วันที่ 29 มกราคม 2554 ปีใหม่ไทย54เมษานี้ 3 G ได้ใช้ในประเทศไทย: ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอขอบพระคุณ ข้อความ จาก http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=310&contentID=118042
ที่ เป็น บันทึก หน้าที่ 1 ของ ระบบ โทรศัพท์ 3 G ของ ประเทศไทย ดังนี้
สามารถ-หัวเว่ย"คว้าประมูล3จีเซ็นสัญญาก.พ. วันศุกร์ ที่ 28 มกราคม 2554 เวลา 12:39
“สามารถ-หัวเว่ย”คว้าประมูล 3จีทีโอที ทั่วประเทศในราคา 16,290 ล้านบาท คาดเซ็นสัญญาจ้าง ก.พ.นี้
วันนี้ 28 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องประกวดราคาโครงการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี ทีโอที ทั่วประเทศ มูลค่าโครงการ 17,440 ล้านบาท ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งจัดให้มีการประกวดราคาโครงการดังกล่าวด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์(อี-อ๊อคชั่น) ตั้งแต่เวลา 10.00-10.30 น. โดยใช้ชื่อรหัสแทนชื่อกลุ่มกิจการร่วมค้าที่มีสิทธิ์ประมูล ประกอบด้วย GGG222 และ GGG333 ซึ่งการแข่งขันประกวดราคามีการเสนอราคาทั้งหมด 17 ครั้ง โดยรหัส GGG222 เสนอราคาต่ำสุดที่ 16,290 ล้านบาท ลดลงจากราคากลาง 1,150 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.59% ขณะที่รหัสGGG333 เสนอราคาที่ 16,777 ล้านบาท
ภายหลังการประกวดราคาเสร็จสิ้นลงนายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ราคาประมูลที่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งทุกขั้นตอนดำเนินงานด้วยความโปร่งใส
ด้านนายอานนท์ ทับเที่ยง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานโครงข่าย ประธานคณะกรรมการประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ๊อคชั่น) กล่าวว่า ราคาต่ำสุดที่ได้จากการอี-อ๊อคชั่นเป็นที่น่าพอใจ จากนี้จะทำหนังสือเสนอราคาที่ประกวดได้พร้อมรายชื่อผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดให้รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ลงนามอนุมัติในวันจันทร์ที่ 31 ม.ค.นี้
“การแข่งขันประกวดราคาเป็นไปตามกระบวนการทุกอย่างจึงไม่มีปัจจัยที่จะทำให้เกิดการล้มประมูล ซึ่งคาดว่าหลังเสนอให้รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่เซ็นอนุมัติแล้ว ประมาณกลางเดือนก.พ.จะลงนามในสัญญาว่าจ้างได้ และในเดือนเม.ย.นี้จะสามรถเปิดให้บริการ 3จีทีโอทีในบางพื้นที่เพิ่มเติมได้ และจะสามารถให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศใน 1 ปี” นายอานนท์ กล่าว
ด้านนายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด ( มหาชน) เปิดเผยภายหลังออกจากห้องเคาะราคาประมูลโครงการดังกล่าวว่า การติดตั้งสถานีฐานมีการดำเนินงานร่วมกันหลายฝ่าย ดังนั้นจะทำให้การติดตั้งสถานีฐานจำวน 5 พันสถานีฐานแล้วเสร็จทันระยะเวลา 1 ปี ตามที่ทีโออาร์กำหนด ขณะที่โดยส่วนตัวพอใจกับราคาการประมูลครั้งนี้ เบื้องต้นได้จัดแบ่งการดำเนินงานภายในกลุ่มแล้วโดย ล็อกซเล่ย์ จะดูแลการติดตั้งสถานีฐานภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบ.สามารถ จะดูแลการติดตั้งสถานีฐานที่กรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคตะวันออก และภาคใต้ เพื่อให้งานติดตั้งสถานีฐานเสร็จตามกำหนด
ทั้งนี้ ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล 2 รายประกอบด้วย คอนซอร์เตียมเอสแอล ประกอบด้วยบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท หัวเว่ย จำกัด บริษัท โนเกีย-ซีเมนส์ จำกัด ใช้รหัสประมูลGGG222 และคอนซอร์เตียม เอยู ประกอบด้วย บริษัท ยูคอม อินดัสเตรียล จำกัด บริษัท แอดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เอไอที บริษัท อัลคาเทล-ลูเซ่น จำกัด ใช้รหัสประมูลGGG333
สำหรับโครงการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี ทีโอที ทั่วประเทศ ประกอบด้วย การสร้างระบบโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ค) 1 ระบบ ระบบสถานีฐาน (ยูทีอาร์เอเอ็น) 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (ทรานสปอร์ต เน็ตเวิร์ค) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (โอเอสเอส) ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (วีเอเอส) ระบบสนับสนุนการให้บริการ (บิสิเนส ซัพพอร์ต ซิสเต็ม) และการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ อย่างละ 1 ระบบ รวมถึงอุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่ายด้วย
Samart-led consortium wins TOT e-auction
By Sirivish Toomgum The Nation
The SL Consortium of Loxley, Samart, Nokia Siemens Networks, and Huawei Technologies today won the e-auction of TOT's 3G network rollout project, quoting the price of Bt16.29 billion.
The bid is 6.59 per cent lower from the state agency's budget for the project. It earlier expected the project to cost Bt17.44 billion.
SL Consortium outbid the AU Consortium which consists of Advanced Information Technology, Alcatel-Lucent (Thailand) and United Communication Industry. The latter quoted Bt16.777 billion.
There are only two qualified contenders in the e-auction out of four consortia submitting the bid documents.
The project will see TOT roll out the 3G-2.1GHz nationwide. If things go as planned, TOT will be able to launch the service on this new network in the initial phase in major provinces in April. From
3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
- “ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
- “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
- “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
- อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ [
·
- ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
- ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
- ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที
เทคโนโลยี 3 G คืออะไร GGG คืออะไร
3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต
จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความ ปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มใน เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน