11/22/13

ข้อมูลสถานสุขภาพคนไทย สภาวะสุขภาพคนไทย ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพ Health Status:

ข้อมูลสถานสุขภาพคนไทย สภาวะสุขภาพคนไทย  ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพ Health Status:
จากหนังสือ ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ..2557  กระทรวงสาธารณสุข ที่เผยแพร่ เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2556 สรุป  สถานสุขภาพประชาชนไทย ไว้ดังนี้
1.ปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Health Determinance): ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าดัชนีความอยู่ อยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทยเพิ่มขึ้นจากระดับที่ต้องปรับปรุงร้อยละ 66.47 ในปี พ.. 2549 เป็นร้อยละ 70.25 ในปีพ.. 2554
2.อายุคาดเฉลี่ยของคนไทยยืนยาวขึ้น
จากการศึกษาเพื่อการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยพ.. 2553-2583 : ประชากรฐานและข้อสมมุติ, สถาบันวิจัยประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า
ผู้ชายมีอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 70.4 ปี พ.. 2553 เป็น 71.1 ปี ในพ.. 2556 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 75.2 ปีในพ.. 2583
ผู้หญิงมีอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 77.5 ปี ในพ.. 2553 เป็น 78.1 ปี ในพ.. 2556 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 81.8 ปีในพ.. 2583
อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาวะดี (HALE) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(Health Adjusted Life Expectancy หรือ HALE)
จากรายงานของWorld Health Report 2003 และคณะทางานศึกษาภาระโรคและปัจจัยเสี่ยง สานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ) ผู้ชายมีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาวะดี จาก 57.7 ปีในพ.. 2545 เป็น 65.0 ในพ.. 2552
ผู้หญิงมีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาวะดีเพิ่มขึ้นจาก 62.4 ปี ในพ.. 2552 เป็น 68.1 ปีในพ.. 2552
3.สาเหตุการตายมาจากโรคที่ป้องกันได้ และการสูญเสียปีสุขภาวะเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อไปเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จากการคาดประมาณแนวโน้มการตายด้วยโรคต่างๆ ของประชาการไทย ในพ.. 2537-2552 โดยใช้สาเหตุการตายโดยตรงจากมรณบัตร พบว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า (.. 2562)
เพศชายมีสาเหตุการตายที่พบสูงสุดเกี่ยวกับ อุบัติเหตุจราจร มะเร็งตับ และหลอดเลือดสมอง
เพศหญิงมีสาเหตุการตายที่พบสูงสุดเกี่ยวกับเบาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเร็งตับ เป็นสาเหตุการตายที่พบสูงสุดในผู้หญิงไทย
จะเห็นได้ว่า โรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และเบาหวาน เป็นปัญหาสาคัญที่ทาให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
ปีสุขภาวะ จากรายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.. 2552 สานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่าประเทศ พบว่า




ในพ.. 2552 ผู้ชายไทยสูญเสียปีสุขภาวะสูงสุดจากการติดสุรา อุบัติเหตุจราจรและโรคหลอดเลือดสมอง (ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอันดับแรกของการสูญเสียปีสุขภาวะจากการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในพ.. 2547 เป็นการติดสุราในพ.. 2552) สาหรับผู้หญิงไทยมีการสูญเสียปีสุขภาวะสูงสุดจากโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้าในพ.. 2552
4.การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และภาวะน้าหนักเกินและโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายสูง) เป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมสาคัญที่ทาให้เกิดโรคเรื้อรังอันดับต้นๆ ในประชากรไทย
จากการศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงสาคัญที่เป็นสาเหตุของภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทยในพ.. 2552 พบว่า ปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของการสูญเสียปีสุขภาวะในเพศชาย ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ รองลงมาคือ การสูบบุหรี่ ระดับความดันโลหิตสูง การไม่สวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้จักรยานยนต์ และระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ส่วนเพศหญิงมีปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาระโรคมากที่สุดเป็นอันดับแรก ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายสูง) รองลงมาคือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ระดับความดันโลหิตสูง ระดับโคเลสเตอรอลสูง การสูบบุหรี่ และการบริโภคผักและผลไม้ไม่น้อย
5.การเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และทำให้ไทยสูญเสียรายได้ เนื่องจากโรคกลุ่มนี้ 52,150 ล้านบาทในพ.. 2558
จากรายงานผู้ป่วยในรายบุคคล สานักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจาก 1,682,281 รายในพ.. 2548เป็น 3,099,685 รายในพ.. 2555 โดยพบว่า
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด คือมีอัตราป่วย 727.7 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2548 เป็น 1,570.6 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2555 รองลงมาเป็นโรคหัวใจมีอัตราป่วย 679.1 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2548 เป็น 1,172.4 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2555
เบาหวานมีอัตราป่วย 611.1 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2548 เป็น 1,050.0 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2555และมะเร็งมีอัตราป่วย 468.3 ต่อ 100,000 ประชากร ในพ.. 2548 เป็น 759.8 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2555
อัตราตายด้วยโรคเรื้อรังสูงขึ้นเช่นกัน โดยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้น 8 เท่าจาก 12.6 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2510 เป็น 43.8 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2540 และ 98.5 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2555 รองลงมาเป็นอุบัติเหตุทุกประเทศเพิ่มจาก 26.2 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2510 เป็น 51.6 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2555 โรคหัวใจเพิ่มขึ้นจาก 16.5 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2510 เป็น 32.9 ต่อประชากร 100,000 คนในพ.. 2555 และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นจาก 25.3 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2548 เป็น 31.7 ต่อประชากร 100,000 คนในพ.. 2555 และเบาหวานมีอัตราตายที่คงที่ระหว่าง 11-12 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2548 -2555
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้คาดว่าในพ.. 2558 ประเทศไทยจะสูญเสียรายได้เนื่องจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 52,150 ล้านบาท แต่หากคนไทยช่วยกันป้องกันตนเองจะช่วยลดการสูญเสียได้ถึงร้อยละ 10-20 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดาเนินนโยบายเชิงรุกด้ายการสนับสนุนรูปแบบการใช้ชีวิตที่ถูกต้องอย่างสม่าเสมอแก่ประชาชน ในด้านต่างๆ เช่น ลด-เลิก เหล้า ลด-เลิกบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกาลังกายสม่าเสมอ รวมทั้งการลดภาวะเครียด เป็นต้น




6.ความผิดปกติทางจิตและอารมณ์มากขึ้นแต่อัตราฆ่าตัวตายลดลง
จากรายงานสถิติสาธารณสุข พบว่าแม้สุขภาพกายจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่สุขภาพจิตกลับมีปัญหาเพิ่มขึ้น  โดยพิจารณาจากอัตราป่วยด้วยโรคจิตเพิ่มจาก 440.1 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2540 เป็น 644.9 ต่อประชากร 100,000 คนในพ.. 2544 โรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจาก 55.9 ต่อประชากร 100,000 คน พ.. 2540 เป็น 290.8 ต่อประชากร 100,000 คนในพ.. 2554 และอัตราผู้ป่วยในด้วยภาวะแปรปรวน ทางจิตและพฤติกรรมเพิ่มขึ้นจาก 118.2 ต่อประชากร 100,000 ในพ.. 2540 เป็น 347.2 ต่อประชากร 100,000 คน ในพ.. 2555
แต่อัตราฆ่าตัวตายมีแนวโน้มลดลงจาก 8.1 ต่อประชากร 100,000 ในพ.. 2540 เหลือ 6.2 ต่อประชากร 100,000 ในพ.. 2555 โดยชายฆ่าตัวตายสูงกว่าหญิงเกือบ 4 เท่าคือ 9.7 ต่อ 100,000 ประชากรขณะที่หญิงฆ่าตัวตาย 3.8 ต่อ 100,000 ประชากรในพ.. 2555
7. โรคอุบัติใหม่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ที่สาคัญมี 5 โรค ดังนี้
7.1โรคไข้หวัดนก ตั้งแต่ พ.. 2547-30 กันยายน 2555มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกทั้งสิ้น 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย ซึ่งสานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประมาณการ ผลกระทบจากการระบาดโรคไข้หวัดนกสูญเสียทั้งสิ้น 25,240 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศและทาให้มีค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการป้องกันและควบคุมโรคมากกว่า 500 ล้านบาท
7.2 โรคมือเท้าปาก พบอัตราป่วยเพิ่มขึ้นจาก 2.49 ต่อประชากร 100,000 คนในพ.. 2544 เป็น 49.39 ต่อประชากร 100,000 คนในพ.. 2555 โดยพบเชื้อ Enterovirus 71 ร้อยละ 15.4
7.3 โรคไข้หวัดใหญ่H1N1 พบผู้ป่วยรายแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 จนมีการแพร่ระบาดในวงกว้างไป ทั่วประเทศ สาหรับปีพ.. 2556 (ณ วันที่ 23 กันยายน 2555) พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 36,122 ราย เสียชีวิต 1 ราย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยทางานช่วงอายุ 25-34 ปี แนวโน้มการระบาดเป็นช่วงฤดูกาลระบาดประจาปี คือประมาณเดือน สิงหาคม-กันยายน และยังพบรายงานการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในสถานศึกษาและชุมชน ส่วนข้อมูลจากการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในเดือนสิงหาคม 2555 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 สูงกว่าไข้หวัดใหญ่ชนิด B ประมาณสองเท่าและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และพบผู้ติดเชื้อ Respiratory syncytial virus (RS,V) เพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ากว่า 4 ปี
7.4 โรคลีเจียนแนร์ พบผู้ป่วยโรคลีเจียนแนร์ ครั้งแรกเป็นชาวไทยในพ.. 2527 ตั้งแต่ พ.. 2542-2553 พบผู้ป่วยชาวต่าชาติเกือบทุกปี สาหรับปี 2554 พบผู้ป่วย 20 รายเป็นชาวยุโรปและออสเตรเลีย เสียชีวิต 2 ราย ทุกรายเป็นนักท่องเที่ยวจากข้อมูลการเฝ้าระวังของ European Working Group Legionella infection (EWGLI) Network ซึ่งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังและควบคุมโรคลีเจียนแนร์ในกลุ่มประเทศสมาชิกรวม 29 ประเทศ พบผู้ป่วยติดเชื้อจากโรงแรมในประเทศระหว่างปีพ.. 2536-2553 จานวน 109 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจากภูมิภาคต่างๆ ได้ทั่วโลก
7.5 โรคเมลิออยโดสิส พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี พบมากในฤดูฝน พบได้ทุกภาคทั่วประเทศ แต่พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาหรือผู้ที่ทางานกับดินและน้า ร้อยละ 60-95 เด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.. 2552 มีอัตราป่วยสูงสุดในรอบ 10 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าน่าจะมีผู้ป่วยมากกว่าปีละ 2,000 ราย สถานการณ์โรคใน พ.. 2555 (ณ วันที่ 21 กันยายน 2555) พบผู้ป่วย 2,822 ราย เสียชีวิต 10 ราย ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
8.โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมทวีความสาคัญในอนาคต อันเนื่องจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น คือในพ.. 2555 ผู้มีงานทา มี 38.19 ล้านคนแบ่งเป็นผู้มีงานทาในภาคเกษตรกรรมจานวน 13.5 ล้านคนและผู้ทางานนอกภาคเกษตร จานวน 24.68 ล้านคน ซึ่งจะประสบปัญหาสุขภาพจากการทางานต่างกัน โดยผู้ทางานในภาคเกษตรจะป่วยด้วยโรคพิศจากสารกาจัดศัตรูพืชซึ่งในพ.. 2555 พบอัตราป่วย 3.2 ต่อประชากร 100,000 คน และจากรายงานการตรวจหาระดับ Cholinesterase ในเกษตรกร พบว่าเกษตรกรได้รับพิษจากสารกาจัดศตรูพืช ถึงขั้นเสี่ยงและไม่ปลอดภัย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.4 ในพ.. 2535 เป็นร้อยละ 32.3 ในพ.. 2555 และผู้ทางานนอกภาคเกษตรกรรม มีอัตราการประสบอันตรายจากการทางาน 15.76 ต่อลูกจ้าง 1,000 คน ในพ.. 2554 โดยสถานประกอบการที่ลูกจ้างประสบอันตรายจาการทางานสูงเป็น ประเภทกิจการการผลิตภัณฑ์โลหะ รองลงมาเป็นประเภทการค้า และอวัยวะที่ลูกจ้างประสบอันตรายมากที่สุด 3 ลาดับแรก คือ นิ้วมือ ดวงตา และบาดเจ็บหลายส่วนตามร่วงกาย
9. สถานการณ์โรคเอดส์ AIDS ยังคงเป็นปัญหาสาคัญ จากข้อมูลสานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานตั้งแต่พ.. 2527 ถึงพ.. 2555 ประเทศไทยมีผู้ป่วยเอดส์ทั้งสิ้น 376,274 ราย เสียชีวิต 97,344 ราย พบมากที่สุดในวัยแรงงานและเจริญพันธุ์ อายุระหว่าง 30-34 ปี ร้อยละ 25.0 รองลงมาอายุ 25-29 ปี ร้อยละ 21.7 และอายุ 35-39 ปี ร้อยละ 18.3 และตั้งแต่พ.. 2548-2555 พบอัตราป่วยเอดส์ของประชากรในพื้นที่มีแนวโน้มลดลง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าภาคอื่นๆ สาหรับการคาดประมาณผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยใช้วิธี AEM (The Asian Epidemic Model) พบว่าในพ.. 2555 ไทยมีผู้ติดเชื้อเอดส์สะสม 1,157,589 รายเป็นผู้ที่เสียชีวิตแล้ว 695,905 ราย เป็นผู้ที่ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่มีชีวิตอยู่ 464,414 รายและคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหญ่ 9,473 ราย






No comments:

Post a Comment