7/20/15

20 กค.2558 นาแก-ปรชุม_ผู้บริหารการสาธารณสุข คำเขื่อนแก้ว

20 กค.2558 นาแก-ปรชุม_ผู้บริหารการสาธารณสุข คำเขื่อนแก้ว
วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  และคณะ ผู้บริหารการสาธารณสุข อำเภอคำเขื่อนแก้ว ประชุ  ผู้บริหารการสาธารณสุข คำเขื่อนแก้ว ณ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ประธานการประชุม โดย นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

























            ผอ.คมสัน อดกลั้น และ คณะ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาแกถือเป็นแบบอย่างที่ดี ในการพัฒนาสถานที่ทำงาน ให้เป็นสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน จนส่งผลให้ผม นำไปปรับปรุงห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ของเราให้เป็นห้องประชุมเพื่อเป็นเวทีแห่งการพูดคุย ปรึกษาหารือกันด้วยดี ต่อไป
            โดยหลักการแล้วเราต้องให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานไม่น้อยกว่าบ้านของเรา เพราะ สถานที่ทำงานถือเป็นสถานที่ที่ถือว่าเป็นผู้ให้ที่แท้จริงกับชีวิตเรา ให้ทุกๆอย่าง ให้ครอบครัว ให้ค่าน้ำมัน ให้ค่าเทอมลูก ให้ค่ารักษาพยาบาลพ่อแม่ลูก ให้เกียรติยศ ให้ศักดิ์ศรี ให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่พวกเราทุกคน
เรื่องที่ 1.  นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธานในที่ประชุม ขอเชิญชวนให้ ผู้บริหารทุกคนประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีกับประชาชน โดยสมัครเข้าร่วม โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา ประจำปี 2558

รายละเอียด
1.     ให้จัดทำกิจกรรมนี้ เป็นโครงการระดับอำเภอ
2.     การเก็บข้อมูล จากทุกภาคส่วน โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เป็นศูนย์ประสานงาน ในการรวบรวมข้อมูล ทั้งก่อน และ หลัง ครบพรรษา
3.     การขับเคลื่อนกิจกรรม ใช้ วัน เวลา ในเวที การประชุมประจำเดือน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
4.     กิจกรรม
4.1  ให้ความรู้ โดย นางมนัชยา  กองทำ ผู้อำนวยการ รพ.สต. แคนน้อยและคณะ  
4.2  ให้ข้อคิดโดยบุคคลต้นแบบ  การลงนาม การให้พันธะสัญญา ร่วมกัน  เป็นต้น
มติที่ประชุม รับทราบและถือปฏิบัติ


เรื่องที่ 2.  หลักเกณฑ์ การแบ่งปันความสุขจากการทำงาน ( การพิจารณาความดีความชอบ)
            หลักเกณฑ์ ที่ 1 คือหลักการกระจาย ให้มีการกระจายออกตามสัดส่วน จำนวนคน ในแต่ละกลุ่ม
แบ่งการกระจาย  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้บริหาร และ กลุ่มผู้ปฏิบัติ
กลุ่มผู้บริหาร ประกอบด้วย กลุ่มหัวหน้ากลุ่มงาน และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
หลักเกณฑ์ ที่ 1 คือหลักการกระจาย
กลุ่มผู้ปฏิบัติ คือ ผู้ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง
หลักเกณฑ์ ที่ 2 คือหลักประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
1.1  แนวทางการการประเมิน ใช้เกณฑ์ ตาม KPI CUP Ranking ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
1.2  จัดเรียงลำดับ สถานบริการ ตาม KPI CUP Ranking ของ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
ซึ่งให้สามารถสรุปผลการประเมิน สถานบริการออกเป็น 4 ระดับ คือ ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้  หรือเรียกว่า 4 ดาว 3 ดาว 2 ดาว 1 ดาว

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากที่ประชุม
ผอ.สาคร ขอสุข กฎหมายใหม่ ระเบยบใหม่ ไม่ควรใช้ผลย้อนหลัง  ผลงานที่ผ่านมา บางคนได้มาด้วยหยดเลือดและหยาดน้ำตา ข้อเสียคือ อาจจะเกิดประเด็นเกียร์ว่าง จากการทำงาน กรณี มีผลงานเด่น ติดต่อกัน จะมี การชดเชยผู้ที่มีผลงานที่ทุ่มเทได้อย่างไร
ผอ.บัณดิษฐ  สร้อยจักร ให้คำนึงถึง BIAS จากการประเมิน ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการประเมิน
ผอ.อาณัติ ศรีเธาว์ เห็นควรแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่มเท่านั้น คือ กลุ่มผู้บริหาร และ กลุ่มผู้ปฏิบัติ
ผอ.คมสัน อดกลั้น เดิม ให้อำนาจการพิจารณาของ โซน แต่ปัจจุบัน เป็นอำนาจการพิจารณารวม ขอให้พิจารณาข้อดีข้อเสีย ในประเด็นนี้ให้รอบคอบก่อน
ผช.พันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สัดส่วน การกระจาย 1 คน ต่อแห่ง บางแห่ง มีหลายคน บางแห่ง ไม่มี หรือ มี 1 คน  ( ควรเป็นสัดส่วนเช่นกัน)
ผอ.อรุณ ฉายแสง เห็นด้วยกับประเด็น กฎหมายใหม่ ระเบยบใหม่ ไม่ควรใช้ผลย้อนหลัง ควรวางหลักเกณฑืไปข้างหน้า
            และกำหนดหลักเกณฑ์ ร่วมกันที่ชัดเจนก่อนนำไปปฏิบัติ
ผอ.โสภิดา พลไชย ในแต่ละรอบ ควรพิจารณา ตามสัดส่วน ทั้งสัดส่วน ราย รพ.สต. และ สัดส่วน จำนวนน้อง ในแต่ละ แห่ง ถ้าแห่งละ  1 คน หาก มีคนเดียวจะได้ทุกรอบ แห่งที่มีมาก อาจจะรอหลายรอบ

ผอ.มนัชยา กองทำ เมื่อครั้งที่เริ่มทำงาน การได้รับการพิจารณาความดีความชอบก็ถือเป็นขวัญกำลังใจที่ดี ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก แต่ปัจจุบันอายุเรามากขึ้นประสบการณ์เรามากขึ้น จะได้หรือไม่ได้ ก็ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ดิฉันมีความสุขในการทำงาน มีความสุขกับทีมงาน มีความสุขกับประชาชน หากจะสามารถแบ่งปันความสุขให้กับน้องๆได้ ก็ถือว่ามีความสุขแล้ว



เรื่องที่ 3.  เครื่องมือการประเมินผลงาน
ผอ.บัณดิษฐ  สร้อยจักร เห็นควรใช้ ตามแนวทาง KPI CUP Ranking ของ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร เพื่อที่จะได้สอดคล้องกัน ทำงานแล้วสามารถตอบคำถามได้ในทุกระดับ
ผอ.อาณัติ ศรีเธาว์ กรณี ตำบลนั้น มี รพ.สต. 2 แห่ง  ให้ใช้เวที ภาคีร่วมกัน
การคืนข้อมูล ให้กับ ภาคเครือข่าย ท้องที่ ท้องถิ่น ศึกษา ศาสนา อสม.ร่วมรับทราบข้อมูล ในเวทีการประเมินด้วย

หัวใจ 5 ห้องแก้ปัญหาโรคและภัยสุขภาพ
ประเด็นการคืนข้อมูลในวที ให้นำเสนอตามกระบวนการทำงานที่สามารถใช้ได้ร่วมกัน ในทุกๆงาน
            ข้อมูลข่าวสารในเชิงระบาดวิทยาโรคและภัยสุขภาพ หัวใจ 5 ห้อง ( ส่งเสริม รักษา ป้องกัน ฟื้นฟู คบส.)
            นำไปจัดทำแผนสุขภาพตำบล
            จัดทำโครงการแก้ปัญหา ตามแผน
            เกิดผลลัพธ์ จากโครงการ
            นำเอาข้อดี ข้อเด่น มาคืนให้ภาคีทราบ


กระบวนการ 5 5 5
5 แรก นายสุธี มากบุญ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ในการขับเคลื่อน กรมยโสธร
            มาจากทฤษฎี PDCA และ AIC  
            ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมประเมินผล ร่วมรับผิดชอบ
5 ภาคีเครือข่าย    ท้องที่ ท้องถิ่น ศึกษา ศาสนา สาธารณสุข
5 กระบวนการ (กำลังคน กรรมการ กองทุน กิจกรรม สัมฤทธิผล) Man Money Material Management
            กรรมการ
            ข้อมูลข่าวสารในเชิงระบาดวิทยาโรคและภัยสุขภาพ ตามหัวใจ 5 ห้อง ( ส่งเสริม รักษา ป้องกัน ฟื้นฟู คบส.)
            แผนสุขภาพชุมชน  
            การบูรณาการงบประมาณ
            มีสัมฤทธิผลจากการปฏิบัติงาน

เป้าหมายสุดท้ายคือ การพึ่งตนเอง ของประชาชน

โดยมีตัวเชื่อมที่สำคัญคือ ทีมหมอครอบครัว
            Key Word ที่สำคัญ คือ ทุกครอบครัว มีผู้รับผิดชอบดูแลในทุกมิติ Comprehensive
            Comprehensive ทุกมิติ คือ Holistic และ Integrated
Holistic ดูแล ครอบคุลม กาย จิต สังคม
Integrated ตามหัวใจ 5 ห้อง (ส่งเสริม รักษา ป้องกัน ฟื้นฟู คบส.)

ร่องรอย หรือหลักฐานการปฏิบัติงาน ตามกระบวนการ 555 คือ    หมู่บ้านจัดการสุขภาพ
           

เรื่องที่ 4.  การประเมินคุณภาพบริการ ของ รพ.สต. ตาม มาตรฐาน PCA
            ซึ่ง สามารถสรุปได้ง่ายๆว่า ตาม 3 ดี ( บรรยากาศดี  บริการดี บริหารจัดการดี )
บรรยากาศดี ตาม Healthy Workplace
บริการดี ตามหลักวิชาการ วิชาชีพ
บริหารจัดการดี สนับสนุนให้เกิด 2 ดี ข้างบนอย่างต่อเนื่อง
            ให้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ดำเนินการ หากมีความพร้อม สามารถเสนอขอรับการประเมินได้


เรื่องที่ 5.  การประชุม วิชาการสาธารณสุข วันที่ 16-18 กันยายน 2558 ณ จังหวัดเชียงใหม่
            ชมรม สาธารณสุขแห่งประเทศไทย จะจัด ประชุมวิชาการสาธารณสุข ประจำปี 2558 ณ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่  16-18 กันยายน 2558 ขอเชิญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งและบุคลากรในสังกัดเข้าร่วมประชุมดังกล่าว


เรื่องที่ 6.  การจัดสรรเงิน UC ล่วงหน้างวดที่ 4
            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว จะพิจารณาจัดสรร
ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประมาณ สิ้นเดือนนี้
           
เรื่องที่ 7.  การสนับสนุนงบประมาณจาก CUP ในภารกิจพิเศษ  
            ภารกิจการดำเนินงานในภาพรวมในระดับ อำภอ
เช่น การประเมินจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จาก เขต  ภารกิจ พอ.สว.
            คป.สอ. คำเขื่อนแก้วควรจะจัดสรร งบประมาณ สนับสนุน สำหรับกิจกรรมพิเศษ ต่างๆเหล่านี้ร่วมกัน
โดย เสนอ ขอ งบประมาณ QOF จาก คป.สอ. คำเขื่อนแก้ว ตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดร่วมกัน
ทั้งนี้ ให้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่เป็นคณะกรรมการ คป.สอ.เสนอในที่ประชุมเพิ่มเติมต่อไป
            การสนับสนุน ลูกจ้าง และ พ.ก.ส. ให้ รพ.สต.แต่ละแห่ง ตรวจสอบ จำนวนเงินเดือน ค่าจ้างของน้อง รวมเงินสมทบประกันสังคม ของ ส่วนนายจ้างรวมเข้าไปด้วย  
            การสนับสนุน สำหรับพนักงานทำความสะอาด
ให้แห่งละ 1 คน 6,000 บาท ต่อแห่ง

สำหรับแห่งที่มีทันตาภิบาล จัดสรรเพิ่มเติมให้อีก อีก แห่งละ 1 คน 6,000 บาท ต่อแห่ง

No comments:

Post a Comment