7/16/15

10 กค.2558 สมภารสร้างโบสถ์_วิชาการแกร่งป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี2ยุทธศาสตร์จาก ผ.บ.ก.29

10 กค.2558 สมภารสร้างโบสถ์_วิชาการแกร่งป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี2ยุทธศาสตร์จาก ผ.บ.ก.29
วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 ภาคค่ำ วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  และ นายพิทักษ์ กาญจนศร
ได้รับมอบหมาจากเพื่อนๆ และคณาจารย์ เป็น ตัวแทน คณะ ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง(ผ.บ.ก.) (Middle Level Public Health Administrators) รุ่นที่ ๒๙ ณ วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี ขอนแก่น นำเสนอผลงาน DHS และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย จากการฝึกอบรม Community Base Learning : CBL
ประธานผู้วิพากย์และให้คำแนะนำโดย นพ.อิทธิพล สูงแข็ง สาธารณสุขนิเทศ เขตสุขภาพที่ 7
โดยมี ดร.จิราพร วรวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น และคณะ ร่วมให้คำแนะนำที่ดี
สมภารสร้างโบสถ์_วิชาการแกร่งป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี2ยุทธศาสตร์จาก ผ.บ.ก.29



















































ทั้งนี้นำเสนอตามที่คณะทำงานฝ่ายวิชาการได้สรุปไว้ดังนี้
จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ ทั้ง 6 อำเภอได้แก่ อำเภอชุมแพ ชนบท หนองเรือ พระยืน ซำสูง และแวงน้อย คณะผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง รุ่นที่ 29 ได้นำข้อมูลทั่วไปและสถานะสุขภาพ พร้อมทั้งนำองค์ความรู้และทักษะที่ได้รับการฝึกอบรมมาพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความแตกต่าง และส่วนขาดของระบบสุขภาพ เพื่อสังเคราะห์ให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาระบบบริหารสุขภาพของจังหวัดขอนแก่น
Problem List
1.     งบประมาณจำกัด
2.     บุคลากรน้อย
3.     การถ่ายทอดDHS ลงสู่การปฏิบัติยังไม่ถึงระดับปฐมภูมิ
4.     การถ่ายทอด Service Plan ลงสู่การปฏิบัติยังไม่ถึงระดับปฐมภูมิ
5.     มะเร็งท่อน้ำดีมีอัตราการป่วยและอัตราตายสูง
6.     เกิดปัญหาอุบัติเหตุในพื้นที่ เนื่องจากขาดการบังคับใช้มาตรการทางสังคม
7.     โรคเรื้อรัง
8.     ผู้สูงอายุในชุมชน
9.     ตั้งครรภ์ในวัยเรียน
Strength : จุดแข็ง
S1. ผู้นำและทีมงานเข้มแข็ง และมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการทำงาน
S2. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ความสามารถสูงในการบริหาร และการประสานงาน
S3. มีระบบการบริหารจัดการแบบเครือข่ายสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และทีม DHS ระดับอำเภอเข็มแข็ง
S4. มีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
S5. มีการบริหารงาน DHS แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข
 S6. มีละว้าโมเดลเป็นต้นแบบการแก้ปัญหามะเร็งท่อน้ำดีในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

Weakness : จุดอ่อน
W1.       มะเร็งท่อน้ำดีมีอัตราการป่วยและอัตราตายสูง
W2.       การถ่ายทอด Service Plan ลงสู่การปฏิบัติยังไม่ถึงระดับปฐมภูมิ
W3.       งบประมาณจำกัด
W4.       บุคลากรน้อย
W5.       การถ่ายทอด DHS ลงสู่การปฏิบัติยังไม่ถึงระดับปฐมภูมิ
W6.       ขาดการบังคับใช้มาตรการทางสังคม ทำให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุในพื้นที่
W7.       โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง
W8.       ผู้สูงอายุในชุมชน
W9.       ตั้งครรภ์ในวัยเรียน

Opportunity : โอกาส
O1.   ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง
O2.   มีกองทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากองค์กร      เครือข่าย
O3.   มีเครือข่ายที่หลากหลายทั้งส่วนราชการและ   ภาคเอกชน
O4.   มีการจัดตั้งชมรมเครือข่ายสุขภาพที่ยั่งยืน และ  เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน
O5.   มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยเรื่อง มะเร็งท่อน้ำดี และมีงบประมาณจากภายนอก
  สนับสนุน
O6. มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ด้านสาธารณสุขอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 4 แห่ง ได้แก่ วพบ.ขอนแก่น วสส.ขอนแก่น บัณฑิตเอเชีย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Threats : ผลกระทบ
T1.ปัญหาสังคม เช่น การติดสารเสพติด วัยรุ่น ตั้งครรภ์ก่อนวัยเรียน การดูแลสุขภาพ  สารเคมีตกค้างในร่างกาย และมีร้านเกมส์
T2.ประชาชนมีรายได้น้อย มีหนี้สิน (เศรษฐกิจไม่ดี)
T3.ขาดการสร้างเครือข่ายบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และอุบัติเหตุจราจร
ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น ด้าน

T4.อุบัติเหตุจราจร การใช้สารเคมี การตั้งครรภ์ใน    วัยรุ่น ยาเสพติด และผู้สูงอายุ
T5.ภัยจากการใช้เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต หลอกลวง โฆษณาชวนเชื่อ มีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น    ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ความงาม
T6  มีการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรม  มลพิษจาก โรงงานอุตสาหกรรม ตลาดนัด ไม่มีเตาเผาขยะมีฟาร์มไก่ ทำให้มีแมลงวันจำนวนมาก

ข้อเสนอเชิงนโยบาย
1.ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ โดยการระดมทุนจากภาคประชาชน
สภาพปัญหา
เกิดภาวะวิกฤติสถานการณ์การเงินการคลังซ้ำซาก ในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดขอนแก่น และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เนื่องจากมีประชากรน้อย ภาระงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวนมาก ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการลงบันทึกข้อมูลเพื่อให้เกิดผลงานและการเรียกเก็บเงินไม่ได้ตามเป้าหมาย ทำให้ได้งบประมาณไม่เพียงพอในการบริหาร และทำให้การเงินขาดสภาพคล่อง
กลยุทธ์ 1 : สมภารสร้างโบสถ์
            จากโอกาสที่จังหวัดมีภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง  มีกองทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากองค์กรเครือข่าย มีเครือข่ายที่หลากหลายทั้งส่วนราชการและภาคเอกชน มีการจัดตั้งชมรมเครือข่ายสุขภาพที่ยั่งยืน จึงใช้โอกาสของการมีภาคประชาชนที่เข้มแข็ง และเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมทุนเพื่อสนับสนุนงบประมาณจากภาคประชาชน ร่วมกับความเชื่อมั่นและศรัทธาในผู้นำของภาครัฐ ได้แก่ นายอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นตัวขับเคลื่อน
โดยมียุทธวิธีดังต่อไปนี้
1.     ระดมทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่         ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.     การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการสร้างรายได้
3.     สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกับทีมหมอครอบครัว ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง
กลวิธี
1.     จัดทำโครงการสร้างศรัทธา ประชามีสุข เพื่อสร้างความร่วมมือจากประชาชนและทุกภาคส่วน โดยการระดมทุน เช่น กิจกรรมผ้าป่าเพื่อการพัฒนา รพ.สต.   
2.     จัดทำโครงการตอดเงา เอาด้วย โดยผู้นำภาครัฐเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น TO BE NUMBER ONE โครงการน้ำดื่ม 2B การปลูกผักปลอดสารพิษ
3.     จัดทำโครงการอารยสถาปัตย์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือคนพิการ/ผู้สูงอายุติดเตียง โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกับทีมหมอครอบครัว
4.     จัดทำโครงการธนาคารบุญ เพื่อรวบรวมกายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมที่ไม่ได้ใช้ มาเก็บไว้เป็นคลังอุปกรณ์ (โดยผู้บริจาคจะได้รับใบเบิกทางขึ้นสวรรค์จากผู้นำชุมชน ได้แก่ นายอำเภอ/สสอ./ผอ.รพ./นายก อบต. เป็นต้น)



ตัวชี้วัด
1.      มีจำนวนแหล่งทุนสนับสนุนจากภายนอกเพิ่มขึ้น
2.      ระดับความสำเร็จของการบริหารความร่วมมือของประชาชนและภาคีสุขภาพ

2 ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการเพื่อป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี
สภาพปัญหา
ปัญหามะเร็งท่อน้ำดีมีอัตราการป่วยและอัตราตายสูง เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอัตราการป่วยของมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ใน 1 ใน 5 อันดับแรกของปี 2555 - 2557 โดยพบว่าในอำเภอชนบทมีอัตราการตายสูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดขอนแก่น อันดับ 3 ของปี 2555 และอันดับ 1 ของปี 2556 และ 2557 และอำเภอแวงน้อย อันดับ 1 ของปี 2555 และอันดับ 2 ของปี 2556 และ 2557 ทั้งที่เป็นโรคที่ป้องกันได้ หากลดปัจจัยการเกิดโรค
กลยุทธ์ 2 : พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาพยาบาลและการสาธารณสุข ในการแก้ปัญหามะเร็งท่อน้ำดี
จากจุดอ่อนที่พบมะเร็งท่อน้ำดีมีอัตราการป่วยและอัตราตายสูง จึงใช้โอกาสที่จังหวัดขอนแก่นมี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยเรื่องมะเร็งท่อน้ำดี และมีงบประมาณจากภายนอกสนับสนุน ร่วมทั้งมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ด้านสาธารณสุขอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ถึง 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ขอนแก่น วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปัญหามะเร็งท่อน้ำดีเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย   สถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีการศึกษาและสร้างองค์ความรู้ด้านพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี มีผลงานการศึกษาวิจัยตีพิมพ์มากมายทั้งในระดับประเทศและระดับโลก นำไปสู่นวตกรรมและองค์ความรู้ ผลงานวิจัยเพื่อการควบคุม ป้องกันพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการยอมรับ และในปัจจุบันจังหวัดขอนแก่นมีสถาบันการศึกษาพยาบาลและการสาธารณสุขจำนวนมากเช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรขอนแก่น และวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ที่มีความพร้อมด้านผู้เชี่ยวชาญการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ หากสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอน โดยนำแนวคิดและนำองค์ความรู้ที่เกิดจากสถาบันเชี่ยวชาญด้านการวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี ขยายผลสู่โมเดลการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาให้ครอบคลุมพื้นที่รูปแบบที่ได้ผลอย่างละว้าโมเดล จะสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและการแก้ปัญหาร่วมกันโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน เกิดผลดีกับสุขภาพประชาชนในพื้นที่และเกิดการพิสูจน์องค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ชัดเจน ควบคู่กับการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่สมบูรณ์พร้อมทำงานเพื่อชุมชนและประเทศชาติต่อไป
โดยมียุทธวิธีดังต่อไปนี้
1.พัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาพยาบาลและการสาธารณสุขเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี
2.บูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการเรื่องการป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี
3.ขยายผลการป้องกันมะเร็งท่อน้ำดีในกลุ่มเด็กประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
4.พัฒนาศักยภาพของพยาบาลให้สามารถคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในระยะเริ่มต้น โดยใช้ ultrasound
กลวิธี
1.ประสานความร่วมมือสถาบันการศึกษาพยาบาลและการสาธารณสุขทุกแห่งของจังหวัดขอนแก่น
2.วางแผน กำหนดรูปแบบและบูรณาการการดำเนินงานในการป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี
ตัวชี้วัด
1.ระดับความสำเร็จของการบริหารความร่วมมือสถาบันการศึกษาพยาบาลและการสาธารณสุข

2.ลดอัตราการป่วยและอัตราตายด้วยมะเร็งท่อน้ำดี


ผ.บ.ก.29 ประกอบด้วย

๑                 นาย            เกษมสันต์           สารภี     ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒                 นาย            คทายุทธ นิกาพฤกษ์          ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓                 นาย            คมกริช   ถานทองดี           ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔                 นาย            คำมูล     แก้วชัยภูมิ           ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕                 นาง            จุรีรัตน์   กสิผล    ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๖                 นางสาว       จุฬาลักษณ์         นิพนธ์แก้ว           ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๗                 นาย            ชัยยา     นรเดชานันท์        ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๘                 นาย            ชาญชัย  แก้วอัคฮาด         ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๙                 นาง            ชุติกาญจน์          ปิยะศิลป์ ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๐               นาง            ชุติมา     ผ่านสำแดง          ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๑               นางสาว       ฐิชภัค    กองสิน   ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๒               นางสาว       ณนันญา พูลกลาง ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๓               นาย            ณรงค์    คุ้มเมือง  ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๔               นางสาว       ทุติยรัตน์ รื่นเริง     ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๕               นาง            เทพสุนี   พระประเสริฐ        ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๖               นางสาว       นันทริกา มนตรี     ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๗               นาย            บารมี     อินทกนก            ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๘               นาง            บุษบา    วงค์พิมล ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๑๙               นาย            ประกอบ สุภาพรหม           ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๐               นาย            ประดิษฐ์ ไชยสังข์ ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๑               นางสาว       ปลัดดา   เพ็ญสุวรรณ         ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๒               นาย            ปิยะวิทย์ หมดมลทิน          ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๓               นาง            พวงแก้ว แสนคำ   ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๔              นาง            พัตรา     เต่าทอง  ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๕              นาย            พันธุ์ทอง จันทร์สว่าง          ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๖               นาย            พานิช    แกมนิล  ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๗              นาย            พิเชษฐ   พันธุมา   ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๘              นาย            พิทักษ์   กาญจนศร           ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๒๙               นางสาว       เพ็ญประกาย        สร้อยคำ ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๐               นาง            เพ็ญศรี   สวัสดิ์เจริญยิ่ง      ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๑               นาง            มาลัย     วีระวัฒน์ ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๒               นาง            มาลี       สว่างศรี  ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๓               นาง            วรรณภรณ์           กลิ่นสุข  ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๔              นาย            วลิต       นภีรงค์   ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๕              นาง            วิลาวัลย์  เอี่ยมสอาด          ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๖               นาง            วิลาสินี   พลพาหะ ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๗              นาย            ไวพจน์   แสนใจธรรม        ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๘              นาง            ศันสนีย  ประชุมศรี            ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๓๙               นาง            ศิราณี    อิ่มน้ำขาว            ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๐               นาง            ศุภลักษณ์           ธนธรรมสถิต        ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๑               นาย            สถิตย์    วรรณขาม           ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๒              นาย            สนอง     อรุณศรี  ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๓              นางสาว       สมจิตต์  วงศ์สุวรรณสิริ      ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๔              นางสาว       สมจิตร์   เนียมสกุล           ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๕              นาย            สมชาย   เขียวริด  ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๖               นาย            สมนึก    โลหณุต  ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๗              นางสาว       พนอจิตต์            ขาวคม   ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๘              นาย            สมยศ    พันธุ์วัฒนาชัย      ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๔๙              นาย            สยุมพร  พรหมจารีต         ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๐               นาง            สำลี       ภูมิโคกรักษ์         ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๑               นาย            สิงห์      กาญจนอารี         ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๒              นาง            สุจิตรา   เทพมงคล           ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๓              นางสาว       สุวิมล     ภาระเวช ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๔              นางสาว       เสาวลักษณ์         พฤกษางกูร         ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๕              นาย            โสภณ    วัณไวทยจิตร       ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๖               นางสาว       กมลทิพย์            ตั้งหลักมั่นคง       ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๗              นาย            อิสระ     อริยะชัยพาณิชย์   ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น
๕๘              นางสาว       อุษณีย์   ทองใบ   ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น

๕๙              นาย            เอกชัย   ลีลาวงศ์กิจ          ผ.บ.ก.รุ่นที่ 29 ฝึก ณ วพบ.ขอนแก่น

No comments:

Post a Comment