11/14/13

5 พย.2556: QRTผู้เยี่ยมสำรวจและประเมินรับรอง (Surveyor and Audior):PCA มุมมองคุณภาพ PDCA

5 พย.2556: QRTผู้เยี่ยมสำรวจและประเมินรับรอง (Surveyor and Audior):PCA มุมมองคุณภาพ PDCA
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้เยี่ยมสำรวจและประเมินรับรอง(Surveyor and Audior)เครือข่ายบริการปฐมภูมิ(Primary Care Award:PCA) ประจำปี ๒๕๕๗
ณ โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 
ประธาน โดย ภก.องอาจ  แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ)
วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถ เยี่ยมสำรวจ และประเมินรับรอง เครือข่ายบริการปฐมภูมิ
(Primary Care Award:PCA) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            วิทยากรหลัก โดย นพ.จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
ซึ่งบอกว่า หมอที่ดูตัวเองแล้วว่า ไม่เหมือนหมอ ซึ่งในความเป็นหมอที่ไม่เหมือนหมอนี้เอง ที่ทำให้ผมได้ทำอะไรหลายๆอย่าง ที่หมอ ทั่วๆไป เขาไม่ทำกัน
มีคณะกรรมการ QRT ระดับจังหวัดเข้าร่วมประชุม 60 คน
            จัดเวทีแห่งความรู้ที่ดีนี้โดย นางสุวรรณี แสนสุข หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ
สรุปสาระที่สำคัญ ในการประชุม  เช่น

ประเด็น > ปัญหา > วิกฤติ

ประเด็น หากไม่ได้รับการแก้ไข จะกลายเป็น ปัญหา  ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข จะกลายเป็น วิกฤติ

 

 

การประเมิน คุณภาพ DHSA ด้วย หลัก 3C3P+PDCA 

3c   :     Criteria   Core Value   Competency 

  Criteria             คือ ยึดตาม เกณฑ์คุณภาพ DHSA = ( HA+สร้างสุภาวะ

  Core Value        ยึด ตาม Core Value หลัก การพัฒนาองค์กร 11 ประการ

  Competency      สมรรถนะของบุคลากร ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตาม Criteria และ Core Value

3P   : Purpose  Process Performance   

Purpose เป้าประสงค์        

Process กระบวนการ

Performance ประสิทธิผล

Plan Do Check Act

มิติการประเมิน คุณภาพ 4 มิติ หรือ จำง่ายๆว่า E Q E SA

            มิติด้านประสิทธิผล            Effectiveness

            มิติด้านคุณภาพ                Quality

            มิติด้านประสิทธิภาพ          Efficiency

            มิติด้านการเรียนรู้พัฒนา Social Accountability  หรือ Learning Growth 














Concept หลักคือการมาร่วมกัน tune การรับรองงานคุณภาพต่างๆเข้าให้เป็นเรื่องเดียวกัน แม้ว่าจะเรียกชื่องานคุณภาพต่างๆนั้นแตกต่างกัน เช่น HA  HPH PCA DHS LA PMQA เป็นต้น
กติกาที่สำคัญ คือ ในห้องประชุม ใช้ การ Share ความคิดเห็นในความเป็นตัวของตนเองให้มากที่สุด  แต่ในการลงพื้นที่ให้ใช้ Appreciation Mode เป็นหลัก  Audit Mode เป็น Mode สุดท้ายที่จะนำมาใช้
ถามในสิ่งที่เรายังไม่รู้ ไม่เห็น หาไม่ได้ ที่สามารถมา ตอบ GAP ของเราได้
GAP คือดูเปรียบเทียบ Standard กับ สิ่งที่เขามี ที่เราเห็น ตามแนวทาง 3 P คือ Purpose       เป้าประสงค์
Process กระบวนการ   Performance ( KPI) ที่นำมาตอบ
หลักการตั้งคำถามคือ ถามแล้ว เขาตอบยังไม่ตรง ให้ เปลี่ยนคำถามใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เขาเห็น แต่ จุดประสงค์เดิม
PCA ตัว A คือ Award ไม่ใช่ Accreditation ฉะนั้นจึงเน้น ที่ ตัว A คือ  Appreciation Mode
PCA ประกอบด้วย มาตรฐาน 3 ตอน  สำคัญคือ (สำหรับ HA แยก หมวด P* เป็นอีก 1 ตอน)
ตอนที่ 1 ประกอบด้วย        หมวด 1 หมวด 5
ตอนที่ 2 ประกอบด้วย        หมวด 6 (เขียน ยากที่สุด )
ตอนที่ 3 ประกอบด้วย        หมวด 7
หมวด Unit Profile หรือ หมวด P* นั้น เป็น หมวดที่มีองค์ประกอบมาก(ใหญ่) และ เขียน ยากที่สุด
หมวด Unit Profile หรือ หมวด P* นั้น เป็น หมวดที่มีองค์ประกอบมาก(ใหญ่) ที่สุด
ซึ่ง หมวด P นั้น ประกอบด้วย ประเด็นสำคัญที่ต้องการเห็นคือ ความท้าทายต่อการพัฒนาคืออะไร
ซึ่งเป้าหมายสูงสุด( Out Come) ที่ต้องการไปให้ถึง ในระดับ PCU คือ Self-Care
ความท้าทาย Challenge
สิ่งที่เรา Surveyor  ต้องทำเมื่อเราอ่านแล้วเขาหาความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ของเขาได้หรือไม่ ดูแต่ละหมวด หมวด 1 การนำองค์กร ดูว่ามีความเชื่อมโยงกัน
หมวด 2 แผนงานสอดคล้องกับความท้าทาย เหล่านั้นหรือไม่
หมวด 5 HR Plan เขาสอดคล้องกันหรือไม่
หมวด 6 กระบวนงานสำคัญ ทั้ง6.1การจัดบริการ และการสนับสนุนบริการ6.2สอดคล้องกันหรือไม่
หมวด 7 ดู ผลลัพธ์ว่า KPI เป็นอย่างไร หาแนวทางเรียนรู้ร่วมกัน ในลักษณะ CBL
            CBL กันจนนำเอา Tacit Explicit Knowledge ออกมาได้ จนเป็น KM ในหมวด ที่ 4
หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และ การจัดการความรู้
วิเคราะห์ ให้เห็น 3 High     High Volume High Cost High Risk
High Volume โรค และ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย
High Cost          โรค และ ปัญหาสุขภาพ Case ใด ที่ เป็นHigh Cost
High Risk           โรค และ ปัญหาสุขภาพ Case ใด ที่ เป็น High Risk
(ปริมาณไม่มาก ค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่มีความเสี่ยงมาก)
แนวทางปฏิบัติ Case ทุก Case ที่ตาย ไม่ว่าจะตาย ที่ รพ.สต.หรือ รพ. ต้องถูกนำมา Discuss หาปัญหา แนวทางการแก้ไขร่วมกัน

ทำไปปรับไป PDCA   Plan Do Check Act พัฒนาไปเรื่อยๆ 
ปรับปรุงงาน โดยบูรณาการทุกระดับ 
ทั้ง ระดับกิจกรรม  ระดับกระบวนงาน ระดับระบงาน และ ระดับยุทธศาสตร์ 
Activity   Process System Strategy 




มิติการประเมิน PCA ปรับใช้ตาม Balance Score card 4 มุมมอง  ( C L I F )
มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective; C)  เป็นมุมมองด้านลูกค้า เช่น ความพึงพอของลูกค้า, ภาพลักษณ์, กระบวนการด้านการตลาด, การจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ (Learning and Growth; L)  เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต เช่น การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ความพึงพอใจของพนักงาน, การพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น
มุมมองด้านการดำเนินการภายใน (Internal Perspective; I)  เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต เช่น การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ความพึงพอใจของพนักงาน, การพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น

มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective; F)  เป็นมุมมองด้านการเงิน เช่น การเพิ่มรายได้, ประสิทธิภาพในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำและมีการสูญเสียระหว่างผลิตน้อย, การหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ เป็นต้น



No comments:

Post a Comment