6/10/14

9 มิย2557ก.สาธารณสุข_เพิ่ม_เติมประสิทธิภาพ43DHS_6BLOCK_6blog_building_block

9 มิย2557ก.สาธารณสุข_เพิ่ม_เติมประสิทธิภาพ43DHS_6BLOCK_6blog_building_block
วันที่ 6 มิถุนายน 2557 วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
เข้า ร่วมประชุม เชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างกลไกระดับเขต ในการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาพอำเภอ
สำหรับกลุ่มเครือข่ายนำร่อง 43 แห่ง (Phase 1 และ Phase 2) ณ โรงแรม ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
ประธานโดย น.พ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพที่  10  
กล่าวรายงานและอำนวยการประชุมโดย  นพ.โกเมนทร์ ทิวทอง รองผู้อำนวยการสำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี นพ.ปวิตร วณิชชานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละงู
กลุ่มเป้าหมาย จาก เครือข่ายสุขภาพอำเภอ สำหรับกลุ่มเครือข่ายนำร่อง 43 แห่ง (Phase 1 และ Phase 2)
ทั้งนี้ การพัฒนา District Health System : DHS ในระยะแรก Phase 1 จำนวน 21 อำเภอ    
Phase 2 เกิดจาก อำเภอที่เป็น คู่ Buddy จาก Phase 1 อีก 22 อำเภอ รวมเป็น 43 อำเภอ
จากนโยบายการทำงาน ของกระทรวงสาธารณสุข ในยุค คสช. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ นี้ มีเป้าหมาย คือ Better Service   คือ เน้นการบริการ ที่ มาได้พบหมอ รอไม่นาน ยามาตรฐานเดียวกัน  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นและเป็นผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือ โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ซึ่ง ลำพังโรงพยาบาลชุมชนคงจะทำภารกิจนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและภาคีเครือข่ายในชุมชน  ฉะนั้น DHS จึงเป็นกลไก ที่สำคัญ ในการปฏิบัติงานให้ประชาชนได้รับ Better Service   มาได้พบหมอ รอไม่นาน ยามาตรฐานเดียวกัน  ต่อไป น.พ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพที่  10  
แรงบันดาลใจการทำงานเพื่อสังคม
องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านเปรียบเสมือนฟ้า ยังลงนั่งประทับที่พื้น ติดดิน แล้วตัวเราหละ เป็นฟ้าได้หรือไม่ ผมว่า เป็นไปได้อย่างมาก ก็แค่ยอดไม้ แล้วทำไมเรา ขะเข้าถึงเข้าใกล้ประชาชนไม่ได้
น.พ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ครูผู้นำ จากแดนน่าน

District Health System : DHS คืออะไร
District Health System : DHS คือแนวคิดในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยให้ความสำคัญ กับระบบสุขภาพระดับอำเภอ ในฐานะจุดคานงัด ของการพัฒนา เพื่อสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ ให้เข้มแข็ง ปฐมภูมิ คือ เครือข่ายระดับอำเภอ  ( เพื่อจัดบริการให้สำเร็จตามหลักการปฐมภูมิ 1 A 4 C  หรือ Accessibility  Comprehensive Community Continuity Coordinating คำเขื่อนแก้ว แปลงให้จำง่ายๆว่า 3CHAI โดย Comprehensive นั้น แยกออกเป็น Holistic และ Integrate)
District Health System: DHS คือการทำงานร่วมกันของ รพช.+สสอ.+รพสต.+อปท.+ประชาสังคม
โดยมีเป้าหมายเดียวกัน ด้วยการบูรณาการทรัพยากร ภายใต้บริบทของพืนที่ ผ่านกระบวนการชื่นชมในคุณค่าซึ่งกันและกัน คือ ทำให้ประชาชนและชุมชน สมารถพึ่งตนเองได้ และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมีเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ที่มีคุณภาพ และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
            District Health System: DHS แตกต่างจากการพัฒนาอื่นๆ อย่างไร
            คือนโยบาย ที่พัฒนาจากระดับปฏิบัติการ ( Bottom – up policy ) ที่ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จริง
( Practice and policy link) ที่มากกว่า การทำงานเพื่อ 3 1 น. ( ประชุม ประกวด ประเมิน นิเทศ) โดยมีการร่วมเรียนรู้ด้วยกัน ภายใต้ Concept เรียนในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่เรียน
District Health System: DHS เป็นจุดที่เหมาะสม ในการเชื่อมต่อ การดำเนินงาน ระหว่างนโยบาย กับผู้ปฏิบัติ ( Top down and Bottom up implementation
District Health System: DHS เป็นจุดบริหารจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป









กรอบระบบสุขภาพ: องค์ประกอบที่พึงประสงค์ ยึดตาม The Six Building Blocks of a Health System and Desirable Attributes  The WHO Health System Framework 6 Building Blocks 6blog 6block



            กิจกรรม เนื้อหาดีๆ จากที่ประชุม
การอภิปราย มุมมอง มุมพัฒนา เครือข่ายสุขภาพพระดับอำเภอ 4 รูปแบบ
ดำเนินรายการโดย นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี
วิทยากรโดย นพ.โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดน่าน
            Shift Paradigm เป็น โรงพยาบาลที่ไม่มีหอผู้ป่วยใน
            ต้องสนับสนุน งบประมาณ ตามรูปแบบใหม่ เพื่อไม่ให้น้ำไหลไปตามคลองเดิมที่เราขุดล่อเอาไว้
นพ.สมชาย ศรีสมบัณฑิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตากใบ จังหวัดยะลา
            หมอ 7 คน โรงพยาบาลตากใบ แต่ละคน ต้องออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย อย่างน้อย คนละ 1 ครั้ง ต่อเดือน
            หาส่วนร่วม จากคนที่อยากจะร่วมกับเราก่อน แล้วขยายผลออกไป
เริ่มจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ จัดตั้งใน โรงพยาบาลตากใบ โดยร่วมกับ ศูนย์การศึกษาพิเศษ และเทศบาลเมืองตากใบ  จากนั้น จึงขยายผลไปสู่ อบต.ต่างๆ และขยายงาน ออกไป ในเรื่องอื่นๆ ต่อไป
            เด็กพิการดูแลที่บ้าน ข้อเสียคือ  1. เด็ก ไม่พัฒนาตนเองพ่อแม่ห่วงลูก ต้องดูแล เด็กมีผู้ดูแล
                        ข้อเสีย 2. พ่อแม่ไม่ได้ไปทำงาน สูญเสียรายได้ ส่งผลให้ด้านอื่นๆไม่ดี ตามมา
            ข้อดีคือ  1. เด็กพัฒนาตนเอง เพราะ เด็กมาเข้าศูนย์ ต้องช่วยตนเอง แล้ว มีพัฒนาการได้เร็ว              ข้อเสีย 2. พ่อแม่มีเวลาไปทำงาน มีรายได้ บางราย สร้างบ้านได้ ในเวลา 1 ปี
หากมีข้อจำกัด เรื่อง งบประมาณน้อย ก็ให้ นายก เป็นประธาน ข้อดีคือ นายกฯก็จะหา งปม. มาเพิ่มได้ เป็นต้น

นพ.สายัณห์ เรืองกิตติกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลองครักษ์  จังหวัดลพบุรี
            ปล่อยวาง เพื่อวางแผน ( ให้สาธารณสุขอำเภอเป็นประธาน CUP)
            OK Model Model ที่ OK
            สร้างทีมแรงบันดาลใจ ที่เป็นพลัง เป็นคำสั่งให้ตนเองทำงาน
            เมื่อกลุ่มการฯ รักการเยี่ยมบ้าน เพราะกลุ่มการมีคนมากที่สุด การดูแลคนไข้ ที่บ้านไม่ใช่งานของกลุ่มเวชฯเพียงเท่านั้น
            หารูปแบบ ที่เหมาะสมกับตนเอง เจงจิสข่าน ใช้ม้า อังกฤษ ใช้เรือ
            ปลูกถั่วงอก ใช้ เวลา 4-5 วัน ปลูกข้าว 4-5 เดือน
            ปลูกต้นสักทอง 18 ปี         ยางพารา 7-8 ปี
พญ.ผกามาศ เพชรพงษ์ อำนวยการโรงพยาบาลวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
            แผนงานโครงการเด่น เพื่อ 80 ปี ยังแจ๋ว
            ปัจจัยรอบตัวทุกอย่าง ของเราล้วนเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพทั้งสิ้น Health Determinant

ผู้ร่วมประชุม จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายกันตภณ รัตนปัญญา หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
แพทย์หญิง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
นางรังสรรค์ คีละลาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนากอก อำเภอเลิงนกทา
นายประเสริฐ ประสมรักษ์ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
บันทึกเพิ่มเติม คู่ Buddy การพัฒนา District Health System : DHS  ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร คือ เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ
ทั้งนี้ ต้องขอบพระคุณ พญ.รัชฎาพร รุญเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษและคณะ ได้แนะนำและชักชวน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เข้าร่วมกระบวนการพัฒนาตามโครงการดีๆนี้ เมื่อปี 2555
ระดมสมอง ทิศทางการพัฒนา District Health System : DHS
โดยนายแพทย์อภิชาติ รอดสม ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อดีต นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา และ อดีต นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กาญจนบุรี
นพ.สรชาติ ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  
จุดประกาย สิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วยมือ ของพวกเราทุกส่วน  ทานกล้วย ดื่มน้ำมะพร้าว ชิงเงินล้าน
            เช่น อำเภอเขียว   อำเภอ Green      สื่อสารไปพร้อมกัน เรื่อง Health Educationต้องเริ่มต้นที่ นักเรียน
ปลูกกล้วยน้ำหว้า ทุกหลังคาเรือน     ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ให้ทุกคนดื่ม น้ำมะพร้าว ซึ่งเป็นน้ำดื่มทีสะอาด ที่สุดจากธรรมชาติ ให้ทุกคนดื่มแทน เครื่องดื่ม น้ำอัดลมต่างๆ แล้ว ภาครัฐเราสนับสนุน จับสลาก ประกวด ต้นมะพร้าวน้ำหอม รับรางวัล ควาย 1 ตัว วัว 1ตัว เหมือเขาชิงฝาเครื่องดื่ม ก็จะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม เป็นต้น
             หรือการจัดตั้ง ในรูปแบบ ของ Moral Health Team    Moral Hospital

รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง มหาวิทยาลัยมหิดล
            การแพทย์และสาธารณสุข ไม่ใช่ เพียงวิชาชีพ และเครื่องมือทางการแพทย์ ไม่ใช่เรื่องของสหวิชาชีพ แต่เป็นเรื่องของ สหอาชีพ แต่การแพทย์และสาธารณสุขเป็นระบบใหญ่ที่สามารถสร้างสุขภาวะ ให้กับประชาชน ภายใต้บรรยากาศของสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน มีสุขทั้งผู้ป่วยมีความสุข คนทำงานมีความสุข ประชาชนมีความสุข เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ภายใต้บริบทของปัญหาเป็นฐานในการทำงานร่วมกัน และ ทำงานด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นร่วมกัน
            งบประมาณค่ายาสำคัญไหม  ต้องไม่ลืมความจริงว่า ต้นทุนของชาวบ้าน มีค่ามากกว่าต้นทุนค่ายาของโรงพยาบาลเรามาก
นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิตร      ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย
            จากสมรรถนะหลักของ โรงพยาบาลชุมชน คือการทำงานกับชุมชนเพื่อสนองตอบปัญหาของชุมชน
ภายใต้บริบทของตนเอง โดยมีระบบการทำงาน กับระบวนการทำงาน ที่มีมาตรฐาน เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน
            การทำงาน HA ซึ่งพวกเรามองว่ายากแล้ว District Health System: DHS จึงเป็นการทำงานที่ยากและซับซ้อน มากกว่า การทำงาน HA  เพราะมีวงการทำงานที่มองออกไปนอกองค์กรของเรา 
สรุปการดำเนินงาน District Health System : DHS ที่ผ่านมา
นพ.เดชา แซ่หลี   ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกะพ้อ
            ระบบที่เกิดขึ้น เป็นคุณลักษณะของการมีชีวิต  Single Management Team  ทีมผู้บริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอควรเป็น หนึ่งเดียว
           
การนัดหมายล่วงหน้า
วันที่ 18 มิถุนายน 2557 ให้ คณะเข้าร่วมประชุม ผู้ประสานงานระดับเขต เข้าร่วมประชุม อีก

นานาทรรศนะ แนวทางการทบทวน ประเมิน เพื่อการพัฒนาต่อยอด DHS – PCA
            การประเมินคุณภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ หรือ คปสอ. หรือ CUP ก่อนหน้านี้มีรูปแบบการประเมินที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบ Check List ว่า มี/ไม่มี, ทำ/ไม่ทำ, ตัวชี้วัดผ่าน/ไม่ผ่านเกณฑ์ โดยมักไม่มองว่า เพราะอะไรจึงเกิดปรากฏการณ์ของการ มี/ไม่มี, ทำ/ไม่ทำ, ตัวชี้วัดผ่าน/ไม่ผ่านเกณฑ์ 
เพราะอะไรจึงควรที่จะมีการมองให้ลึกลงไปกว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของการ มี/ไม่มี, ทำ/ไม่ทำ, ตัวชี้วัดผ่าน/ไม่ผ่านเกณฑ์  หลายครั้งเมื่อพบว่า เครือข่ายบริการปฐมภูมิหนึ่ง ไม่มี, ไม่ทำ และไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด  การมองให้ลึกลงไปว่า อะไรทำให้เกิดปรากฎการณ์เช่นนี้ จะทำให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริงที่พื้นที่กำลังเผชิญอยู่ อาจนำมาสู่การพูดคุยหาทางออกร่วมกันระหว่างพื้นที่และผู้ประเมินหรือผู้เยี่ยมสำรวจก็เป็นได้ การมองให้ลึกไปกว่าสิ่งที่ผู้ประเมินหรือผู้เยี่ยมสำรวจเห็น อาจนำมาซึ่งการรับรู้ที่นำไปสู่ความเข้าใจในความเป็นตัวตนและสถานการณ์ของพื้นที่นั้นๆ อย่างแท้จริง  ท่าทีที่แสดงถึงการรับรู้และเข้าใจความเป็นตัวตนที่แท้จริงของพื้นที่นั้นๆ ว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของแต่ละพื้นที่ในสถานการณ์ที่เขาติดขัด อัตคัด ลำบาก  เป็นกระบวนการหนึ่งในการประเมินตามแนวทางของ DHS – PCA  เพราะก่อนที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะไปดูแลประชาชน เจ้าหน้าที่เหล่านั้นควรจะได้รับการดูแลก่อน  การเข้าใจและรับรู้สิ่งที่เขาดำรงอยู่ เป็นกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า การดูแลกันและกัน (Caring) ที่ไม่ใช่การตัดสินว่า ไม่มี, ไม่ทำ และไม่ผ่านเกณฑ์
ส่วนในสถานการณ์ที่เครือข่ายบริการปฐมภูมินั้นๆ สามารถดำเนินการขับเคลื่อนงานต่างๆ ได้ จนมี, ทำ และผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดต่างๆ นั้น การมองให้ลึกไปกว่าปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ยังคงสำคัญเช่นกัน ว่าเขาลำบากอย่างไร ต้องใช้ความพยายามอย่างไร เขาผ่านอะไรมาบ้างจนมาเป็นเขาในทุกวันนี้ การมองและให้ความสำคัญกับที่มาที่ไปเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญของการให้คุณค่า (Appreciation) กับความพยายาม ความลำบาก ความสามารถที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ของการมี, ทำ และผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดต่างๆ

กล่าวโดยสรุป  แนวทางการทบทวน DHS – PCA นี้  เน้นแนวทางการเยี่ยมสำรวจด้วยกระบวนการดูแล (Caring) และ การให้คุณค่า (Appreciation) ในสิ่งที่เครือข่ายบริการปฐมภูมินั้นๆ เป็นอยู่  ไม่ใช่การตัดสิน หรือเพียงแค่ชื่นชมโดยปราศจากการให้คุณค่า เหล่านี้คือเจตจำนงที่แท้จริงของการทบทวนหรือเยี่ยมสำรวจตามแนวทางของ DHS PCA  คณะผู้ทบทวนหรือผู้เยี่ยมสำรวจมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าให้พื้นที่เครือข่ายบริการปฐมภูมิทุกพื้นที่วางใจ และสบายใจ ไม่ต้องเปลี่ยนวิถีและความเป็นตัวตนที่เป็นอยู่เพื่อตอบโจทย์ของผู้ทบทวนหรือผู้เยี่ยมสำรวจ  ขอให้พื้นที่ภูมิใจในสิ่งที่เป็นตัวเรา และขอให้ผู้ทบทวนและผู้เยี่ยมสำรวจได้เห็น และรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ด้วยการนำเสนอข้อมูลและสถานการณ์จริงของพื้นที่อย่างเต็มภาคภูมิ

No comments:

Post a Comment