วันที่ 12 พฤษภาคม 2554: ความก้าวหน้า รพ.สต.จะถึง8ชำนาญการพิเศษ: ภาคเช้า ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุมโครงการ สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ณ ห้องพญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ประธานการประชุม โดย นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ภาคบ่าย ตรวจสอบเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการ สนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(โครงการไทยเข้มแข็ง) ซึ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแต่ละแห่ง ต้องจัดทำให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามแผนงาน โครงการที่เสนอ ทั้งด้านการปรับปรุงอาคาร สถานที่ จัดซื้อ วัสดุ ครุภัณฑ์ ตามความต้องการของแต่ละแห่ง ซึ่งขอชื่นชมว่า พวกเรา ทั้ง นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างาน นางสุภาภรณ์ เกษมณี พนักงานธุรการ และ รพ.สต.ทุกแห่ง ได้ร่วมมือกันจัดทำได้ถูกต้อง แม้ว่าจะมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง มากกว่าโครงการปกติทั่วไปก็ตาม
เมื่อมีงานที่ท้าทายเข้ามา ผมมองในแง่ดีว่า โครงการไทยเข้มแข็ง จะทำให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)เข้มแข็ง เพราะ มีแนวโน้มว่า การทำงานที่ต้องใช้ความสามารถมากขึ้นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นว่า พวกเรา ชาว รพ.สต. จะมีความเจริญก้าวหน้า ในอนาคตอันใกล้นี้ครับ
ผมมีประวัติศาสตร์ งานที่ท้าทายของพวกรา มาเป็น เหตุผลประกอบ คร่าวๆ ดังนี้
วิวัฒนาการ ความก้าวหน้า ใน สถานีอนามัย ความก้าวหน้า ใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)
เมื่อก่อน สถานีอนามัย ไม่มีตำแหน่ง หัวหน้า สอ. ยังไม่ค่อยมีรายงานมากมายนัก มีเฉพาะ สรุปผลบันทึกการปฏิบัติงานประจำเดือน (รายงาน 400) และรายงานเฉพาะกิจอีกเล็กน้อย จนท. สตรี มีความก้าวหน้า สูงสุดเพียง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ ระดับ 3 หรือ เจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์สาธารณสุขระดับ 3 ส่วน จนท. ผู้ชาย ก็สูงสุดที่ เจ้าหน้าที่ สุขาภิบาล ระดับ 3 เท่านั้น จนมี Slogan ยอดฮิต ในสมัยนั้นว่า ความเจริญก้าวหน้าไม่ และ ซี ก็ตัน
( เปรียบเทียบ กับในโรงเรียน ครูใหญ่ระดับ 4-5)
ปี 2529 กระทรวงสาธารณสุข ให้ สถานีอนามัยจัดทำรายงานด้านการเงิน 401 404 407 รายงานด้าน ยา เพิ่มเติม จนท. ที่ปฏิบัติงาน ใน สถานีอนามัย ซึ่ง มี เพียง แห่ง ละ 1-2 คน ส่วนหนึ่ง บ่นว่า เพิ่มภาระงาน ให้กับตนเอง ส่วนมาก มองในแง่ดีว่า ต้องเตรียมความพร้อมรับความเจริญก้าวหน้า กลุ่มที่เตรียมความพร้อม ได้รับการคัดเลือก ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 4 ) ซึ่ง เป็นตำแหน่งที่ มีกรอบโครงสร้าง ของ กพ.
เจ้าหน้าที่อื่นๆ คนที่ เรียนจบหลักสูตร 2 ปี ก็ ได้รับการเลื่อนระดับ เป็น เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนระดับ 4
ส่วนคนที่มีวุฒิการศึกษาไม่ครบ กระทรวง จัดฝึกอบรมเพิ่มเติมให้ แล้ว เลื่อนระดับ เป็น เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนระดับ 4 ( เปรียบเทียบ กับในโรงเรียน ครูใหญ่ระดับ5-6 )
ปี 2533 กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบาย ขยายสถานบริการบริการในระดับสถานีอนามัย ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตำบล ทั่วประเทศไทย และ มีนโยบายสร้างส้วมราดน้ำให้กับประชาชนให้ครบทุกหลังคาเรือน(ส้วม 100%) พร้อมมีโครงการพัฒนาอื่นๆ เช่น การณรงค์งดสูบบุหรี่ โครงการขจัดหนอนพยาธิ โครงการบัตรประกันสุขภาพ โครงการ บัตร สปร. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพงานอนามัยแม่และเด็ก เพิ่มประสิทธิภาพงานอนามัยโรงเรียน เช่นเดิมครับ เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่ง บ่นว่า เพิ่มภาระงาน ให้กับตนเอง แต่เจ้าหน้าที่ส่วนมาก มองในแง่ดีว่า ต้องเตรียมความพร้อมรับความเจริญก้าวหน้า กลุ่มที่เตรียมความพร้อม ได้รับการเลื่อนความเจริญก้าวหน้า ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 5 ) เจ้าหน้าที่อื่นๆ ก็ ได้รับการเลื่อนระดับ เป็น เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนระดับ 5
( เปรียบเทียบ กับในโรงเรียน บางโรงเรียนกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการ ระดับ 7 แล้ว )
ส่วน เจ้าหน้าที่ ที่พัฒนา ตนเอง มี ความก้าวหน้าสูงสุด ในยุคนี้ คนที่จบปริญญาตรี และสามารถ สอบ ผ่าน ภาค ก. ภาค ข. ภาค ค. ที่ กพ. จัดสอบ จะได้รับการบรรจุ เป็นนักวิชาการ ซึ่ง ในระดับอำเภอ มี เพียง ใน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เรียกว่า นักวิชาการสาธารณสุข 6 ว. และ ใน โรงพยาบาล เรียกว่า นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ว.
ปี 2536 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินงานตาม โครงการ ทศวรรษการพัฒนาสถานีอนามัย เพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน ใน สถานีอนามัย ในหลายๆด้าน พร้อมกันนั้น ได้เน้นการปฏิบัติงาน ในชุมชน ภายใต้โครงการ สุขภาพดีถ้วนหน้า เมื่อปี 2543 (โครงการ HEALTH FOR ALL by The Year 2000) เพิ่มคุณภาพงานระบาดวิทยา พร้อม มีนโยบาย เพิ่มประสิทธิภาพงานข้อมูลข่าวสาร ให้มีประสิทธิภาพ (ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา) เป็นที่มาของ รายงานสารพัดรายงาน จน เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงาน ในสถานีอนามัย แทบจะจำไม่ได้ว่าต้องส่งรายงานอะไรบ้าง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอต้อง ทำหนังสือปะหน้าให้ว่า มีรายงานปกติ และรายงานเฉพาะกิจใดบ้างที่ต้องส่ง เพราะ แต่ละ กรม กอง จะ มีแบบฟอร์ม รายงานของ ตนเอง และ ทุกรายงาน มีจุดเริ่มมาจาก ระดับ สถานีอนามัยทั้งนั้น
เช่นเดิมครับ เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่ง บ่นว่า เพิ่มภาระงาน ให้กับตนเอง แต่เจ้าหน้าที่ส่วนมาก มองในแง่ดีว่า ต้องเตรียมความพร้อมรับความเจริญก้าวหน้า กลุ่มที่เตรียมความพร้อม ได้รับการเลื่อนความเจริญก้าวหน้า ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 ) ซึ่ง เป็นตำแหน่งเดียวกันกับ สาธารณสุข กิ่ง อำเภอ เลยทีเดียว
เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่ไม่จบปริญญาตรี ก็ ได้รับการเลื่อนระดับ เป็น เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนระดับ 6
( เปรียบเทียบ กับในโรงเรียน กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการ ระดับ 7 ทุกแห่ง )
สายงานสาธารณสุข เจริญ ก้าวหน้ามากที่สุดในยุคนี้ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ประจำสถานีอนามัย ทั้ง นักวิชาการสาธารณสุข และ พยาบาลวิชาชีพ มีความก้าวหน้าได้ ถึง ระดับ 7 เป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ก่อตั้งกระทรวงสาธารณสุขมา โดย เจ้าหน้าที่ ที่พัฒนา ตนเอง มี ความก้าวหน้าสูงสุด ในยุคนี้ คนที่จบปริญญาตรี และสามารถ สอบ ผ่าน ภาค ก. ภาค ข. ภาค ค. ที่ กพ. จัดสอบ จะได้รับการบรรจุ เป็นนักวิชาการสาธารณสุข 7 ว. ซึ่งเป็นครั้งแรก ที่ มีตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ประจำ สถานีอนามัย ที่มีความก้าวหน้า ระดับ เดียวกัน กับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ซึ่ง สาธารณสุขอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ก็ ดำรงตำแหน่ง ระดับ 7 เท่ากัน คือตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 7
ปี 2545 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ประกาศดำเนินงานตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Covrrage:UC) เพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน ใน สถานีอนามัยให้สูงขึ้นไปอีก ในหลายๆด้าน และ นำ เรื่อง คุณภาพ มาตรฐาน การบริการ และ Infection Control IC พร้อมกันนั้น ได้ นำ ระบบรายงาน ผ่าน โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ต่างๆ มาใช้ งาน เป็นจำนวน รายงานสารพัดรายงาน เดิม แปลงมาเป็น สารพัด โปรแกรม ที่เจ้าหน้าที่ ต้องบันทึก เป็น อีก ยุคหนึ่ง ที่ เจ้าหน้าที่ สถานีอนามัย ได้รับการพัฒนา ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ไปโดยปริยาย และ สถานีอนามัยทุกแห่ง มีคอมพิวเตอร์ใช้
ให้ความสำคัญด้านบุคลากร กำหนดตำแหน่ง อื่นๆ ใน สถานีอนามัย ทั้ง พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข และ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เป็นต้น
ส่วน หัวหน้าสถานีอนามัย ยังคงดำรง ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 )
( เปรียบเทียบ กับในโรงเรียน กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการ ระดับ 8 ทุกแห่ง )
ส่วนน้องๆ นักวิชาการสาธารณสุข และ พยาบาลวิชาชีพ สามารถ ก้าวหน้าได้ถึง ระดับ 7
พยาบาลวิชาชีพ ได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่ง อีกเดือนละ 3,500 บาท
เป็นจุดกำเนิด ให้เกิด สภาวะ ขาด คน ที่จะพัฒนา ไป เป็น หัวหน้าสถานีอนามัย ซึ่งเป็น ภาวะ วิกฤติ ของ สถานีอนามัย เพราะ หัวหน้าสถานีอนามัย คือคนที่มีความรู้ ความสามารถ เกือบ ครึ่ง จะขอ เปลี่ยน ตำแหน่ง จาก หัวหน้า ไปเป็นตำแหน่งลูกน้อง คือ ขอไปบรรจุเป็น นักวิชาการสาธารณสุข เพราะต้องการ เลื่อนเป็นระดับ 7 ส่วนตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 ) นั้น โดย แทนที่ จะเป็นตำแหน่งแห่งเกียรติยศ และ คุณ ค่าของ สถานีอนามัย นั้น ส่วนหนึ่ง กลับกลายเป็นว่า ในยุคนี้ สมัยนี้ ตำแหน่ง ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย ตาม จ. 18 กลายเป็นตำแหน่ง รองรับ สำหรับ คนที่ไม่ มีคุณวุฒิปริญญา ( ในชิง Negative แล้ว ยุคคนี้ หลายคนบอกว่า เป็นตำแหน่งเหลือเลือก) ซึ่ง ในทางปฏิบัติ ในยุคนี้ คือ ลดตำแหน่งหัวหน้าไปเป็นตำแหน่งลูกน้อง เอาลูกน้องไปกำหนดเป็นหัวหน้า โดย คนที่ ดำรง หัวหน้าสถานีอนามัย ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 ) ต้องการที่จะ เลื่อนเป็นระดับ 7 ก็พัฒนาตนเอง เรียนต่อ จบปริญญา แล้ว สอบเปลี่ยนสายงานเป็น นักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งมีความก้าวหน้าได้ถึงระดับ 7 แล้ว เอาตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 ) ให้กับลูกน้องแทน ก่อให้เกิดความโกลาหลในการบริหารงานมากพอสมควร
ปี 2550 รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ จุลลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประกาศดำเนินงานตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Covrrage:UC) ให้ประชาชนทุกคนรักษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน ใน สถานีอนามัยให้สูงขึ้นไปอีก ในหลายๆด้าน และ นำ เรื่อง มาตรฐาน HCA เปลี่ยนจาก ระบบรายงาน ผ่าน โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ต่างๆ มา เป็น ระบบรายงาน ผ่านระบบ Internet และ โปรแกรม สำเร็จรูป แบบรวมฐานข้อมูล เรียกว่า Health Center Information System : HCIS)
สถานีอนามัย นกจากจะมี เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ใช้แล้ว ทุกแห่ง ยังมี Note Book Computer ใช้ ในการปฏิบัติงาน และ กำหนดตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัยระดับ 7 ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 7 ) ใน สถานีอนามัยที่มีปริมาณงานมาก
( เปรียบเทียบ กับในโรงเรียน กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการ 8 ทุกแห่ง และ ระดับ 9 ในบางแห่งแล้ว)
พยาบาลวิชาชีพ ใน สถานีอนามัย นอกจากจะ ได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่ง อีกเดือนละ 3,500 บาท แล้ว ยังได้รับเงิน พตส.เพิ่มเติมอีกเดือนละ 1,000-2000 บาท
ปี 2552 รัฐบาล นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศ ยกระดับ การ การพัฒนา สถานีอนามัย เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) เพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานในหลายๆด้านตามมาตรฐาน PCA การบริการดี การบริหารจัดการดี โครงสร้างและสภาพแวดล้อมดี สนับสนุน บุคลากร ให้ มีเจ้าหน้าที่ ให้บริการ ในลักษณะ สหวิชาชีพ การทำงานเป็นเครือข่าย ที่ดี ทั้ง โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)
ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย6 ( เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 ) สำหรับ คนที่ จบปริญญาตรี ปรับเปลี่ยนเป็น นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำหรับ คนที่ ไม่จบปริญญาตรี ทั้งหมด ปรับเปลี่ยนเป็น เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย7 (เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 7 ) สำหรับ คนที่ จบปริญญาตรี ปรับเปลี่ยนเป็น นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำหรับ คนที่ ไม่จบปริญญาตรี ปรับเปลี่ยนเป็น เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส
เจ้าหน้าที่ ทุกตำแหน่ง ใน สถานีอนามัย ได้รับค่าตอบแทน รายเดือน เพิ่มเติมอีก เดือนละ 900-1,800 บาท และ 600-1,200 บาท)
สำหรับตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัยนั้น นายวิทยา แก้วภราดรัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้กำหนดโยบาย การพัฒนา สถานีอนามัย เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ประกาศคืนเกียริยศ และศักดิ์ศรี ให้กับ หัวหน้าสถานีอนามัย ให้มีเกียรติและความภาคภูมิใจในตำแหน่ง โดย เปลี่ยนการเรียกชื่อ จาก หัวหน้าสถานีอนามัย เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( ผอ.รพ.สต.) ซึ่งนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คนต่อมา ได้ สานต่อ นโยบาย ประกาศ ให้ สถานีอนามัยทุกแห่ง พัฒนา เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุกแห่ง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 พร้อมสนับสนุนงบประมาณ ตามโครงกานนี้ทั่วประเทสกว่า 7,000 ล้านบาท
ที่กล่าวมาทั้งหมด ผมมองเห็นว่า โครงการ สนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(โครงการไทยเข้มแข็ง) จะเป็น จุดกำเนิด ให้ พวกเรา ชาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ทุกคนเจริญก้าวหน้า โดยถ้วนหน้ากัน ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมเชื่อมั่นว่า พวกเราจะได้สัมผัสกับ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( ผอ.รพ.สต.) ระดับชำนาญการพิเศษ และนั่นหมายถึงว่า พวกเรา ชาว รพ.สต. จะได้ก้าวหน้า ถึง ระดับ 8 หรือ ระดับ ชำนาญการพิเศษ ครับ ผม..ฟันธง...
( เปรียบเทียบ กับในโรงเรียน กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการ 8 ทุกแห่ง และ ระดับ 9 ในบางแห่ง ส่วนครูสายผู้สอน กำหนด เทียบเท่าระดับ 9 ทุกคน)
พยาบาลวิชาชีพ
เป็น ผอ.รพ.สต. ได้หรือไม่ ดูคำตอบได้ที่
นี่
Positive Thinking ที่ดี ที่ได้ยินบ่อยๆ พลิกวิกฤติ ให้เป็น โอกาส หรือ .. แปลปมด้อย ให้เป็นกำลังใจ ... ยังคงใช้ได้เสมอครับ ...
ขออนุญาตเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับตำแหน่งความก้าวหน้าของข้าราชการครูครับผม
ReplyDeleteปัจจุบันตำแหน่งของครูเป็นดังนี้ครับ
1.สายผู้สอน สามารถทำผลงานเสนอขอเลื่อนตำแหน่งได้ถึง ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ( ซี 10 ปัจจุบันมีอยู่ 2 หรือ 3 ท่านนี่แหล่ะครับไม่แน่ใจ)
2.สายบริหารสถานศึกษา ( โรงเรียน )
- ผอ.สามารถทำผลงานเสนอขอเลื่อนตำแหน่งได้ถึง เชี่ยวชาญพิเศษ เช่นเดียวกันกับครูสายผู้สอน( ซี 10 )
- รอง ผอ.สามารถทำผลงานเสนอขอเลื่อนตำแหน่งได้ถึง เชี่ยวชาญ (ซี 9) ครับผม
แล้วพยาบาลวิชาชีพชำนาญการที่มีความสามารถ สามารถเป็น ผอ.รพ.สต ได้มั้ยค่ะ
ReplyDeleteเนื่องจากพยาบาลวิชาชีพได้รับเงินประจำตำแหน่ง ทำให้หัวหน้า รพ.สต หลายแห่งไม่พอใจ..ทำให้มีการโอนงานมาให้มากๆ และใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง เวลาทำงานรู้สึกอึดอัดมาก..เลยค่ะ..เงินที่ต้องได้บางอย่างก็พยายามตัด......รู้สึกไม่เป็นธรรมค่ะ
ReplyDeleteพยาบาลวิชาชีพ เป็น ผอ.รพ.สต. ได้หรือไม่ ดูคำตอบได้ที่ นี่
ReplyDeletehttp://ptjsw.blogspot.com/2012/10/blog-post_1293.html
เดิมเป็นจพง.ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าสอ.มา15ปีต่อมาไปเรียนต่อพยาบาลวิชาชีพ กลับมาปฏิบัติงานหน้าที่เดิม หัวหน้าสอ.จนถึงปัจจุบัน อีก 8 ปี ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าสอ.ต่อด้วย ผอ.รพสต.มาตลอด แต่ขณะนี้มีนว.ชำนาญการมาสมัครเป็นผอ.รพสต. ณ ที่ทำงานอยู่นี้ โดยมีผู้บอกว่าพยาบาลเป็นผอ.รพสต.ไม่ได้ หากว่าพยาบาลต้องการเป็น ผอ.รพสต.ต้องสละตำแหน่งพยาบาล สละเงินประจำตำแหน่ง และโอนไปเป็นตำแหน่ง นว.เสียก่อน จริงหรือคะ ( ถ้าหากมีเอกสารแนบให้อ้างอิงจะขอบคุณมากค่ะ )
ReplyDelete