10/19/13

15 ตค 2556 ยโสธร_ระดมทีม_พัฒนาระบบบริการสุขภาพ

15 ตค 2556 ยโสธร_ระดมทีม_พัฒนาระบบบริการสุขภาพ
วันที่ 15 กันยายน 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ เข้าร่วมประชุม โครงการพัฒนาระบบริการสุขภาพระดับอำเภอ โดยกระบวนการเรียนรู้เป็นฐาน
ณ ห้องประชุมพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
วัตถุประสงค์หลักเพื่อ ให้เกิดกระบวนการ และการใช้ระบบเป็นเครื่องมือ ในการทำงานเพื่อพัฒนามาตรฐานระบบริการ ปฐมภูมิ (Primary Care Unit:PCA) ของสถานบริการสุขภาพ จังหวัดยโสธร
รวมถึงพัฒนาทีมส่งเสริมการสร้างสุขภาพ (Quality Review Team:QRT) ระดับจังหวัด ให้เป็น ครู  ก. ที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ชี้แนะ ออกเยี่ยม กระตุ้น เสริมแรง เพื่อพัฒนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน Primary Care Award:PCA
            เป้าหมาย หลัก คือ ให้ โรงพยาบาล และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่แท้จริง
            ตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม ที่แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่แท้จริง คือ มีกระบวนการการจัดทำงานร่วมกัน
ที่เป็น single plan
ดำเนินการระดมการแลกเปลี่ยนเรีนยรู้ โดย  นางสุวรรณี แสนสุข หัวหน้ากลุ่มงาน พัฒนาคุณภาพบริการ
และสุขภาพภาคประชาชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
            แผนพัฒนาความสัมพันธ์ กรรมการ DHS ระดับจังหวัด
            ชื่นชม เนื้อหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อคิดที่ได้ จากทุกๆ เครือข่าย อาทิเช่น
                   คปสอ.ทรายมูล เรื่อง Single Plan         จัดทำแผนร่วมกัน ณ โขงเจียม โดยใช้งบประมาณ จาก สสจ.โซน 100,000 บาท และเงินบำรุง หน่วยบริการสนับสนุน
                   คปสอ.กุดชุม งานเวชปฏิบัติครอบครัว จะให้ดี มีประสิทธิภาพ จุดแตกหักอยู่ที่ ระดับ CUP  ถ้า CUP ดี
งานใน CUP ก็จะดีทุกอย่าง ที่สำคัญ ต้องมี Project Manager ในระดับ CUP
                   คปสอ.คำเขื่อนแก้ว พัฒนาคนพัฒนาทีมเพื่อพัฒนางาน และออกปฏิบัติงานร่วมกัน ตั้งต้นโดยการพัฒนาคนร่วมกัน ในรูปแบบของ HRD ของ CUP ที่เป็นรูปธรรม
                   กลยุทธ ที่คำเขื่อนแก้ว ใช้คือ การพัฒนาตนเองจากส่วนขาด จากการประเมิน Scoring ของตนเอง
                   พัฒนา ผู้เชื่อมประสานพลังชุมชน ซึ่ง ผู้ทำหน้าที่ เชื่อมประสานภาคีเครือข่าย ที่ดีที่สุด คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเจ้าหน้าที่  ที่ปฏิบัติงานในชุมชนทุกคน หากปฏิบัติงาน ให้เขา เชื่อถือ ศรัทธา ได้แล้ว ความร่วมมือและพลังต่างๆก็จะตามมา
                   การพัฒนา PCA ที่แท้จริง คือการพัฒนาบริการ แต่ที่ผ่านมา เราไปให้ความสำคัญกับ การพัฒนาเอกสาร ซึ่งเป็นเอกสาร ที่นำมากองรวมๆกันไว้ สิ่งที่ดีคือ ใครทำอะไร ก็ให้เขียน ในสิ่งที่ทำ ไม่จำเป็นต้องมาก แต่ให้คนอื่นรู้ ว่าเราทำอะไรบ้าง  ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน และผลงานรวมใน รอบปี จากนั้น ก็มา Audit ตนเอง ประเมินความเสี่ยง ทบทวนตนเอง และพัฒนากระบวนงานของตนเองได้
                   จุดเด่น ของ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว คือ กระตุ้น ให้แพทย์สามารถออกปฏิบัติงาน ในกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับทีมงานของ CUP  ในรูปแบบของ การให้บริการในระดับ Node 5 แห่ง
                   คปสอ.ป่าติ้ว  พลังชุมชนกระตุ้น กองทุนสุขภาพท้องถิ่น ให้ชุมชนรู้จักข้อมูล และจัดทำแผนงานร่วมกัน
ให้ภาคประชาชนรู้จักสิทธิของตน จากแผนชุมชน
                  
                   ข้อเสนอต่อผู้บริหารระดับจังหวัด
1.     การปฏิบัติที่เป็นไปได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร  ควรจะให้ความสำคัญ หรือพัฒนาคน
ที่ปฏิบัติงาน ในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ให้มีศักยภาพ ที่เพิ่มขึ้น โดยให้มองข้าม กรอบ อัตรากำลัง สสอ. ควรจะมอง ไกล ไปถึงกรอบอัตรากำลัง ของ CUP เพื่อให้กองกำลัง เหล่านี้ สามารถสนับสนุน การปกิบัติงาน ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง และโรงพยาบาล ได้
2.     ข้อเสนอ เพื่อให้ทั้งสองส่วนสามารถทำงานเชื่อมประสานกันได้ ในการจัดทำแผนร่วมกัน
ให้เป็น Single Plan อย่างแท้จริง เวทีนั้นไม่ควรจะเป็น เวทีระดับอำเภอ ควรจะเป็นเวทีในระดับจังหวัด ที่เป็น Meditation  ในลักษณะของ
3.     การเตรียมความพร้อม ให้กับ แพทย์ ทุกโรงพยาบาล เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก แต่ ในระดับอำเภอ ไม่มีศักยภาพที่จะจัดได้ ควรจะให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จัดเวทีให้กับแพทย์ รพ.ทุกคนด้วย 

                   ขอบพระคุณผู้ร่วมประชุมและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในเวทีวันนี้ทุกๆท่าน ผู้ประชุม จาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นายบัณดิษฐ   สร้อยจักร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนสิม

ภก.กฤษดา  จักรไชย เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่

No comments:

Post a Comment