24 ตค.2556: ยโสธร_เตรียมข้อมูลลูกจ้างบรรจุ_พกส.ตาม หนังสือ ว.815
วันที่ 24ตุลาคม 2556ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วม
ประชุม เรื่องการบริหารงานบุคคล(ลูกจ้าง)
ณ
ห้องประชุมพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นายแพทย์สุใหญ่
หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย นพ.จักราวุธ
จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)
และผู้รับผิดชอบ จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
โรงพยาบาลยโสธร โรงพยาบาล และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง
ทั้งนี้เป็นการประชุม
เพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามหนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ. ๐๒๐๑.๐๓๔ /
ว.๘๑๕ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖
มติการประชุมที่สำคัญ
อาทิเช่น
1.
หน่วยบริการทุกหน่วยที่จะจ้างบุคลากรทุกตำแหน่ง
ต้องขออนุมัติ จากคณะกรรมการบริหารกำลังคนระดับจังหวัด
ทั้งนี้
ต้องไม่เกินกรอบอัตรากำลังตามโครงสร้าง ของหน่วยงานนั้นๆ
2.
ลูกจ้างโครงการ Health Check ทั้งนักวิชาการสาธารณสุข และ พนักงานขับรถยนต์
ให้จ้างเป็นการจ้างเหมาบริการ รายเดือน
3.
ลูกจ้างโครงการแพทย์แผนไทย 3 ตำแหน่ง
(ป่าติ้ว กุดชุม เมือง) เดิม ออกคำสั่งที่
จังหวัด เพราะกรมแพทย์ฯ โอนเงินให้จังหวัด มอบอำนาจให้ ผู้ว่าฯ ปี งปม. 2557
เริ่ม 1 ตุลาคม 2556
สปสช . จะโอนตรงไปที่โรงพยาบาลฉะนั้นให้จ้างโดยเป็นลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงโรงพยาบาล
เพราะลูกจ้างโครงการพิเศษ ไม่มีคุณสมบัติ รับเข้าเป็น พกส.
เพราะไม่ได้จ้างจากเงินบำรุง(จ้างจากเงินสนับสนุนจากกรม)
4.
อัตราจ้างลูกจ้างชั่วคราว จ้างเหมา รายเดือน
ให้ใช้อัตรา เดือนละ 6,900 บาท
โดยมีฐานคิดจาก อัตรา 300 บาทต่อวัน ตามยโยบายรัฐบาล คิดเดือนละ
23 วันทำการ
5.
การเพิ่มค่าจ้าง ณ วันที่ 1 ตุลาคม
2556 ให้เพิ่มจากอัตราเงินเดือน
ณ 1 พฤษภาคม 2556 ในอัตราร้อยละ 6 โดยเมื่อคำนวณแล้ว หากตัวเลขไม่ลงท้ายด้วย เลข สิบ ให้ปรับขึ้นเป็นเลขสิบ
ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ลูกจ้างที่ยังเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำ
ให้เพิ่มค่าจ้าง ร้อยละ 6
กลุ่มที่ 2 ลูกจ้างที่เพิ่ม ร้อยละ 6 แล้ว เกินขั้นต่ำไป ให้ปรับเป็นไม่เกินขั้นต่ำ( ได้จริงอาจไม่ถึงร้อยละ6 )
กลุ่มที่ 3 คนที่เงินเดือนเกินขั้นต่ำแล้ว ให้ ได้ไม่เกิน
อัตราขั้นต่ำ ตามหนังสือ
ที่ ว.815 ( ลดเงินเดือน )
6. พยาบาลวิชาชีพ จบ
สถาบันไหนก็ตาม ถือ เป็น นักเรียนทุนหมด
7. การประเมินนักวิชาการสาธารณสุขพนักงานกระทรวงสาธารณสุข
ต้องยึดถือตามหลักเกณฑ์ ที่ สธ. กำหนด กับสถาบันที่ร่วมผลิต นักวิชาการสาธารณสุขในสมทบ
คือ ผู้ที่จบ จากสถาบันบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและวิทยาลัยสมทบอีก 5 แห่ง
บัญชีค่าจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข
ขั้นต่ำ ขั้นสูง รายละเอียดตามภาพ
ชะลอ ชะลอการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกหนังสือด่วนที่สุดที่ สธ 0201.304/ว 815 ที่ สธ. ๐๒๐๑.๐๓๔ / ว.๘๑๕
ลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ เรื่อง ชะลอการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข
ถึงอธิบดีทุกกรม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
ผู้อำนวยการสำนักและหน่วยงานในสังกัดสำนักปลัดสาธารณสุข แพทย์สาธารณสุขจังหวัด
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ผู้อำนวยการวิทยาลัยทุกแห่ง
ลงนามโดยนายวชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โดยเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรชาชีพที่ ก.พ.รับรองคุณวุฒิแล้ว หรือผู้มีทักษะประสบการณ์ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 โดยอ้างถึงรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขครั้งที่ 5/2556 วันที่ 9 กันยายน 2556 มีรายละเอียด ดังนี้
ตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 โดยได้พิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเรื่องต่าง ๆ จำนวน 7 ฉบับโดยมติที่ประชุมได้กำหนดกลักการไว้ดังนี้
1. ชะลอการจัดทำสัญญาจ้างและให้ส่วนราชการ (กรม) เร่งรัดทำกรอบอัตรากำลังคนในภาพรวม โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2556 เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขขอนุมัติ และ แจ้ง อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุขทราบตามข้ออ 9 และ 29 วรรค 2 ของระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.2556
2. จัดลูกจ้างชั่วคราวที่ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้กรอบอัตรากำลังคนที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 โดยให้อยู่ภายในกรอบวงเงินไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวในภาพรวมของเครือข่ายบริการระดับเขตได้ รวมถึงการเยียวยาสำหรับผู้ได้รับค่าจ้างลดลง สัญญาจ้างให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 และจะดำเนินการได้เมื่อเครือข่ายบริการระดับเขตอนุมัติแล้ว ส่วนลูกจ้างชั่วคราวรายใดที่ประเมินไม่ผ่านหรือตำแหน่งที่เกินกรอบอัตรากำลังตามข้อ 1 หน่วยบริการสามารถจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงลักษณะอื่นได้ เช่น รายวัน รายคาบ จ้างเหมาบริการหรือรายเดือนต่อไปได้ ซึ่งการบริหารค่าจ้างให้อยู่ภายในกรอบวงเงินร้อยละ 10 ข้างต้น ทั้งนี้ขอให้ดำเนินการคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวที่ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุขโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการทำงานอย่างแท้จริง
3. ให้ยกเลิกบัญชีค่าจ้างแนบท้ายประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่องค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 ทั้งบัญชีแนบท้าย 1 และ 2 แล้วให้ใช้บัญชีค่าจ้างใหม่ตามที่ส่งมาด้วย
4. การได้รับค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 กำหนดให้ได้รับอัตราค่าจ้างไม่เกินขั้นต่ำของบัญชีแนบท้ายตามข้อ 3 (กลุ่มเทคนิคที่เป็นสายงานวิชาชีพ และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ อัตราค่าจ้างตามบัญชีที่ส่งมาด้วย เป็นอัตตราที่ได้เพิ่ม 1.2 เท่า จากอัตราเงินเดือนที่เป็นสายงานเดียวกัน โดยมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารกำลังคนระดับจังหวัดหรือเรียกชื่ออย่างอื่นของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เป็นผู้กำหนดและเสนอเครือข่ายบริการระดับเขตให้ความเห็นชอบ
5. ลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่แสดงเจตนาเข้ารับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข หากขณะนี้ประสงค์จะแสดงเจตนาเข้ารับการประเมินให้สามารถทำได้ และส่วนราชการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเรื่องหลักเกณฑ์ว่าด้วยการประเมินลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู้ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.2556
6. การบริหารจัดการในภาพของกรมต่างๆ และวิทยาลัยในสังกัดในสถาบันพระบรมราชชนก ให้ถือปฏืบัติตามหลักการข้างต้น
ในการนี้ขอให้ส่วนราชการในสังกัดได้ถือปฏิบัติตามมติคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขข้างต้น
อนึ่งการจ้างงานของลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงขณะนี้ยังคงให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ สธ 0201.ว479 ลงวันที่ 30 เม.ย. 2556 ต่อไป สำหรับลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงที่มีการจ้างงานไว้ในขณะนี้ หากรายใดไม่ผ่านการประเมินหรือไม่แสดงเจตนาเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ให้หน่วยบริการพิจารณาการจ้างตามมติคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขในข้อ 2 ส่วนผู้ที่ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยไม่มีการปรับค่าจ้างคงรับค่าจ้างอัตราเดิมไปพลางก่อน และให้หน่วยบริการมีคำสั่งจ้างลูกจ้างชั่วคราวข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 จนกว่าการจัดทำกรอบอัตรากำลังคนในภาพรวมจะแล้วเสร็จ
โดยเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรชาชีพที่ ก.พ.รับรองคุณวุฒิแล้ว หรือผู้มีทักษะประสบการณ์ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 โดยอ้างถึงรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขครั้งที่ 5/2556 วันที่ 9 กันยายน 2556 มีรายละเอียด ดังนี้
ตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 โดยได้พิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเรื่องต่าง ๆ จำนวน 7 ฉบับโดยมติที่ประชุมได้กำหนดกลักการไว้ดังนี้
1. ชะลอการจัดทำสัญญาจ้างและให้ส่วนราชการ (กรม) เร่งรัดทำกรอบอัตรากำลังคนในภาพรวม โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2556 เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขขอนุมัติ และ แจ้ง อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุขทราบตามข้ออ 9 และ 29 วรรค 2 ของระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.2556
2. จัดลูกจ้างชั่วคราวที่ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้กรอบอัตรากำลังคนที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 โดยให้อยู่ภายในกรอบวงเงินไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวในภาพรวมของเครือข่ายบริการระดับเขตได้ รวมถึงการเยียวยาสำหรับผู้ได้รับค่าจ้างลดลง สัญญาจ้างให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 และจะดำเนินการได้เมื่อเครือข่ายบริการระดับเขตอนุมัติแล้ว ส่วนลูกจ้างชั่วคราวรายใดที่ประเมินไม่ผ่านหรือตำแหน่งที่เกินกรอบอัตรากำลังตามข้อ 1 หน่วยบริการสามารถจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงลักษณะอื่นได้ เช่น รายวัน รายคาบ จ้างเหมาบริการหรือรายเดือนต่อไปได้ ซึ่งการบริหารค่าจ้างให้อยู่ภายในกรอบวงเงินร้อยละ 10 ข้างต้น ทั้งนี้ขอให้ดำเนินการคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวที่ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุขโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการทำงานอย่างแท้จริง
3. ให้ยกเลิกบัญชีค่าจ้างแนบท้ายประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่องค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 ทั้งบัญชีแนบท้าย 1 และ 2 แล้วให้ใช้บัญชีค่าจ้างใหม่ตามที่ส่งมาด้วย
4. การได้รับค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 กำหนดให้ได้รับอัตราค่าจ้างไม่เกินขั้นต่ำของบัญชีแนบท้ายตามข้อ 3 (กลุ่มเทคนิคที่เป็นสายงานวิชาชีพ และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ อัตราค่าจ้างตามบัญชีที่ส่งมาด้วย เป็นอัตตราที่ได้เพิ่ม 1.2 เท่า จากอัตราเงินเดือนที่เป็นสายงานเดียวกัน โดยมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารกำลังคนระดับจังหวัดหรือเรียกชื่ออย่างอื่นของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เป็นผู้กำหนดและเสนอเครือข่ายบริการระดับเขตให้ความเห็นชอบ
5. ลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่แสดงเจตนาเข้ารับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข หากขณะนี้ประสงค์จะแสดงเจตนาเข้ารับการประเมินให้สามารถทำได้ และส่วนราชการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเรื่องหลักเกณฑ์ว่าด้วยการประเมินลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู้ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.2556
6. การบริหารจัดการในภาพของกรมต่างๆ และวิทยาลัยในสังกัดในสถาบันพระบรมราชชนก ให้ถือปฏืบัติตามหลักการข้างต้น
ในการนี้ขอให้ส่วนราชการในสังกัดได้ถือปฏิบัติตามมติคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขข้างต้น
อนึ่งการจ้างงานของลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงขณะนี้ยังคงให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ สธ 0201.ว479 ลงวันที่ 30 เม.ย. 2556 ต่อไป สำหรับลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงที่มีการจ้างงานไว้ในขณะนี้ หากรายใดไม่ผ่านการประเมินหรือไม่แสดงเจตนาเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ให้หน่วยบริการพิจารณาการจ้างตามมติคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขในข้อ 2 ส่วนผู้ที่ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยไม่มีการปรับค่าจ้างคงรับค่าจ้างอัตราเดิมไปพลางก่อน และให้หน่วยบริการมีคำสั่งจ้างลูกจ้างชั่วคราวข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 จนกว่าการจัดทำกรอบอัตรากำลังคนในภาพรวมจะแล้วเสร็จ
นักวิชาการสาธารณสุขในสมทบวิทยาลัยสมทบอีก
5 แห่ง มีที่ใดบ้าง
ปกติแล้ว ถ้าเรียน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
หรือ วสส. จะเรียนหลักสูตรไหน ก็ไม่ตกงาน เพราะถือว่าเป็น
นักเรียนทุน ของกระทรวงสาธารณสุข จบ
แล้วจะได้วุฒิ ประกาศนียบัตรชั้นสูง ( ปวส.)
ส่วนมากแล้ว วสส. แต่ละแห่ง จะ เปิดสอน
3 หลักสูตร คือ
1หลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)
2หลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)
3หลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณสุขศาสตร์(เทคนิคเภสัชกรรม)
รวมทั้ง
หลักสูตร อื่นๆ ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก
ผลิต เช่น หลักสูตร ปริญาตรี เปิด การแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต
สาขาเวชระเบียน
หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพเช่น
ประกาศนียบัตรวิชาชีพแพทย์แผนไทย
ประกาศนียบัตรวิชาชีพเวชระเบียน
ประกาศนียบัตรวิชาชีพโสตทัศนศึกษาทางการแพทย์
ต่างก็ถือเป็นนักเรียนทุน ของกระทรวงสาธารณสุข
จบหลักสูตรเหล่านี้แล้ว ก็ไม่ตกงานเช่นกันครับ
แต่ มี วสส. บาง แห่ง ผลิต บัณฑิต ในระดับปริญาตรี หลักสูตร
วิทยาศาสร์บัณฑิต(วทบ.) หรือ สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต(สบ.) ตามปริญญาที่ได้จาก สถาบัน
ที่ร่วมผลิต กับ วสส. แห่งนั้นๆ แต่ทั้ง วทบ. หรือ ส.บ. เป็น
นักสาธารณสุข ทั้งสองวุฒิ เมื่อไปปฎิบัติงาน จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งเหมือนกันคือ "นักวิชาการสาธารณสุข" วทบ.สาธารณสุขชุมชน มีสอนที่ วสส.ยะลา วสส.ยะลาเป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งไม่มีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีแต่คณะวิทยาศาสตร์ เลยได้วุฒิ วิทยาศาสร์บัณฑิต(วทบ.) ตามสถาบันสมทบ(เนื่องจาก วสส.ไม่สามารถประสาทปริญญาเองได้)
นักสาธารณสุข ทั้งสองวุฒิ เมื่อไปปฎิบัติงาน จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งเหมือนกันคือ "นักวิชาการสาธารณสุข" วทบ.สาธารณสุขชุมชน มีสอนที่ วสส.ยะลา วสส.ยะลาเป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งไม่มีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีแต่คณะวิทยาศาสตร์ เลยได้วุฒิ วิทยาศาสร์บัณฑิต(วทบ.) ตามสถาบันสมทบ(เนื่องจาก วสส.ไม่สามารถประสาทปริญญาเองได้)
วสส.ชลบุรี เป็น
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) สมทบกับ มหาวิทยาลัยมหิดล
วสส.พิษณุโลก เป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จึงได้วุฒิ สาธารณสุขศาสตร์(สบ.)ของคณะสาธารณสุขศาสตร
สรุปว่า ได้วุฒิ ส.บ. หรือ วทบ. ส่วนหนึ่งมาจาก
การเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัย ซึ่งหากสถาบันนั้นมีคณะ สาธารณสุขศาสตร ก็ได้วุฒิ
ส.บ. หากเป็นคณวิทยาศาสตร์ ก็ได้วุฒิ ว.ทบ.
No comments:
Post a Comment