15 ตค 2556 ตาย อย่างมีศักดิ์ศรี อสม.ยโสธ:ใจดี_ทำบุญ เกื้อหนุนชีวิต
วันที่ 15 กันยายน 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ เข้าร่วมประชุม การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
โดยชุมชน
ประธานการประชุมโดย
นายสองศรี แสงสี ประธานชมรม อสม.จังหวัดยโสธร
แม้ ตาย ก็ต้อง ตาย
อย่างมี ศักดิ์ศรี อสม.ยโสธ:ใจดี_ทำบุญ เกื้อหนุนชีวิต
สุขภาพดีถ้วนหน้า
หมายถึง สุขภาพดีถ้วนหน้า (Health For All:HFA)
1.
ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
2. เมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเหมาะสมและทัดเทียมกัน
3. มีชีวิตยืนยาวสร้างคุณค่าและประโยชน์แก่สังคม
4.
เกิดและตายอย่างมีศักดิ์ศรี
ปี 2533 ผมเริ่มปฏิบัติงาน มี Slogan ในการทำงาน
ของกระทรวงสาธารณสุขสมัยนั้นว่า
สุขภาพดีถ้วนหน้า
เมื่อปี 2543
ความหมายของ สุขภาพดีถ้วนหน้า ประกอบด้วย 4 ประการข้างบน
จนถึงปัจจุบัน
เราสามารถทำได้ ตาม ความหมายด้านบนเกือบครบถ้วนแล้ว ที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่
ก็คงจะเป็น ข้อที่ 4
ที่เป็นที่มาของการประชุมวันนี้ คือต้องการให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
เพื่อให้บั้นปลายของชีวิต หากถึงวันตายก็ตายอย่างมีศักดิ์ศรี
สภาพปัญหาระบบการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
ของจังหวัดยโสธร
โรงพยาบาลยโสธร หรือโรงพยาบาลชุมชน
มีผู้เข้ารับบริการมาก เกิดสภาพแออัด ในตึกผู้ป่วยใน ในบางกรณีจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
โดยให้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบออกไปให้การดูแล เจ้าหน้าที่มีศักยภาพในการให้บริการดูแลต่อเนื่องได้
แต่ขาดอุปกรณ์ ในการให้บริการ ด้วยว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ส่วนมากเป็นผู้ที่มีฐานะ
ยากจน ไม่สามารถที่จะจัดหาสำหรับดูแลตนเองได้
สิ่งที่ต้องการสนับสนุน
สำหรับการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
แพมเพิร์ส บางอำเภอ วันเกิด บางคน
ซื้อผ้าอ้อมให้กับผู้ป่วยในวันเกิด เป็นต้น
ม้านั่งถ่าย ขาดแคลน
เครื่องดูดเสมหะ
ถังออกซิเจน
หัวออกซิเจน พร้อมอุปกรณ์ กุดชุม มีระบบการ เช่าซื้อ ถังออกซิเจน และรับซื้อคืน
ถังออกซิเจน
ควรเป็นถังขนาดใหญ่ เพราะหากขนาดเล็กจะหมดเร็ว การปเลี่ยน การเพิ่มเติม ทำได้ยาก
และผู้ป่วย 1 คน
ต้องใช้ ถังออกซิเจน หัวออกซิเจน พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 2 ชุด
ชุดที่ 1 ประจำตัวผุ้ป่วย อีกชุดสำหรับเปลี่ยนอุปกรณ์
เตียงนอนผู้ป่วย หรือเตียงนอนลม (เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียง
ไม่ให้มีแผลกดทับ)
ชุด และอุปกรณ์ ทำแผล
นม หรือเครื่องดื่ม
เพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย
ในบางครั้ง แม้ชุมชนเราจะมีเงิน
เราก็ไม่สามารถไปซื้อเครื่องมือนั้นได้
ประสบการณ์ที่ดี
ของทรายมูล จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือของชุมชน จัดการโดยชุมชนเอง
ชมรม อสม. จังหวัดยโสธร
ต้องการทำบุญ ให้การสนับสนุน การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
ปกติแล้ว ชมรม อสม.จังหวัดยโสธร
ได้จัดงานทำบุญ เพื่อการกุศล เป็นประจำทกๆปี กระจายไปตามวัดต่างๆ
ในปีนี้ ชมรม
อสม.จังหวัดยโสธร รับทราบและเข้าใจสภาพปัญหาเหล่านี้ดี จึงมีแนวคิด ที่จะทำบุญ
เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนสถานที่การทำบุญ จาก วัด มาเป็นการทำบุญ กับ ผู้ป่วย
ประเภทให้ การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน โดยการ จัดทำ ผ้าป่า อสม. เพื่อให้ การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน เพราะ
มีความคิดว่าการทำบุญกับเพื่อนมนุษย์
ซึ่งจะได้บุญ ผลานิสงส์ กลับมาที่ยิ่งใหญ่มาก
โดย ชมรม อสม.จังหวัดยโสธร
ยินดีสนับสนุน สมทบทุน ตั้งเป็นต้น ผ้าป่า ระดับจังหวัด
ชมรม อสม.ระดับอำเภอ
ยินดีสนับสนุน สมทบทุน ตั้งเป็นต้น ผ้าป่า ระดับอำเภอ และขอความร่วมมือกับ
เจ้าหน้าที่ ให้การสนับสนุน ในการะดมทุน ในชุมชน เพื่อสมทบ กองบุญอันยิ่งใหญ่ นี้ ต่อไป
มติที่ประชุม
ให้จัดทำผ้าป่า อสม.
นำงบประมาณที่ได้มาจัดตั้ง เป็น กองทุนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
จังหวัดยโสธร
สุขภาพดีถ้วนหน้า
ตามความหมายทั้ง 4 ข้อ ที่กำลังจะบรรุลครบถ้วน ก็จะสมบูณ์
ได้ ในอนาคตอันใกล้นี้
1.
ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
2.
เมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเหมาะสมและทัดเทียมกัน
3. มีชีวิตยืนยาวสร้างคุณค่าและประโยชน์แก่สังคม
4. เกิดและตายอย่างมีศักดิ์ศรี
หากพวกเราร่วมมือ
และให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างจริงใจ ด้วยจิตใจที่ดี ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ก็จะตายอย่างมีศักดิ์ศรี อย่างแท้จริง ต่อไป
ทั้งนี้ หลักการ เหตุผล การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
ทั้งนี้
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าสังคมไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเพราะด้วยการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้าส่งผลให้อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรสูงขึ้น
และอัตราการเพิ่มของประชากรมีน้อยลง เป็นสถานการณ์ที่คุกคามต่อหลักประกันในชีวิตของผู้สูงอายุ
ซึ่งจะมีความต้องการระบบบริบาลเฉพาะทาง กดดันให้รัฐบาลต้องพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์
พยาบาล ระบบการสื่อสาร เทคโนโลยีทางการแพทย์ การจัดบริการสาธารณสุข
นอกเหนือจากบริการสาธารณะ ที่อยู่อาศัย และการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเพียงพอ ปัญหาโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นสาเหตุการป่วยและตายอันดับต้นๆ
ของประเทศไทย ซึ่งโรคในกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด อุบัติเหตุ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
ในภาวะสังคมที่ต้องแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา
ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ขาดการดูแลเอาใจใส่
หรือไม่ได้รับการดูแลจากผู้ใกล้ชิดเท่าที่ควร
ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยต่อเนื่องไปยังประสิทธิผลของการรักษา
จากการติดตามการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยจะอยู่ภายใต้การดูแลของครอบครัว
ซึ่งต้องการระบบการดูแลระยะยาว ที่มีความต่อเนื่องของการดูแลตั้งแต่โรงพยาบาลจนกระทั่งกลับมาอยู่บ้าน
การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน จึงจำเป็นต้องดูแลตั้งผู้ป่วยเข้ามาในโรงพยาบาลมีการวางแผนจำหน่าย
ตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน
เพื่อสร้างความเข็มแข็งแก่ผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วย ให้มีความมั่นใจต่อการดูแลสุขภาพตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยให้บริการอย่างมีคุณภาพและมีความสุข
No comments:
Post a Comment