3/18/09

เปิดโครงการ คนไทยไร้พุง ใน สสอ.คำเขื่อนแก้ว



วันที่ 18 มีนาคม 2552: เวลา 10.19 น.เปิดโครงการ คนไทยไร้พุง ใน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว วันนี้วัดรอบเอว ให้กับ จนท. ใน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำโดย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ซึ่งจะเก็บเป็นผลงานไว้เปรียบเทียบกับผลงานเมื่อผ่านไป 6 เดือน คนที่มี รอบเอวเกินค่ามาตรฐาน (ชาย 90 หญิง 80 ซม.) จะสามารถลดลงได้หรือไม่ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน
โรคอ้วนหรืออ้วนลงพุง โรคอ้วนคืออะไร
ร่างกายของเราจะมีไขมันไว้เพื่อสำรองเป็นอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เป็นเบาะกันกระแทกหากมีมากเกินไปคือโรคอ้วน ปกติผู้หญิงจะมีปริมาณไขมันประมาณ 25-30% ส่วนผู้ชายจะมี 18-23 %ถ้าหากผู้หญิงมีมากกว่า 30% ชายมีมากกว่า 25%จะถือว่าโรคอ้วน โรคอ้วนหมายถึงมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ โรคอ้วนมิได้หมายถึงการมีน้ำหนักมากอย่างเดียว
โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่
1. อ้วนทั้งตัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
2. โรคอ้วนลงพุง[ abdominal obesity] ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันในอวัยวะภายในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจจะมีไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วย
3. โรคอ้วนลงพุ่งร่วมกับอ้วนทั้งตัว มีไขมันมากทั้งตัวและอวัยวะภายในช่องท้อง
การวัดปริมาณไขมันในร่างกาย
มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์หลายชนิดที่สามารถวัดและคำนวณปริมาณไขมันในร่างกาย แต่ไม่สะดวกในการใช้จึงได้มีการคิดวิธีวัดง่ายที่ได้ผลคือ
• ใช้ calipers วัดความหนาของไขมันชั้นใต้ผิวหนัง อาจจะวัดที่ท้องแขนเป็นต้น
• Bioelectric impedance analysis โดยการใช้ไฟฟ้าผ่านเข้าไปในร่างกายแล้วคำนวณออกมา
• การใช้ตารางหนักและส่วนสูง
• การคำนวณดัชนีมวลกาย
• การวัดเส้นรอบเอว
การประเมินความอ้วน
การจะประเมินว่าอ้วนหรือไม่เรามิได้ประเมินจากการดูด้วยสายตาอย่างเดียวแต่จะประเมินจากดัชนีมวลกาย ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย มีวิธีการประเมินง่ายๆแต่ได้ผลดีได้แก่
1. ดัชนีมวลกาย BMI [body mass index]
2. วัดเส้นรอบเอว Waist circumference
ดัชนีมวลกาย BMI [body mass index]
การวัดปริมาณไขมันในร่างกายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องมือในการวัด จึงใช้ดัชนีมวลกายมาวัด ค่าที่ได้มีความแม่นยำพอสมควรและสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย วิธีวัดก็สะดวก
การคำนวณดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลกาย =น้ำหนัก(กก) หารด้วย
ส่วนสูง(ม)²
ตัวอย่างการคำนวณ
ส่วนสูง 170ซม.น้ำหนัก 85 กก.
1. น้ำหนักตั้ง 85 กก.
2. ส่วนสูง*ส่านสูง = 1.70*1.70=2.89
3. ดัชนีมวลกาย= 85/2.89=29.41 กก/ตารางเมตร
BMI สามารถวัดได้ง่ายโดยวัดส่วนสูงและน้ำหนักและคำนวณตามตาราง หรืออาจจะหาดัชนีมวลกายได้โดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย หรือจากการคำนวณ ข้อระวัง BMI ใช้ประเมินปริมาณไขมันในผู้ที่มีกล้ามมากๆไม่ได้ และประเมินในผู้ที่กล้ามเนื้อลีบจากสูงอายุไม่ได้ จากค่าดัชนีมวลกาย ท่านสามารถใช้ตารางข้างล่างประเมินความรุนแรงหรือระดับของความอ้วน
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหมายถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง
ผู้ป่วยที่มีเส้นรอบเอวมากแม้ว่า BMI จะปกติก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าท่านที่มีดัชนีมวลกายตั้ง25 ขึ้นไปโดยเฉพาะมีเส้นรอบเอวมากว่า 40นิ้วในชาย 35 นิ้วในหญิงจะต้องเริ่มรักษาอย่างจริงจัง
สำหรับชาวเอเชียไม่สามารถใช้ตัวเลขดังกล่าวได้เนื่องจากผลของการวิจัยพบว่าหากดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก/ตารางเมตร ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะเกิดอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงดังนั้นจึงกำหนดว่า หากดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะถือว่าอ้วน นอกจากนั้นการวัดเส้นรอบเอวก็ไม่สามารถใช้มาตรฐานของฝรั่งเนื่องจากโครงสร้างต่างกัน จึงมีการวิจัยพบว่าเส้นรอบเอวที่เหมาะสมสำหรับคนเอเซียคือ 90 ซม.สำหรับผู้ชาย 80 ซม.สำหรับผู้หญิง
การวัดเส้นรอบเอวจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในอวัยวะภายในช่องท้อง หากมีไขมันช่องท้องมากจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าไขมันที่อยู่ตามแขนหรือขา ผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกินแต่เส้นรอบเอวไม่เกินกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อโรคไม่มาก
วิธีการวัดเส้นรอบเอว
การวัดต้องวัดท่ายืน เท้าแยกจากกัน 25-30 ซม.วัดรอบเอวระดับกึ่งกลางกระดูกสะโพกส่วนบนสุดและขอบล่างของกระดูกซี่โครงให้ขนานกับพื้นผู้วัดต้องนั่งข้างๆ และต้องวัดขณะหายใจออกเท่านั้น ส่วนสะโพกให้วัดบริเวณส่วนที่ก้นยื่นออกมามากที่สุด ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.siamhealth.net

No comments:

Post a Comment