3 กค.2558 เสนอผลการฝึกภาคสนาม_ผ.บ.ก.29_ขอนแก่น_พื้นที่ 6
อำเภอ_ซำสูงเยี่ยม
วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง และคณะ
ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง(ผ.บ.ก.)
(Middle Level Public Health Administrators) รุ่นที่ ๒๙ ณ วิทยาลัยพยาบาล
บรมราชชนนี ขอนแก่น ร่วม กิจกรรม การนำเสนอการฝึกภาคสนาม
ในพื้นที่ 6 อำเภอ
วิทยากรผู้วิพากย์ โดย ดร.จิราพร วรวงศ์
ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
นายปรีชา ชินคำหาร ประธานชมรมสาธารณสุขอำเภอแห่งประเทศไทย
สาขาจังหวัด ขอนแก่น และคณะ
ภาคเช้า จำนวน 3 อำเภอ
อำเภอ ชุมแพ นำเสนอโดย ผ.บ.ก. สมชาย เขียวริด
อำเภอ หนองเรือ นำเสนอโดย ผ.บ.ก. บุษบา บุษบา วงค์พิมล
อำเภอ ชนบท นำเสนอโดย ผ.บ.ก. ณรงค์ คุ้มเมือง
และ ผ.บ.ก. ปิยะวิทย์ หมดมลทิน
ภาคบ่าย จำนวน 3 อำเภอ
อำเภอ แวงน้อย นำเสนอโดย ผ.บ.ก. พิทักษ์ กาญจนศร
อำเภอ พระยืน นำเสนอโดย ผ.บ.ก. ชาญชัย แก้วอัคฮาด
อำเภอ ซำสูง นำเสนอโดย ผ.บ.ก. พันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง
ภายใต้ชื่อเรื่อง SAMSUNG MODEL ขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายเข้มแข็งตามแนวทาง
UC CARE
The Big Successful by SAMSUNG Small
Resource
“เครือข่ายบริการสุขภาพ ซำสูง เป็นเลิศด้านบริการสุขภาพระดับชาติ ใน ปี 2559 “
From SAMSUNG Local to Global Standard
ซำสูง
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ จากการใช้ทรัพยากรที่มีค่าของซำสูงเพื่อชาวซำสูงสุขภาพดี
จากการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม (Community Based
Learning : CBL) ของกลุ่มผู้บริหารสาธารณสุขระดับกลาง กลุ่มที่ 5 ที่ได้เข้าไปศึกษาข้อมูลสภาพพื้นที่ของอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุข
และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แล้วนำไปวิเคราะห์สาเหตุ/ปัจจัยทางด้านการบริหารที่ทำให้เกิดปัญหาสาธารณสุข
พบว่า เครือข่ายบริการสุขภาพซำสูง เป็นเครือข่ายที่มีจุดเด่น ในเรื่องคน (MAN)
และ การบริหารจัดการ (MANAGEMENT) และมีข้อจำกัดในเรื่อง
งบประมาณ (MONEY) และ วัสดุอุปกรณ์ (MATERIAL) แต่ด้วยบุคลิกภาพ และความสามารถของสาธารณสุขอำเภอซำสูงที่โดดเด่น
ในด้านการเป็นผู้ประสานคนประสานงาน ประสานใจที่ดี มีบุคลิกภาพส่วนตัวที่ดี เข้าถึงได้ง่าย
ทำให้ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารและภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จาก
โครงการ คนซำสูงไม่ทอดทิ้งกัน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม และการใช้บุคลากรสาธารณสุขเป็นตัวขับเคลื่อน
และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคราชการ
ร่วมกับภาคเอกชน และประชาชน ในการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษดำเนินการร่วมกันทั้งอำเภอ
ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้
ทั้งในระดับครัวเรือน
และในระดับชุมชน เกิดการเรียนรู้เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และเรื่องความเป็นมาตรฐาน
ผ่านกิจกรรมการปลูกผักตามมาตรฐานขององค์กรภายนอก ภาคีเครือข่ายมีความภาคภูมิใจร่วมกัน
ในความสำเร็จร่วมกัน
และทำให้การดำเนินงานอื่นๆที่ต้องการความร่วมมือ ที่มีทิศทางไปในทิศทางเดียวกันจนได้รับความสำเร็จสูง
เช่น การมีผักปลอดสารพิษชื่อ ซำสูง ขายในห้าง Top เครือ Central การได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว รางวัล To be number one รางวัล EMS Rally การทำน้ำดื่ม 2B จำหน่ายทั้งอำเภอ เป็นต้น
แนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารงานหลักสำหรับผู้บริหาร
กำหนดเป็น 2
กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1.
การนำโอกาสไปลดจุดอ่อน เรื่อง งบประมาณมีจำกัด ด้วยกลยุทธ์ สมภารสร้างโบสถ์
โดยใช้โครงการสร้างศรัทธา ประชามีสุข บนแนวคิดการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวผู้บริหารและทีมงานทุกระดับเป็นตัวขับเคลื่อน
และ โครงการ ตอดเงา เอาด้วย เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันของภาคประชาชน
เป็นหลักในการระดมทุน
เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ในการดูแลสุขภาพของคนซำสูง โดยคนซำสูง เพื่อคนซำสูง
ร่วมกัน
2.
การนำโอกาสไปลดจุดอ่อน เรื่อง จำนวนบุคลากรน้อย ด้วยกลยุทธ์ ซำสูง ตุ้มโฮม
โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และภาคประชาชน มาช่วยกันสนับสนุน
ทีมหมอครอบครัว ด้วย โครงการอารยะสถาปัตย์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างนวตกรรมเพื่อช่วยเหลือคนพิการ/ผู้สูงอาย ติดเตียง และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โครงการธนาคารบุญ
เพื่อหาสถานที่เป็นคลังเก็บเครื่องมือกายอุปกรณ์ต่างๆ
ในชุมชน
โครงการพาใจกลับบ้าน เพื่อดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย โครงการดูแลมารดา ทารก หลังคลอด ตามวิถีชาวบ้าน
เป็นต้น
ทรรศนะจาก
ผู้เข้ารับการอบรม กลุ่มที่ ๕ หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง(ผ.บ.ก.)
(Middle Level Public
Health Administrators) รุ่นที่ ๒๙ ณ วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี ขอนแก่น
ทั้งนี้ มีหัวข้อหรือประเด็นในการนำเสนอการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม คือผู้เข้ารับการอบรมฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงระดับอำเภอเป็นการเรียนรู้แบบ
Community Based
Learning : CBL โดยการวิเคราะห์ปัญหา
สาเหตุ และหรือปัจจัยทางด้านการบริหารงานสาธารณสุขที่ทำให้เกิดปัญหาสาธารณสุข พร้อมเสนอแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกระดับอำเภอในการพัฒนาและ/หรือแก้ไขปัญหาการบริหารงานสาธารณสุข
โดย
1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัญหาสาธารณสุข
และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ
2) วิเคราะห์สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านการบริหารที่ทำให้เกิดปัญหาสาธารณสุขในข้อ 1
3) วางแผนกำหนดแนวทาง
(แผนยุทธศาสตร์เชิงรุกระดับอำเภอ) ในการพัฒนาและ/หรือแก้ไขปัญหาทางการบริหาร ในข้อ
2
ภายใต้คำถามหลัก กำหนดให้ท่านเป็นสาธารณสุขของอำเภอ
...(ที่ท่านไปฝึกปฏิบัติงาน)
ท่านจะพัฒนาการบริหารงานสาธารณสุขของอำเภอที่รับผิดชอบอย่างไร โดยนำเสนอแนวทาง
พร้อมแผนงาน/โครงการ ที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
และสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด
และแนวทางของปรัชญาพอเพียง ”
No comments:
Post a Comment