1/28/11

สิ่งใหม่ๆในการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์



วันที่ 25 มกราคม 2554 : ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ได้รับ ในการ ร่วมเป็นวิทยากร ในเวที ประชุม พัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เรื่อง การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ฉบับฏิบัติการ ณ โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัลด์ อำเภอเมืองยโสธร นั้น

หัวหน้าคณะวิทยากรโดย นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ ท่านชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร ได้ให้ประสบการณ์ใหม่ที่น่าสนใจเช่น การบริหารจัดการโครงการในภาพรวมทั้งอำเภอ 20 กว่า กองทุน สามารถขับเคลื่อนไปพร้อมกันได้

ประสบการณ์ การสร้างและใช้ การจัดทำการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ฉบับฏิบัติการ ในตาราง 11 ช่อง นั้น ช่อง ที่ 1-4 มีแบบที่ศึกษามาแล้ว สามารถนำมาปรับใช้ได้เลย เช่นช่องที่ 1 เป็น เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหมด 7 กล่องเป้าประสงค์

ซึ่ง เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ ที่ ดำเนินงาน 7 กล่อง เป้าประสงค์นี้ สามารถ นำไปใช้ได้ในทุก แผนงาน โครงการ

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 1 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์/พฤติกรรม

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 2. ชุมชนมีโครงการของชุมชนโดยชุมชน

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 3. ชุมชนมีมาตรการทางสังคม

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 4 ชุมชนมีระบบเฝ้าระวัง/คัดกรองที่มีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 5 มีระบบสื่อสารสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 6 บุคลากร/แกนนำนำ มีสมรรถนะที่เหมาะสม

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ร่วมตัดสินใจขับเคลื่อนและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

ส่วนที่ ชุมชน หรือ กรรมการต้องร่วมกันจัดทำ คือ ช่องที่ 5 งานที่ท้องถิ่นหรือพื้นที่ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำว่าจะทำอะไร

เช่น ประชุม คณะกรรมการ กองทุน วึ่งเรียกว่า ทำอะไร

ส่วนช่องที่ 6 PI หรือตัวชี้วัดผลงานนั้น เรียกง่ายๆได้ ว่า ได้อะไร เช่น กรณี ช่องที่ 5 เขียนว่า ประชุม คณะกรรมการ กองทุน ช่องที่ 6 ก็ต้องเขียนว่า ประชุมคณะกรรมการกองทุน 15 คน …….. ครั้ง ต้องลงในรายละเอียด ว่ากี่ครั้ง กี่คน เพราะจะสามารถนำไป เขียน ในช่องที่ 8 ได้ ช่องที่ 8 คืองบประมาณ กรรมการ 15 คนx/2วัน วันละ 100 รวม 3,000 บาท เป็นต้น

ตัวชี้วัด หรือ KPI นั้น ศ.นพ. อมร นนทสุต ได้ ให้คำแนะนำ ในการ การจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ฉบับฏิบัติการ ไว้ว่า ให้ เน้น KPI ระดับกระบวนการให้มากๆ ดังนี้

ระดับ กระบวนการ ร้อยละ 80

ระดับ ผลงาน ร้อยละ 10

ระดับ ผลลัพธ์ ร้อยละ 10

ฉะนั้น KPI ของแต่ละ เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ สามารถยกตัวอย่างได้ เช่น

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 1 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์/พฤติกรรม

KPI: มีรายงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 2. ชุมชนมีโครงการของชุมชนโดยชุมชน

KPI: ชุมชนมีการปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการ

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 3. ชุมชนมีมาตรการทางสังคม

KPI: ชุมชนมีการปฏิบัติตามมาตรการทางสังคม

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 4 ชุมชนมีระบบเฝ้าระวัง/คัดกรองที่มีประสิทธิภาพ

กิจกรรมเช่น สนับสนุนโครงการตรวจสุขภาพเชิงรุก

KPI: มีรายงานการคัดกรอง ปัญหาสุขภาพ

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 5 มีระบบสื่อสารสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

KPI:

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 6 บุคลากร/แกนนำนำ มีสมรรถนะที่เหมาะสม

KPI: กรณี ทำได้ถึงระดับ การจัดตั้ง โรงเรียนนวตกรรมสุขภาพชุมชน มีกระบวนการเรียนการสอนใน โรงเรียนนวตกรรมสุขภาพชุมชน

(โรงเรียน ต้อง มีสถานที่ มีบุคลากร ที่มีความรู้ มีผลงานนวตกรรมเด่น ที่เป็นองค์ความรู้ได้ )

KPI: กรณี ทำได้เพียงแค่ระดับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ที่ 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ร่วมตัดสินใจขับเคลื่อนและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

กิจกรรม คือ จัดทำบันทึกข้อตกลงให้การสนับสนุนงานด้านสาธารณสุข KPI: มีการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลง

ช่องที่ 11 ลงบันทึกให้ละเอียด ถึงในระดับบุคคล หรือ ระดับตำแหน่ง ไม่ควรเปนระดับ องค์กร เพราะ จะไม่สามารถระบุ ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนได้

เช่น กิจกรรม ตรวจคัดกรอง ประชุม คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบ โดย นางเครือวัลย์ คนชม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาเวียง

กิจกรรม ประชุม คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบ โดย ท่านอนุสรณ์ นาเวียง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). กู่จาน เป็นต้น

หรือ ระบุ เพียง ตำแหน่งก็ได้ ในกรณี ที่อาจมีการเปลี่ยนตัวบุคคล เช่น

เช่น กิจกรรม ตรวจคัดกรอง ประชุม คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบ โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาเวียง

กิจกรรม ประชุม คณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบ โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). กู่จาน เป็นต้น

No comments:

Post a Comment