6/10/14

5 มิย.2557 QRTยโสธรสรุปผลการเยี่ยมสำรวจ และประเมินรับรองPCAครั้งที่1

5 มิย.2557 QRTยโสธรสรุปผลการเยี่ยมสำรวจ และประเมินรับรองPCAครั้งที่1
วันที่ 5 มิถุนายน 2557 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม  สรุปผลการเยี่ยมสำรวจ และประเมินรับรองPCAครั้งที่1 QRT ยโสธร
            ประธานการประชุมโดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)
            ดำเนินการประชุม โดย นางสุวรรณี   แสนสุข   นางรักชนก น้อยอาษา และคณะกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
สรุปโดยย่อๆ จากเวทีการประชุม ในวันนี้
            สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือพวกเราต้องมีบทบาท ในการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการพัฒนาด้วยตัวของ รพ.สต.และทีมงาน เพื่อส่งมอบคุณภาพบริการที่ดี ให้กับ ผู้รับบริการในทุกระบบงาน ต่อไป
มติที่ประชุม
            ให้ PCA แทรกไปในทุกงานงานปกติ ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
            ให้ ผู้บริหารทุกระดับ FOCUS การพัฒนาไปที่การพัฒนาคุณภาพ เพื่อสนับสนุน ให้ PCA ก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง
            สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ควรสนับสนุนระบบงานสำคัญ 2 ระบบ เพื่อขับเคลื่อนในภาพรวม ทั้งจังหวัด คือ ระบบ IC และ ระบบ ยา
            ให้ทุกอำเภอ ประเมินตนเอง จำนวน ร้อยละ 50 ของ รพ.สต.
           

ข้อเสนอ จาก QRT โซนใต้ ทีมที่ 1 ภาพรวม  ทั้ง 3  แห่ง  นำเสนอโดย นายกัณตภณ รัตนปัญญา หน.กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ  ภก.กฤษฎา  จักรไชย เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ห้องแซง อำเภอเลิงนกทา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแดง อำเภอ กุดชุม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส้มผ่อ อำเภอ ไทยเจริญ
ข้อเสนอ จาก QRT โซนใต้ ทีมที่ 2 นำเสนอโดย นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และ นางภัทรวรรณ จันทร์สว่าง โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นากอก อำเภอเลิงนกทา
ตำบลนากอก เป็นพื้นที่ ต้นแบบ การดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาว Long Term Care ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับ เขต 10
ตำบลนากอก เป็นตำบลต้นแบบ การดำเนินงานระบบหมอครอบครัว อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ตำบลนากอก มีการดูแลความสะอาดและสภาพแวดล้อม ในหมู่บ้าน ที่สะอาด เป็นระเบียบ
ระบบงานคุณภาพ ที่สามารถเป็นตัวอย่างได้ดี ดังนี้
ระบบ การควบคุมการติดเชื้อ Infection Control:IC   ด้วยมีความเข้าใจกันทั้งทีมงาน ผู้นำสามารถสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคน รับทราบและเข้าใจในมาตรฐาน ตั้งแต่ ผอ.รังสรรค์ ผอ.รพ.สต.นากอก ไปยังเจ้าหน้าที่ทุกคน จนถึง คนงานทำความสะอาด
ผลลัพธ์ ที่ดีที่สุด ในเชิงประจักษ์คือ ความสะอาด การใส่ใจในคุณภาพ และการปรับปรุง ห้อง ER และห้อง Supply ที่สามารถเป็นตัวอย่างแก่แห่งอื่นๆได้
ระบบยา ที่มีคุณภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาโส่ อำเภอ กุดชุม
ข้อเสนอ จาก QRT โซนกลางภาพรวม  ทั้ง 5 แห่ง  นำเสนอโดย นายประดิษฐ ภูมิแสน ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอทรายมูล และ นางพรพิไล วรรณสัมผัส ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนเมือง
            กระจายแนวคิด PCA สู่บุคลากรทุกระดับ
            กำหนดวิสัยทัศน์ ของ รพ.สต.เอง
OFI การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ของ รพ.สต.เอง ร่วมกับเครือข่าย
            หลักฐานเชิงประจักษ์ จากการปฏิบัติงาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชัยชนะ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หัวดอน
            การพัฒนา 10 กระบวนงาน ที่สำคัญ
            การสนับสนุนที่ดีจาก CUP ระบบยา
            ขับเคลื่อนโดย รพ.สต.ต้นแบบ คือ ราชมุณี แล้ว ขยายไปสู่แห่งอื่นๆ
OFI การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ของ รพ.สต.เอง ร่วมกับเครือข่าย
            หลักฐานเชิงประจักษ์ จากการปฏิบัติงาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนทัน
กระจายแนวคิด PCA สู่บุคลากรทุกระดับ
พัฒนากระบวนงาน 1 กระบวนงาน จนสุดกระบวนงานในทุกหมวด
OFI การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ของ รพ.สต.เอง ร่วมกับเครือข่าย
            หลักฐานเชิงประจักษ์ จากการปฏิบัติงาน
            การพัฒนาระบบงานอื่นๆ

ข้อเสนอ จาก QRT โซนเหนือ ภาพรวม  ทั้ง 3 แห่ง  นำเสนอโดย นายประเสริฐ ประสมรักษ์ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
            มีร่องรอยการดำเนินงาน ในการปรับปรุงกระบวนงานต่างๆ
            มี เอกสาร ร่องรอย จากการการดำเนินงาน เป็นรูปธรรม
OFI       ต้องเสนอให้เห็นถึงCUP มีบทบาทในการสนับสนุน การพัฒนา PCA ในกระบวนงานต่างๆ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมะไฟ  อำเภอ ทรายมูล
            สวยงาม ภูมิสถาปัตย์ สามารถเป็นได้ทั้ง ที่ทำงานที่พักผ่อนหย่อนใจ สามารถเป็นแบบอย่างได้
            การพัฒนาบุคลากรภายในจากการส่งบุคลากรไปเรียนรู้จากพื้นที่  Best Practice ในงานต่างๆ
            การพัฒนาศักยภาพ อสม . จนสามารถเป็น ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ผู้ช่วย ทันตกรรมได้
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยศ  อำเภอ เมืองยโสธร
            จำลอง OPD รพ.ยส. มาจัดบริการ ณ OPD PCU เมืองยศ
            OFI การปฏิสัมพันธ์ กับผู้รับบริการ ที่มากกว่า OPD
            การทดสอบ Celibate  ทั้งเครื่องมือ และ บุคลากรด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนางโอก  อำเภอ เมืองยโสธร
            ความละเอียด ในการจัดบริการที่ครอบคลุมทุกระบบงาน

ข้อเสนอ จาก QRT โซนกลาง โซนกลาง นำเสนอ โดย นางวิลาวรรณ ไชยมี ผอ.รพ.สต.กุดชุม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระจาย  อำเภอ ป่าติ้ว
             ผู้นำและทีม มีความมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาตนเอง
            มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ของท้องถิ่นตนเอง
            มี Best Practice การปฏิบัติงานที่ดี  หลายๆ ด้าน
OFI ควรเขียนกระบวนงานการพัฒนาจากการปฏิบัติงานของตนเอง และ เขียนให้เห็นถึง ผลลัพธ์ และโอกาสการพัฒนา
             ความเสี่ยง ความปลอดภัย จากการออกปฏิบัติงาน นอกเวลาราชการ โยเฉพาะผู้หญิง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามเพีย  อำเภอ เมืองยโสธร
บทบาทของ CUP ในการสนับสนุน ระบบ IC ที่ดี มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ของท้องถิ่นตนเอง
            มีการต่อยอด การเขียนเอกสาร จก File ต้นฉบับ ในรูปแบบของตนเอง
OFI ควรเขียนกระบวนงานการพัฒนาจากการปฏิบัติงานของตนเอง และ เขียนให้เห็นถึง ผลลัพธ์ และโอกาสการพัฒนา

ระบบความปลอดภัย จากการปรับปรุงระบบโครงสร้างต่างๆ

No comments:

Post a Comment