26มิย.2557: สคร.เขต7อุบล_สุ่มตรวจแอลกอฮอล์และยาสูบ
ณ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร
วันที่ 26มิถุนายน 2557 กิจกรรมภาคบ่าย งานวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2557 วันนี้ผม
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับคณะ ออกสุ่มตรวจ
การดำเนินงานแอลกอฮอล์และยาสูบ ในสถานีบริการน้ำมัน ในเขต อำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร จำนวน 2 แห่ง
ปั้ม PT ทางออกไปยโสธร ถนนแจ้งสนิท
ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ปั้ม บริการน้ำมันนบ้านโซง ตำบลทุ่งมน อำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร
ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ
และผู้ดูแลสถานีบริการน้ำมัน ด้วยดี โดยมีผู้ปฏิบัติงานจาก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดยโสธร สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
สำนักงานควบคุมโรคที่ 7
อุบลราชธานี สำนักงานเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
ขอบพระคุณ คณะทำงานทุกๆท่าน อาทิเช่น
นางสาวกชพร
จันทร์เสละ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายวสันต์
ระดมเล็ก ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
นายทองเจริญ
เอกบุญ ปลัดเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
ร.ต.ท.สมชาย
ศรีวิเศษ รองสารวัตร สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
นางอุบล
พิสัยพันธ์ จพ.สาธารณสุข ชำนาญงาน โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นส.จิราภรณ์
ศิริพัฒน์ นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
จนท.จาก
สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด สำนักงานควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี เป็นต้น
วัตถุประสงค์ การตรวจเยี่ยม เพื่อให้การดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายระดับพื้นที่มีความเข้มแข็ง
ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
เพื่อเชื่อมประสานการดำเนินงานควบคุมการบริโภคสุรา-ยาสูบระหว่างภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ
เพื่อให้ประชาชน
ผู้ประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษพิษภัยของสุรา-ยาสูบ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อควบคุมการบริโภคสุรา-ยาสูบ
ลดจำนวนผู้บริโภค ลดปริมาณการบริโภค และลดผลกระทบด้านต่าง ๆ
2. ขอบเขตการดำเนินงาน
ดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติ 3 ฉบับ ดังนี้
2.1 พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พ.ศ.2551 โดยมีสาระสำคัญ
ประกอบด้วย
มาตรา ๒๖ ให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการควบคุมประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒)
การอื่นตามที่คณะกรรมการควบคุมกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(ฝ่าฝืน
ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๒๗ ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
(๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
(๓) สถานที่ราชการ
ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
(๔) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก (ห้ามขาย
แต่ ดื่ม ในหอพักได้)
(๕) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(ยกเว้น งานแต่งงานเท่านั้นที่สามารถดื่มได้)
(๖)
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
(๗) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
(๘)
สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
(ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๒๘ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัน
หรือเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้
ประกาศดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นใด ๆ เท่าที่จำเป็นไว้ด้วยก็ได้
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการขายของผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือตัวแทนของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไปยังผู้ขายซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา( การขายส่งทำได้)
วันที่ห้ามขาย ปัจจุบัน มี 4 วัน คือวันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชา วันอาฬหบูชา วันเข้าพรรษา
(ยกเว้นการขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม)
สถานที่ห้ามขาย ปัจจุบันห้ามขายในเวลาอื่น นอกจากตั้งแต่เวลา 11.00 – 14.00 และ
เวลา 17.00 – 24.00 น.
(ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๒๙ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
(ฝ่าฝืน ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๓๐ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ
(ฝ่าฝืน ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
(๒) การเร่ขาย
(๓) การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
(๔) ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน
การแสดง การให้บริการการชิงโชคการชิงรางวัล
หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หรือแก่ผู้นำหีบห่อหรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
(๕) โดยแจก แถม ให้
หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่น
หรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี
หรือแจกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
(๖)
โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
(ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
(หอพักไม่ห้ามดื่ม)
(๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
(๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
(๓) สถานที่ราชการ
ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
(๔) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(๕)
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
(๖)
สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
(๗)
สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ซึ่งปัจจุบันมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 3 ฉบับ
๑. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ วันที่ ๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
๒. ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ วันที่ ๒๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ กำหนดว่า “ห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางในขณะขับขี่หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถ
หรือ บนรถ” ( ปัจจุบัน ไม่ครอบคลุมถึง รถไฟ เพราะมี กม.เฉพาะ)
๓. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่องเรื่อง ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ลงวันที่ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
(ฝ่าฝืนมาตรา
๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ)
มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ
โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร
และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม
โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น
เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น
ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร
(ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๒
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
2.2 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535
รวมถึงกฎกระทรวง
และประกาศ เพิ่มเติมที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย
การห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่อายุต่ำกว่า
18 ปี (มาตรา 4)
การห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยใช้เครื่องขาย
(มาตรา 5)
การห้ามขาย
แจก แถม แลกเปลี่ยน ให้ ผลิตภัณฑ์ยาสูบกับสินค้า/บริการอื่นๆหรือในทางกลับกัน (มาตรา 6).
การห้ามแจกจ่ายตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาสูบ
(มาตรา 7)
การห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านทางสื่อต่างๆและสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นการโฆษณาได้
(มาตรา 8)
การห้ามโฆษณาสินค้าที่ใช้ชื่อหรือเครื่องหมายของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
(มาตรา 9)
การห้ามผลิต
นำเข้าเพื่อขาย จ่ายแจก โฆษณาสินค้าเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบ(มาตรา 10)
การแสดงฉลากที่หีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ
และห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มิได้แสดงฉลากตามที่
กำหนด
(มาตรา 12 และ 13 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง)
2.3 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
พ.ศ.2535 และประกาศเพิ่มเติมที่ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย
การจัดสถานที่สาธารณะให้เป็นเขตปลอดบุหรี่และเขตสูบบุหรี่ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
(มาตรา 5 และประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 9,19 และประกาศฯเพิ่มเติม)
การห้ามสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่
(มาตรา 6)
ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นที่ดีจากที่ประชุม
ขายส่ง
ขายได้ตลอด 24
ชั่วโมง ขายส่ง คือ ขายยกลัง
ผู้ซื้อเลือกซองที่มีรูปน่ารักๆ
เช่น รูป อุ้มเด็กเล็ก ไม่เอา รูป เจาะคอ
ผู้ซื้อ
จะนิยมซื้อเป็น มวน มากกว่า และการขายเป็นมวน จะได้กำไรดีกว่า
ยาเส้น
ก็ต้องมีคำเตือนในซองด้วยเสมอ แต่ ปัจจุบัน มีรถเร่ ออกขาย ชั่งขายเป็นขีด หรือแบ่งขายเป็นขีด
ในตลาดสด
ที่ไม่ได้มี
การพิมพ์คำเตือน
กฎหมายอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ พรบ.สรรพสามิต ห้ามแยกจำหน่ายบุหรี่
เป็น มวน
สติ๊กเกอร์
หรือภาพถ่าย ที่ติดหน้าซองบุหรี่ องเป็นภาพสี เป็นภาพขาว ดำ ไม่ได้
รวมทั้งยาเส้นต่างๆด้วย