได้ จนกระทั่งบรรพบุรุษที่เดินทางมาจากบ้าน ปรี่เชียงหมี มาพบเข้าได้เห็นดีที่จะ ตั้งหมู่บ้านเพราะมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ ดินอุดมสมบูรณ์จึงตั้งหมู่บ้านขึ้นและถางป่า มาพบพระธาตุแต่ไม่ทราบประวัติความเป็นมา ของพระธาตุ จนมาถึงปี พ. . 2521 จึงปรากฏว่ามี สามเณรถาวร อินกาย เกิด อภินิหารขึ้นเล่าประวัติของพระธาตุ
ความสำคัญต่อ ชุมชน เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ กู่ หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระ พังเพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดัง กล่าวนี้ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อ ว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล และได้เกิด เหตุการณ์ที่ทำให้ความเชื่อนั้นยังคงมี ความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้นเมื่อได้เกิดเหตุการณ์ ดังกล่าวขึ้นแล้ว และต้องทำพิธีสรงน้ำพระ ธาตุ กู่ ใบเสมา อีกครั้งในปีนั้น เป็นเหตุ การณ์ที่ชาวบ้านกู่จานทุกคนรับทราบและ จดจำได้ดีจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็น ประจำ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง อยู่กลาง ลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุ พนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า
เส้นทางที่เข้าสู่พระธาตุ กู่จาน มีเส้นทางถนนลูกลังแยกจากถนน แจ้งสนิทระหว่างอำเภอคำเขื่อนแก้วกับจังหวัดอุบลราชธานี โดย มีจุดแยกข้างๆ สถานีพืชอาหารสัตว์ยโสธร ขึ้นไป ทางเหนือผ่านบ้านแหล่งแป้น บ้านโคกโก่ย เข้า สู่บ้านกู่จาน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ขอบพระคุณ ข้อมูลประกอบจาก
http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/yst/yaso56.html

No comments:

Post a Comment