3/1/09

นายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวสุนทรพจน์เปิดอาเซียน


วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552: นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าว สุนทรพจน์เปิดอาเซียน หวังสันติภาพในภูมิภาค
เ วลา 14.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานอาเซียน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งมีผู้นำรัฐบาลจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศมาร่วมประชุมกัน ว่า เมื่อกว่า 4 ทศวรรษที่แล้ว รัฐบุรุษผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนได้พบกันที่แหลมแท่น ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลใน จ.ชลบุรี อีกฟากหนึ่งของอ่าวไทยจากบริเวณที่พวกเราอยู่ในปัจจุบัน ท่านเหล่านั้นได้รับแรงจูงใจจาก "ความฝัน" ร่วมกัน "ความฝัน" ที่จะรวมประเทศในภูมิภาคบนเส้นทางที่มุ่งไปสู่ประชาคม ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสันติ สมานฉันท์ และมีความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้น เมื่อมีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2510 อาเซียนจึงได้ถือกำเนิดขึ้น

วันนี้ อาเซียนได้หวนคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ในวาระที่เรามาประชุมกันที่ชะอำ-หัวหิน และเรามาอยู่ร่วมกัน ณ ที่นี้ เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานต่อความสำเร็จของผลงานของผู้ก่อตั้งอาเซียน

จากแหลมแท่นสู่ชะอำ-หัวหิน เราได้พัฒนาสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือ โดยการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และการทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายร่วมกัน ในยามวิกฤติ เราได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา ในยามสงบ เราได้สร้างโอกาสสำหรับประชาชน ไม่ว่าปัญหาท้าทายจะมาในรูปแบบใด ทั้งความขัดแย้งจากสงครามเย็น หรือวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 พวกเราในอาเซียนได้ฟันฝ่าปัญหาร่วมกัน

จาก 5 ประเทศ เป็น 10 อาเซียนของเราแม้มีความหลากหลาย แต่ก็มีเป้าหมายร่วมกัน ที่ทำให้เรารวมตัวเป็นประชาคมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความห่วงใยซึ่งกันและกัน และตอบสนองต่อส่วนที่สำคัญที่สุด นั่นคือประชาชนอาเซียน



วันนี้ เราเสริมสร้างรากฐานของประชาคมอาเซียน เรามาร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นครั้งแรกภายใต้กฎบัตรอาเซียน ซึ่งเมื่อรวมกับแผนงานสำหรับการพัฒนาของทั้งสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน จะเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวกำหนดอนาคตของพวกเราร่วมกัน ที่สำคัญที่สุด ในการก้าวไปข้างหน้า อาเซียนจะให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นอันดับแรก ทั้งในวิสัยทัศน์ นโยบาย และในแผนงานของอาเซียน

นั่นคือเหตุผลที่ไทยได้เลือกคำขวัญสำหรับการประชุมสุดยอดครั้งนี้ว่า "กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน" เพื่อเน้นถึงรากฐานปรัชญาของเราในการทำให้ประชาชนเป็นผู้ได้รับประโยชน์จาก ประชาคมอาเซียน รวมทั้งเพื่อสะท้อนถึงข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่ว่า ประชาชนต้องการแสดงออกถึงข้อเรียกร้องมากขึ้น และดำเนินการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์อย่างแข็งขันมากขึ้น

ภายหลังการมีผลใช้บังคับของกฎบัตรอาเซียน ประชาชนอาเซียนกว่า 570 ล้านคน ได้ตื่นตัวขึ้น พวกเขาต้องการส่วนแบ่ง ความเป็นเจ้าของ และบทบาทของตนในกระบวนการอาเซียน การกำหนดแนวทางในการจัดการประเด็นใหม่ ๆ เหล่านี้ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเรา

การสร้างภูมิภาคแห่งสันติภาพและความผาสุก

ขณะที่เราตั้งเป้าหมายจะสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 เราต้องพยายามส่งเสริมและเสริมสร้างสภาวะที่เอื้อต่อสันติภาพและความผาสุก ของภูมิภาค อาเซียนจะเป็นจุดศูนย์กลางระหว่างขั้วทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ที่มีเอเชียตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ด้านหนึ่งและเอเชียใต้อยู่อีกด้านหนึ่ง สิ่งท้าทายในการบรรลุเป้าหมายคือจะทำอย่างไรให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางของ โครงสร้างทางการเมืองของภูมิภาคต่อไป
วิธีหนึ่งคือการเสริมสร้างประชาคมอาเซียน

เราต้องพยายามอย่างแข็งขันในการสร้างประชาคมของเรา เพื่อให้เราสามารถเป็นกำลังหลักในการสร้างระบบภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ

สำหรับประชาคมการเมืองความมั่นคง เราต้องพยายามสร้างบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยยกระดับความเชื่อมั่นและความเข้าใจกันระหว่างประชาชนภายในภูมิภาค

สำหรับประชาคมเศรษฐกิจ เราต้องเร่งสร้างเขตเศรษฐกิจและฐานผลิตร่วมของอาเซียนที่สามารถดึงดูดการค้าลงทุนจากต่างประเทศได้

สำหรับประชาคมสังคมวัฒนธรรม เราต้องพยายามส่งเสริมประชาคมที่เอื้ออาทรและแบ่งบัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนของเราสามารถใช้ชีวิตอย่างมั่นคง

นอกจากนี้แล้ว เราต้องทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่บนกฎกติกาและในฐานะที่อาเซียนเป็น องค์กรที่มีนิติฐานะ อาเซียนต้องมีความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส โดยมีการประนีประนอม การตรวจสอบ และการเจรจาในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นมาตรฐานขององค์กร

เราต้องทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในเรื่องการส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานหนึ่งใน เรื่องสำคัญของประชาคมอาเซียน การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนภายในปีนี้เป็นครั้งแรกของอาเซียนมีกลไก และเป็นก้าวสำคัญของการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค

เราต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งเมื่อเช้านี้เราได้รับฟังความคิดเห็นของผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน ผู้นำเยาวชน ผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจ ผมจึงหวังว่าการประชุมสุดยอดครั้งนี้จะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญในความ พยายามสร้างความรู้สึกของความเป็น "ราษฎรอาเซียน" และแปลงความหวังของประชาชนให้เป็นผลที่เป็นรูปธรรม

อีกวิธีหนึ่งคือการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค

ในขณะที่เราเสริมสร้างความเข้มแข็งภายใน การสร้างเสริมปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค เรายังต้องเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับโลกภายนอก และเพิ่มพูนบทบาทและความร่วมมือของอาเซียนในกรอบความร่วมมือและกระบวนการใน ระดับภูมิภาคต่างๆ ที่จะนำประโยชน์มาสู่ทุกประเทศ

เราจำเป็นต้องย้ำบทบาทของอาเซียนในโครงสร้างของภูมิภาคที่มีพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของภูมิภาคในความเป็นหุ้นส่วนกับ ประเทศในเอเชียตะวันออกอื่นๆ และร่วมมือกับมิตรของเราเพื่อแก้ไขประเด็นเร่งด่วนที่มีผลกระทบต่อประชาชน

การประชุมสุดยอดครั้งนี้เป็นเพียงภาคแรก ในภาคสอง ไทยจะจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสามและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกต่อ ไปในปีนี้ ซึ่งไทยกำลังหารือกับประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดวันประชุม นอกจากนี้ เราจะเป็นประธานการประชุมอาเซียนว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกับคู่เจรจา (พีเอ็มซี) ในเดือน ก.ค.และได้กำหนดจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ในเดือน ต.ค. ศกนี้

ความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับนอกภูมิภาคเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในโลก ที่โลกาภิวัฒน์และพึ่งพาซึ่งกันและกัน ไม่มีใครอยู่คนเดียวในโลก ไม่มีภูมิภาคใดหรือประเทศใดที่อยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว เรามีความเกี่ยวเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของโลกทั้งใบนี้ หากอยู่เพียงคนเดียว เราก็จะอ่อนแอ

ดังนั้น อาเซียนจึงยื่นมือที่เป็นมิตรและความเป็นหุ้นส่วนให้กับคู่เจรจาและประเทศ นอกภูมิภาคโดยเท่าเทียมกัน เพื่อสร้างภูมิภาคให้เป็นที่ที่ดีกว่าสำหรับทุกคน ในการนี้ เราจึงขอต้อนรับทูตประจำอาเซียนจากประเทศต่างๆ ซึ่งอยู่กับเราในที่นี้ เพื่อยืนยันความสนับสนุนและความร่วมมือในความพยายามของเราที่จะสร้างประชาคม อาเซียน

การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาคในปัจจุบัน

นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ต่อว่า อยากบอกมิตรและหุ้นส่วนของเราทั่วโลก ว่าโปรดมั่นใจว่าอาเซียนจะเป็นหุ้นส่วนที่พึ่งพาได้ เพื่อสันติภาพและความผาสุก เพื่อประชาคมเศรษฐกิจที่รุ่งเรื่อง และสังคมที่มีน้ำใจ และที่สำคัญที่สุดเป็นเพื่อนที่จริงใจกับทุกคน เมื่ออาเซียนได้จัดตั้งขึ้น บรรยากาศในภูมิภาคถูกแวดล้อมด้วยความขัดแย้ง และครอบคลุมโดยเงามืดของสงครามเย็น วันนี้ เราต้องเผชิญกับความท้าทายที่แตกต่างจากเดิม สิ่งที่อาเซียนเผชิญอยู่เป็นความท้าทายรูปแบบใหม่และส่งผลกระทบต่อผู้คนโดย ไม่ถูกกีดกันโดยพรมแดน

ตั้งแต่ผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนความท้าทายจากความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ปัญหาข้ามพรมแดน ภัยพิบัติธรรมชาติและโรคระบาด ไปจนถึงปัญหาต่อความมั่นคงมนุษย์เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบขนสิ่งเสพติด ตลอดจนเหยื่อการค้ามนุษย์และการก่อการร้าย อาเซียนจะต้องตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีต่อสิ่งท้าทายในยุค ปัจจุบัน จึงยินดีที่ทราบผลของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนซึ่งพึ่งจบลงที่ พัทยา ที่ประชุมฯ ได้เน้นย้ำความสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาคกลาโหมและองค์กรภาคประชา สังคม ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ของทางทหารในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการ บรรเทาภัยพิบัติ

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า หวังจากการประชุมนี้ และการประชุมอื่นๆ ว่า อาเซียนจะสามารถพัฒนาทีมเพื่อตอบสนองต่อภัยพิบัติ ที่มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนมาตรฐานสำหรับเพื่อให้อาเซียนสามารถ ตอบสนองต่อภัยพิบัติใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติหรือโรคระบาด โดยประสานงานและทำงานอย่างใกล้ชิดกับเลขาธิการอาเซียนและหุ้นส่วนอื่นๆ ในภูมิภาค และยินดีกับความก้าวหน้าในการหารือระหว่างรัฐมนตรีคลังอาเซียนและประเทศบวกสามที่ภูเก็ตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งได้ผลักดันในข้อริเริ่มเชียงใหม่มีลักษณะเป็นพหุภาคี และมาตรการอื่นๆ เพื่อรับมือกับวิกฤตการทางการเงินโลกและผลกระทบที่มีต่อภูมิภาค หวังว่า จากการประชุมที่ภูเก็ต และการประชุมสุดยอดครั้งนี้ จะสามารถตกลงกันในข้อริเริ่มต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในระดับภูมิภาค รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเพื่อรับมือกับผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกที่มีต่อภูมิภาค

ในขณะนี้ อาเซียนกำลังเผชิญหน้ากับการต่อสู้ทางเศรษฐกิจและการฟื้นฟู ต่อจากนี้จะเป็นบททดสอบสำหรับเราทั้งในฐานะกลุ่มประเทศอาเซียน และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย ในขณะที่วิกฤติการเงินเลวร้ายลง โลกจะหันมาสู่ภูมิภาคเราเพื่อแสวงหาความเชื่อมั่นและการดำเนินการที่เป็นรูป ธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้วางแผนที่จะทำ

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมเศรษฐกิจโลก ที่เมืองดาวอส ตนได้เสนอมุมมองต่อการจัดการความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยการกำจัดการบิดเบือนกลไกตลาดกับการประชุมสุดยอดกรุงลอนดอนหรือ G-20 ในเดือน เม.ย. หวังว่า ตนในฐานะประธานอาเซียน เคียงข้างกับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย จะสามารถบอกกล่าวความคาดและกังวลของอาเซียนตลอดจนแนวความคิดต่อวิกฤติการทาง ตามข้อเสนอและคำแนะนำที่จะได้รับจากการประชุมสุดยอดนี้

ผู้นำทุกท่านมีประสบการณ์ ความสามารถและความรู้อย่างมากซึ่งหากสามารถมาแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ร่วม กันก็จะดีกว่าต่างคนต่างใช้ สิ่งที่สำคัญคือ การทำงานร่วมกันของอาเซียนเพื่อให้ได้คำตอบต่อปัญหาต่างๆ ทั้งของอาเซียน และความท้าทายในระดับโลกที่ส่งผลต่อภูมิภาค นี่คือสิ่งที่เราคาดหวังจากประชาคมอาเซียน

นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ภายหลังที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ได้สัญญากับประชาชนชาวไทยว่าจะทำเต็มความสามารถเพื่อให้มั่นใจว่า ไทยจะเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ ที่เต็มไปด้วยโอกาสและเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม วันนี้ เช่นเดียวกับในอดีต ตนอยากให้คำสัญญาในลักษณะเดียวกันกับประชาชนอาเซียน ขอยืนยันว่า ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน และโดยการสนับสนุนของผู้นำอาเซียนทุกท่าน จะผลักดันให้วิสัยทัศน์และความฝันของผู้ก่อตั้งอาเซียนที่จะสร้างประชาคม อาเซียนที่เต็มไปด้วยความห่วงใยและเอื้ออาทรต่อกันและกันเป็นจริง

สุดท้ายนี้ในฐานะประชาชนอาเซียนคนหนึ่ง ตนจะร่วมมือกับประชาชนอาเซียนทั่วภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนเป็นที่รู้จักใน ภูมิภาคเราและทั่วโลก จากแหล่มแท่นสู่ชะอำและหัวหิน การเดินทางที่ใช้เวลากว่า 42 ปีได้ทำให้ความฝันของผู้ก่อตั้งอาเซียนได้เป็นจริง เพราะเป็นจุดเริ่มของความฝันอีกอันหนึ่งที่จะสร้างประชาคมอาเซียนที่มี ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีพลวัตร และมีความเอื้ออาทรให้กับทุกคน เรากำลังจะได้เห็นอาเซียนเดินไปสู่เป้าหมายที่ อาเซียนไมใช่เป็นองค์กรสำหรับผู้มีอำนาจหรือร่ำรวย แต่สำหรับประชาชนทุกคนในประชาคมนี้ สิ่งที่สำคัญไม่ใช่จำนวนประเทศสมาชิก แต่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราจะต้องก้าวไปด้วยกันและในทิศทาง ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่เราก่อตั้งมานานหรือไม่ แต่อยู่ที่ความสำเร็จที่เราได้บรรลุในอดีตและความสำเร็จในปัจจุบัน และอนาคตที่เราจะทำให้เกิดขึ้น ในขณะที่เรามองไปข้างหน้าในปี พ.ศ. 2558

No comments:

Post a Comment