วันที่ 2 ตุลาคม 2556 ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง หมออนามัย
จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ขอชื่นชมและแสดงความยินดี กับ สมาชิก หมออนามัย ทั่วประเทศ ที่
ในวันนี้ ได้ถือเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ การต่อสู้ ที่ยาวนาน
เพื่อหาที่ยืนในสังคมให้กับ เหล่ามดงาน ของกระทรวงสาธารณสุข พลังเสาเข็ม ที่ค้ำยัน
ระบบสุขภาพของประเทศไทย ให้เข้มแข็ง มาอย่างยาวนาน ตลอดเส้นทางการต่อสู้ที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ตลอดระยะเวลา 100 กว่าปี เพื่อ
เกียรติยศ และศักดิ์ ศรี การทำงาน เพื่อเยียมยา และรักษาโรค ทางสังคม
ให้กับประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะ ใท้องถิ่นชนบท ที่ผ่านมา โรค ทางกาย และโรคทางจิต
มีสภาวิชาชีพที่ให้การดูแลรักษาได้ดีอย่างครบถ้วนแล้วถึง 7 องค์กรวิชาชีพ
แต่ วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน จะถือเป็นวิชาชีพที่ 8 เป็นวิชาชีพ
ที่สำคัญ ที่จะเป็นตัวกลางในการประสาน 7
องค์กรวิชาชีพ ในระบบสาธารณสุข ให้การเยียวยา ทั้ง โรคทางกาน
โรคทางจิต และโรทางสังคม ให้กับประชาชนชาวไทยต่อไป
ผมชื่นชมและประทับใจ หญิงแกร่งแห่งยุค จดจำชื่อเธอเอาไว้ เธอผู้นี้คือ ผู้มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อพวกเรา เธอคือ คุณทัศนีย์ บัวคำ
ผมขอชื่นชมและประทับใจ ข้อความข่าวนี้
ขออนุญาตนำมาเผยแพร่และร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ดังนี้
Hfocus -จากเหนือสุดจรดท้ายปลายด้ามขวาน
จากเชียงรายไล่เรียงลงสู่ปัตตานี
“กลุ่มหมออนามัย” ไม่ต่ำกว่า 3,000 ชีวิต
ตบเท้าแสดงพลังหน้ารัฐสภาด้วยความหวัง
... หวังเพียงเพื่อ “ทวงสัญญา” และทวงถามถึง “ศักดิ์ศรี” ที่พึงได้รับ
2 ต.ค. 2556 ประวัติศาสตร์ต้องจารึก ... 100 ปีที่ผ่านมา พวกเขาเพียรภาวนาให้ความฝันกลายเป็นจริง
ตั้งแต่ช่วงเช้า “กลุ่มหมออนามัย” ทั่วประเทศ
รวมตัวกันอย่างแข็งขั้นบริเวณหน้าพระบรมรูปทรงม้าท่ามกลางท้องฟ้าที่ครึ้มฝน
ในวันนี้หัวใจทุกดวงมีเป้าหมายเดียวกัน คือวิงวอนให้สภาผู้แทนราษฎร “เลื่อน” การพิจารณา
พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ขึ้นมาให้ความเห็นชอบอย่างเร่งด่วน
10 นาฬิกาตรง
สองเท้านำร่างที่ล้นเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นเคลื่อนสู่หน้ารัฐสภาไทย
ก้าวแล้วก้าวเล่า คนแล้วคนเล่า เนืองแน่นเต็มประดาเป็นประจักษ์ถึงความจำเป็น
รถเครื่องเสียงคันนั้นกำลังนำการปราศรัย “กลุ่มหมออนามัย” ในเครื่องแบบเสื้อสีฟ้าโห่ร้องแย้มรอยยิ้ม สองมือขึงป้ายผ้าแสดงถิ่นฐานการทำงาน
“เราได้รับข่าวดีมาแล้วว่า
พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน จะถูกเลื่อนขึ้นมาพิจารณาในเวลา 13.00 น. ของวันนี้” ใครคนนึ่งประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง
ใครอีกหลายพันคนไม่สามารถเก็บอาการความยินดีไว้ได้อีกต่อไป
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มคนเหล่านี้ “ลาพักร้อน” มารวมตัวหน้ารัฐสภา
แต่นี่คือครั้งแรกที่กฎหมายซึ่งนำเสนอโดย 14,583 ชีวิต กำลังจะบรรลุผล
ทัศนีย์
บัวคำ อุปนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข
ยอมรับว่า ที่ผ่านมาถูกกีดกันขัดขวางอย่างหนักจาก 7 วิชาชีพสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วย แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล
สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด สัตวแพทยสภา
รวมถึงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เนื่องจากเขาเหล่านั้นไม่ยอมรับการทำงานของหมออนามัย
อย่างไรก็ดี
ในวันนี้มีความมั่นใจว่าจะสำเร็จ และเชื่อว่าภายในเดือนพ.ย.นี้
จะมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิให้กับ “หมออนามัย” ทั้ง 4หมื่นชีวิต
สำหรับ “หมออนามัย” คือกลุ่มบุคคลที่เป็น “ข้าราชการเต็มขั้น” เริ่มตั้งแต่ระดับ 4-7 ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) โดยบุคคลเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็น “แพทย์” ตามนิยามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
แต่โดยพฤตินัยแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้ต้องทำงานทั้ง “รักษาพยาบาล”
“ส่งเสริมป้องกันโรค” “ควบคุมโรค” และ “การฟื้นฟู” นั่นหมายความว่า
กลุ่มคนเหล่านี้ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อสุขภาพของคนในชุมชน เป็น “ด่านแรก” หรือเปรียบเป็น “ที่พึ่ง” ของชาวบ้านตาดำๆ
ทว่า
กลุ่มคนเหล่านี้กลับถูก “ครหา” และ “หยามเหยียด” มาโดยตลอดว่าเป็น “หมอเถื่อน” หรือกระทั่ง “ไม่มีความรู้” เพียงพอที่จะมาให้การรักษาคนไข้
นอกจากนี้ทุกการรักษาเพื่อประคับประคองชีวิตของผู้ป่วยโดยหมออนามัย
กลับเปิดช่องให้ “ถูกฟ้อง” ได้ตลอดเวลา
... เรียกได้ว่า ขา 1 ข้าง
เหยียบไว้ในห้องขังแล้ว
ตามโครงสร้างของรพ.สต.
แน่นอนว่าต้องมี “พยาบาลวิชาชีพ” ประจำอยู่ ... ในบางแห่ง พยาบาลวิชาชีพ เป็นเพียงอัตราเดียวที่มี“สภาวิชาชีพ” รองรับ
นั่นหมายความว่ามีโอกาสได้รับทั้งเงินเดือนและเบี้ยตามวิชาชีพ ในขณะที่ “หมออนามัย” ซึ่งทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ และไม่ได้มีภาระงานน้อยกว่า “พยาบาลวิชาชีพ” แต่อย่างใด กลับได้รับเงินเพียงเศษเนื้อข้างเขียง
จึงไม่มีเหตุผลใดที่คู่หรือหนักแน่นพ่อจะคัดง้างไม่ให้ก่อกำเนิด “กฎหมาย” เพื่อคุ้มครองและยกระดับ “หมออนามัย” เป็น “วิชาชีพ”
สำหรับสาระสำคัญของ
พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ได้กำหนดนิยามคำว่า “วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน” หมายถึงวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในชุมชนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันโรค การควบคุมโรค การตรวจประเมิน และการบำบัดโรคเบื้องต้น
อย่างไรก็ดี
ไม่รวมถึงการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
หรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
นอกจากนี้
มีการกำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณรวมถึงสิทธิและความเป็นธรรมของผู้ที่ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข
มีการส่งเสริมให้มีการวิจัยและเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนและองค์กรเกี่ยวกับการสาธารณสุข
มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขอย่างชัดเจน เช่น
ผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
และต้องมีความรู้ในวิชาชีพสาธารณสุขโดยได้รับปริญญาในวิชาชีพสาธารณสุขที่สภาวิชาชีพการสาธารณสุขรับรอง
เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ยังได้กำหนดให้เฉพาะบุคคลที่มีใบอนุญาตถึงจะมีสิทธิปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขได้
โดยมีข้อยกเว้นเฉพาะการกระทำในฐานะข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น
และกำหนดข้อจำกัดเงื่อนไขและจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขของผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุข
รวมถึงหากมีกรณีมีผู้เสียหายก็สามารถทำหนังสือร้องเรียนผู้ที่กระทำความผิดนั้นยื่นต่อสภาวิชาชีพสาธารณสุขมีบัญญัติบทลงโทษโดยในขั้นสูงสุดคือการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข
ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพนั้นได้กระทำความผิดจริง
แม้ย่ำค่ำแต่ฟ้าเปิด ... 100 ปีที่ผ่านมา กับการเพียรภาวนาความฝันกลายเป็นจริงแล้ว
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติด้วยเสียงเอกฉันท์ 382 เสียง
เห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.การสาธารณสุขชุมชน
นพ.พูลชัย จิตอนันตวิทยา ที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข ระบุว่า
ภายหลังกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ จะมีการจัดตั้ง “สภาวิชาชีพ” ของกลุ่มหมออนามัยขึ้นมา โดยสภาวิชาชีพจะกำหนดเกณฑ์ คุณสมบัติ
และมาตรฐานของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ
จากนั้นจะมีการเปิดสอบเพื่อให้หมออนามัยที่ทำงานอยู่แล้วเข้ามาสอบเพื่อคัดกรองผู้ที่มีความสามารถ
เมื่อผ่านการสอบก็จะได้รับใบประกอบวิชาชีพ แต่จะต้องมีการมาสอบซ้ำเพื่อต่ออายุทุกๆ 5 ปี
“แน่นอนว่าประโยชน์จะเกิดขึ้นกับทั้ง 2 ฝ่าย
สำหรับคนไข้ก็จะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพจากผู้ให้บริการที่มีมาตรฐาน
ส่วนหมออนามัยก็จะได้ศักดิ์ศรี ได้รับการยอมรับ
และมีโอกาสได้เบี้ยจากวิชาชีพเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อชุมชนต่อไป” คุณหมอพูลชัย ระบุ
นี่จึงเป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก เป็นการก่อกำเนิน “วิชาชีพ” สาขาที่ 8 ของวงการสาธารณสุข
- See more at:
http://www.hfocus.org/content/2013/10/4978#sthash.4JvRVBDJ.dpuf
คือ คุณทัศนีย์
บัวคำ เธอเป็นใคร? คุณทัศนีย์ บัวคำมา จากไหน? เป็นนักสาธารณสุข
หรือหมออนามัยหรือเปล่า? แล้วมาผลักดันเสนอให้มีกฎหมายวิ ชาชีพสาธารณสุขทำไม?
ดูรายละเอียดได้ ที่นี่
http://www.hpathailand.org/inf-news/college_showdetail.php?id=54
ทั้งนี้
สำนักข่าวต่างๆ ให้ความสนใจ เสนอข่าว การจารึกประวัติศาสตร์ ครั้งนี้ ไว้มากมาย
อาทิเช่น
สำนักข่าวPT_NEWS นักสาธารณสุขลำน้ำเซบาย ลุ่มลำชีชี จี้
ออก พ.ร.บ..
มติชนออนไลน์
สาธารณสุขชุมชนเฮ!! สภาคลอดร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
ไทยรัฐ หมออนามัย เฮ ลั่น สภา ผ่านร่าง พ.ร.บ.สาธารณสุข 382ต่อ0
ฐานเศรษฐกิจ
สภาฯมีมติเอกฉันท์382เสียงผ่านก.ม.วิชาชีพการสาธารณสุขฯ
ผู้จัดการ : สภาฯมติเอกฉันท์ 382 เสียง
เห็นชอบร่างพ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน หมออนามัยที่มาเกาะติด เฮสนั่น!
ขอบพระคุณ ภาพ สวยๆ จาก ลุงหนวด หมออนามัย
สำหรับข้อความด้านบนนั้น
ต้องขอขอบพระคุณข้อมูลจาก เจาะลึกระบบสุขภาพ Hfocus
No comments:
Post a Comment