14มิย.2557: ลดใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช:No using
Agricultural Chemicals_คำเขื่อนแก้ว_จ.ยโสธร
วันที่ 14 มิถุนายน 2557 วันนี้วันเสาร์ พวกเราไปร่วมกันสร้างกุศล ให้กับประชาชนชาวอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผม
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วมกิจกรรมการระดมสมอง
เพื่อลดปัญหาการใช้สารเคมีในเกษตรกร เรื่อง การพัฒนารูปแบบ
การใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช โดยบรณาการ หลักการสิ่งแวดล้อม ศึกษาสำหรับเกษตรกร
อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ณ
ห้องประชุมม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
No
using Agricultural Chemicals Participation of Famers: The Case Study Famers in
Kumkhueankaeow
District Yasothon Province
ประธานการประชุม โดย
นพ.ประกาย วิบูลย์วิภา ตุลาการศาลปกครองอุบลราชธานี
อดีต สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)
วิทยากร โดย ดร.นงนภัส เที่ยงกมล อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ดร.จากมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้มากล้นด้วยความรู้ และประสบการณ์ สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทย
ภาษาจีนและภาษาอังกฤษได้ดี มีผลงานการเขียนและการนำเสนอผลงานวิชาการในระดับสากล
ไปนำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานไปทั่วโลก
วิทยากรผู้ช่วย โดย อาจารย์อังคาร
หรือ ว่าที่ ร.ต.พิชิตชัย คำอินทร์ อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อำนวยการการจัดการประชุม โดย
นายวิทยา เพชรรัตน์
สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
มีผู้ร่วมประชุม ประกอบด้วย จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร โรงพยาบาล
คำเขื่อนแก้วผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง
และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จากทุกตำบลในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร เข้าร่วมประชุม จำนวน 100 คน
วัตถุประสงค์ หลักคือ เป็นการจัดกิจกรรมตามที่คณะกรรมการ
เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ได้ร่วมกัน
จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ให้ เรื่อง การลดการใช้สารเคมี เป็น
เรื่องความสำคัญอันดับ หนึ่ง ที่ต้องร่วมกันทำ ร่วมกัน ทุกภาคีเครือข่าย ทั้งอำเภอ
การค้นหาปัญหาและร่วมกัน หาวิธีการเพื่อลดปัญหาการใช้สารเคมีในเกษตรกร
ภายใต้
Concept
Because of The
imagination is more importance than knowledge.
กิจกรรมภาคเช้า
ให้แต่ละคนในกลุ่ม
วาดภาพฝัน จาก สภาพปัญหา
จากการใช้สารเคมีในอดีต จนถึง ภาพในอนาคตที่พวกเราต้องการ ในอนาคต จากนั้นแต่ละคนอธิบายภาพที่ตนเองวาดให้สมาชิกในกลุ่มฟัง
จากนั้น ให้ วาดภาพเป็นภาพรวมของกลุ่ม
ตั้งชื่อกลุ่ม นำเสนอผลงานกลุ่ม
โดยให้ทุกคน มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานของกลุ่ม
ผลลัพธ์
การนำเสนอผลงานกลุ่มเป็นที่น่าพอใจ
จากการนำเสนอ
เป็นที่น่าภาคภูมิใจ ว่า
ผู้ร่วมประชุมล้วนมีความรู้และประสบการณ์การใช้สารเคมีในการเกษตร
สภาพปัญหาที่ผ่านมาพบว่าทุกคนที่เข้าร่วมประชุมมีประสบการณ์
การใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่วนมากเป็นการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกําจัดศัตรูพืช
สาเหตุที่ใช้ส่วนมากเพราะเป็นความคุ้นเคย
และมีความคิดว่า หากไม่ใช้จะได้ผลผลิตต่ำ
ด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรผู้ร่วมประชุมทุกคนทราบถึงอันตรายที่ได้รับจากการใช้สารเคมี
เช่นทราบว่าเป็นอันตรายต่อผู้อยู่ใกล้ขณะฉีดพ่น ทราบถึงอันตรายต่อผู้ใช้เอง ทราบว่าสารเคมีทางการเกษตรเข้าสู่ร่างกายทางปาก
ทราบว่าสารเคมีทางการเกษตรเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ทราบว่าสารเคมีทางการเกษตรเข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ
ทราบถึงอาการแพ้สารเคมีทางการเกษตร เป็นต้น นอกจากนั้น ยังทราบถึงอาการแพ้สารเคมีทางการเกษตร
ทราบถึงวิธีการทำให้ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร ทราบถึงวิธีการปฏิบัติเวลาที่แพ้สารเคมีทางการเกษตร
ทราบถึงวิธีปฏิบัติเวลาที่สารเคมีทางการเกษตรเปรอะเปื้อนบริเวณที่อยู่อาศัย
ทราบถึงฉลากทีถูกต้องของสารเคมีทางการเกษตร ทราบถึงผลเสียจากการผสมสารเคมีทางการเกษตร
ทราบถึงการเก็บรักษาสารเคมีทางการเกษตร ว่าควรใช้กุญแจทีมีป้ายบอกชัดเจน เป็นต้น
ส่วนประสบการณ์การทําการเกษตรแบบปลอดสารเคมี
หรือการเกษตรแบบพอเพียงนั้นมีน้อยมาก
(
มีที่เป็นรูปธรรมชัดเจนจนสามารถนำผลผลิต มาจำหน่ายได้ คือ บ้านหนองเลิง
ตำบลแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร)
บทสรุปทีประทับใจ
จากสมาชิกชาวเกษตรกรที่มาร่วมประชุม เช่น ..เราทุกคนมีแต่พูดกันมานานแล้วว่า
ให้ช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ
แต่ไม่มีใครที่จะช่วยกันรักษาธรรมชาติกันจริงๆจังๆกันสักที มาวันนี้ เราช่วยกันลงมือทำ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
การตอบคำถาม ที่ประทับใจ จาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)สามารถตอบคำถามเชิงสร้างสรรค์ได้
จากคำถามที่ว่า กรดาษ A4
แผ่นนี้ สามารถใช้ได้กี่หน้า
ตอบ ใช้ได้ 3 หน้า
คือ 2 หน้าปกติ และ เจาะรูกระดาษ ให้คนตาบอด สามารถใช้ได้อีก
1 หน้า
กิจกรรมภาคบ่าย
หากไม่มีขีดจำกัดของความคิด ให้แต่ละคน
วาดภาพฝันจากจินตนาการว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี นี้
เรา
จะคิดอย่างไรให้มีผลผลิตปลอดสารพิษ จะโดยวิธีวิวิสมาหราวิเศษพิสดารอย่างไรก็ได้ สุดแท้แต่จินตนาการของท่าน
เสร็จแล้ว นำมารวมเป็นภาพฝันของกลุ่ม
กติกา การนำเสนอ ให้คัดคนที่พูดไม่เก่ง
ออกมานำเสนอแข่งกัน
นวัตกรรมที่ประทับใจ เช่น แต่ละชุมชน มีบ่อน้ำวิเศษ
ที่ปล่อยน้ำไป สำหรับแปลงเกษตรได้ทั่วถึง น้ำที่ปล่อยออกมาจากบ่อน้ำวิเศษนี้ เป็นน้ำที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นได้ทั้งน้ำและเป็นปุ๋ยบำรุงดินด้วย
อนาคต ให้สังคมมีมาตรการทางสังคมทางบวกสำหรับผู้ที่ไม่ใช้สารเคมี
และ มีมาตรการทางสังคมทางลบสำหรับผู้ที่ใช้ สารเคมี
ปัจจุบันโลกเราเป็นสีแดงด้วยสารพิษ
อยากให้โลกเราเป็นสีเขียว การที่จะเป็นไปได้พวกเราทุกคนต้องช่วยกันเป็นเทวดา
สดให้โลกเราอุดมสมบูรณ์ ครอบครัวอบอุ่น ไร้สารพิษปลอดสารเคมี ทำได้ด้วยมือของเทวดาพวกเราช่วยกัน
วิธีการเปลี่ยนความคิดของคนในชุมชนได้
โดยใช้การเกษตรตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง
ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เทวดาเช่นเราจะทำทันที คือ เราต้องช่วยกันปลูกต้นไม้
ให้มากที่สุด
เราจะไถกลบตอซังเป็นปุ๋ยพืชสด
เราจะไม่เผาตอซังข้าว
เราจะเลี้ยงวัว ควาย ใช้มูลสัตว์
เป็นปุ๋ย แทนปุ๋ยเคมี
ใช้วัวควาย และเล็มหญ้า
แทนการใช้สารเคมีฆ่าหญ้า
เราจะปรับปรุงพันธุ์ข้าว
ให้เป็นพันธุ์ที่ทนต่อสภาพแวดล้อม และมีอายุยืน ปลูก
ครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง เป็นต้น
บทไหว้ครู หลักคิด การเกษตรปลอดภัย ต้องขอบพระคุณ พ่อคำเดื่อง ภาษี : นักปฏิวัติการเกษตรด้วยฟางเส้นเดียว
จาก บ้านเลขที่ 40 ม.8 ตำบลหัวฝาย
กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่จุดประกายให้กับผู้คนได้ โดยท่านพ่อคำเดื่อง ภาษี ทำเกษตรธรรมชาติในพื้นที่ 50 ไร่ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ตั้งแต่การปลูกไผ่ ขุดบ่อเลี้ยงปลา
ปลูกพืชนานาชนิด ซึ่งชีวิตก็อยู่ได้อย่างมีความสุข พ่อคำเดื่องเคยพูดถึงการทำการเกษตรของเมืองไทยว่า
"เราต้องคิดว่าเราคือผู้แพ้สงครามเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีจนดินเสื่อมหมดแล้ว เป็นหนี้สินพ้นตัว หนีมาพื้นแผ่นดินใหม่ มีพริก มะเขือ ผักชนิดต่าง ๆ ไก่บ้าน ปลาในบ่อ เป็นพลทหาร จะระดมพลออกรบเมื่อไหร่ก็ได้ มีพืชสมุนไพรผักพื้นบ้านเป็นยา ใช้รักษายามเจ็บไข้ มีลูกยอ กล้วย เป็นนายสิบ มีไผ่เป็นนายร้อย มียางนา ตะเคียนทอง เป็นนายพัน นายพล โดยมีเจ้าของสวนเป็นจอมทัพ สะสมกำลังอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพียงหนึ่งไร่ ไม่ต้องหวังร่ำรวย เอาแค่พออยู่พอกิน หวังสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมรดกให้ลูกหลาน ทำอย่างนี้เท่านั้นที่จะนำพาชีวิตครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติไปสู่ชัยชนะได้ "
"เราต้องคิดว่าเราคือผู้แพ้สงครามเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีจนดินเสื่อมหมดแล้ว เป็นหนี้สินพ้นตัว หนีมาพื้นแผ่นดินใหม่ มีพริก มะเขือ ผักชนิดต่าง ๆ ไก่บ้าน ปลาในบ่อ เป็นพลทหาร จะระดมพลออกรบเมื่อไหร่ก็ได้ มีพืชสมุนไพรผักพื้นบ้านเป็นยา ใช้รักษายามเจ็บไข้ มีลูกยอ กล้วย เป็นนายสิบ มีไผ่เป็นนายร้อย มียางนา ตะเคียนทอง เป็นนายพัน นายพล โดยมีเจ้าของสวนเป็นจอมทัพ สะสมกำลังอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพียงหนึ่งไร่ ไม่ต้องหวังร่ำรวย เอาแค่พออยู่พอกิน หวังสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมรดกให้ลูกหลาน ทำอย่างนี้เท่านั้นที่จะนำพาชีวิตครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติไปสู่ชัยชนะได้ "
No comments:
Post a Comment