5/21/11

ประทับใจไม่รู้ลืม:พระที่นั่งอนันตสมาคม












วันที่ 14 พฤษภาคม 2554: ประทับใจไม่รู้ลืม:พระที่นั่งอนันตสมาคม : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และครอบครัว เข้าเยี่ยมชม พระที่นั่งอนันตสมาคม สนองนโยบาย ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่จัดให้มีวันหยุดยาว วันที่ 13-17 พฤษภาคม 2554 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในช่วง Long Weekend นี้

.. สรุปย่อได้ความว่า พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2450 โดยเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงวางศิลาพระฤกษ์ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ในรัชมงคลสมัยที่ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 40 ปี

พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบทอดจากพระราชชนก และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการก่อสร้างต่อตามพระราช ประสงค์จนสร้างเสร็จบริบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2458 รามเวลาในการก่อสร้าง 8 ปี สิ้นเงินค่าก่อสร้างประมาณ 15 ล้านบาท

ชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นห้องโถงยาวประดับตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยลวดลายแปลกตา ตั้งแต่เพดานซึ่งประกอบ ด้วยส่วนโค้งเชื่อมจากหัวเสาทั้งสองด้านเป็นระยะๆ เสาสร้างด้วยหินอ่อนทั้งต้นมีทั้งเสาแบบนูนเด่นและเสาแบบลอยตัว ที่หัวเสาสลักด้วย ลวดลายใบไม้อันสวยงาม ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เรียกว่า "แบบโครินเธียน" นอกจากนี้เหนือทวารที่จะผ่านแต่ละห้อง ยังตกแต่งด้วยรูปปั้นตุ๊กตาฝรั่งซึ่งเป็นศิลปะแบบโรมัน

บนเพด้านโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม มีศิลปกรรมที่น่าสนใจคือ ภาพเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ เป็นฝีมือเขียนภาพของ นายริกุลี่ ช่างเขียนชาวอิตาลี ส่วนภาพเขียนบนเพดานโดมของพระที่นั่งฯ เป็นภาพแสดงถึงพระราชกรณียกิจในเหตุการณ์สำคัญๆของ พระมหากษัตริย์ไทยในพระบรมราชจักรีวงศ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 6 กล่าว คือ

เพดานโดมทางด้านทิศเหนือ เป็นภาพเหตุการณ์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยเมื่อยัง ดำรงพระยศ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จกลับจากราชการทัพเมืองเขมร บรรดาพสกนิกรทั้งหลายพากันไปกราบบังคมทูลอัญเชิญ ให้ทรงรับราชสมบัติปกครองแผ่นดิน อันนับเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จักรี เพดานโดมด้านทิศตะวันออกของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ประทับ ณ พระที่นั่งบุษบกมาลาที่มุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาประสาท เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชเมื่อปีพุทธศักราช 2454

ที่เพดานโดมด้านทิศใต้ของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานอภัยทาน และทรงยกเลิกประเพณีทาสในประเทศไทยโดยสิ้นเชิง

เพดานด้านใต้ของโดมทิศตะวันออก เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ด้านหลังเป็นการก่อสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ที่ทรงพระราชดำริสร้างเพิ่มเติมให้สูง ใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นศรีสง่าแก่พระนครหลวง

เพดานโดมด้านทิศตะวันตก เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับเบื้องหน้าพระพุทธชินสีห์ แวดล้อมด้วยพระภิกษุและนักบวชต่างชาติศาสนานิกายต่างๆ ซึ่งได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ทั้งสองข้าง แสดงนัยแห่งพระราชจรรยา ที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา โดยไม่รังเกียจกีดกัน

ส่วนเพดานด้านเหนือของโดมทิศตะวันออก เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบ พระนครทางสถลมารค ฉากหลังเป็นภาพป้อมเผด็จดัสกร พระมหาเจดีย์ในวัดพระเชตุพน ฯ และพระมหาปราสาทราชมณเฑียรใน พระบรมมหาราชวัง ซึ่งได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างและบูรณะให้สวยงามขึ้น

ใต้โดมกลาง ซึ่งเป็นโดมใหญ่ที่สุดมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร" ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีพระราชดำริก่อสร้าง พระที่นั่งอนันตสมาคมที่เพดานนับจากใต้โดมตลอดทั้งบริเวณท้องพระโรงกลาง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร " สลับกับ "ว.ป.ร." อันเป็นพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระที่นั่งอนันตสมาคมได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ

ในส่วนกลางของพระที่นั่งอนันตสมาคม ใต้โดมกลางเป็นท้องโถงใช้ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ มีพระที่นั่งพุทตานกาญจนสิงหาสน์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายใต้พระนพปฏลมหาเศวตฉัตร

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

http://www.panyathai.or.th/

ส่วนที่ประทับใจมากๆคือ งาน "ศิลป์แผ่นดิน " จัดแสดงศิลปหัตถกรรม ที่วิจิตรงดงาม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีต่อราษฎรไทยในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ อีกทั้ง เพื่ออนุรักษ์งานหัตถกรรมไทยโบราณ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานอันทรงคุณค่าของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะ และวัฒนธรรมไทยได้อย่างงดงาม โดยฝีมือลูกหลานชาวนา ชาวไร่

ซึ่ง เป็น งานศิลป์ ฝีมือประณีตจำนวนมาก ที่โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ได้จัดทำขึ้นหลายรายการ อาทิ บุษบกห้ายอดไม้แกะสลัก พระที่นั่งพุดตานถมทอง พระที่นั่งพุดตานคร่ำทอง วอสีวิกากาญจน์ เรือศรีสุพรรณหงส์ ฉากผ้าปักป่าหิมพานต์ ฉากไม้แกะสลักตำนานนพรัตน์ ภาพเขียนสุเรนทรจรจักรวาฬ โคมระย้าแต่งปีกแมลงทับ แผ่นลิเภาสานลายผ้าโบราณ ฯลฯ

ทุกคนที่ได้ไปเยี่ยมชมจะบอกว่า ภาคภูมิใจกับความงดงามของศิลปวัฒนธรรมและผลงานในความเป็นไทยมาก และ หากมีโอกาสจะพาครอบครัว พ่อ แม่ลูก มาเที่ยวชมให้เต็มตาต่อไป

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ ดีๆจาก

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=noiwan-wannoi&month

No comments:

Post a Comment