1/20/11

5รั้ว4โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด มีอะไรบ้าง



วันที่ 18 มกราคม 2554: 5รั้ว4โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด มีอะไรบ้าง

ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้ารับ การอบรมฟื้นฟูพัฒนาบุคลากรด้านการบำบัดรักษายาเสพติด ณ ห้องประชุมบั้งไฟโก้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ผู้เข้าร่วมประชุม จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

โรงพยาบาลชุมชน และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ทุกแห่ง ทั้งจังหวัดยโสธร

วิทยากร โดย น.ส.ราศรี อาษาจิตร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ นาง อนัญญา โรจนชาตรี เดชสุภา พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ น.ส.ปัทมา สุวรรณเพชร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ทั้ง นี้ ภายใต้การเตรียมความพร้อมและอำนวยความสะดวกด้วยดี โดย นางประชุมพร กวีกรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นางกชกร ชูแก้ว นักวิชาการสาธารณสุข งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นางนวลจันทร์ บุญธรรม นักวิชาการสาธารณสุข งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

สรุป ความโดยย่อ

ตามที่ รัฐบาลฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้ ยุทธศาสตร์

5 รั้วป้องกันเป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำาเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

โดยได้มีการจัดตั้งกลไกอำานวยการและบริหารจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกระดับ

ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ทุกหน่วยต่างให้ความสำาคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

จนปรากฏผลงานอย่างเป็นรูปธรรมหลายประการ แต่ปัญหายาเสพติด ก็ยังคงเป็น

ปัญหาที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขโดยเร่งด่วน

เพื่อเป็นการเร่งรัดการดำาเนินงานป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดให้เป็นไปตามนโยบายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

สามารถลดระดับปัญหายาเสพติดและขจัดความเดือดร้อนของ ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีคำาสั่งให้มี แผน ปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับชาติ เป็นแผนงานหลัก เรียกว่าปฏิบัติการประเทศไทยเข้มแข็งชนะ ยาเสพติดยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ระยะที่ 2 เป้าหมายของยุทธศาสตร์เป็นไปเพื่อหยุดยั้งและลด ระดับการขยายตัวของปัญหายาเสพติดในขอบเขตทั่วประเทศ ให้ได้มากที่สุด มิให้ปัญหายาเสพติดส่งผลต่อวิถีชีวิต และ ความสงบสุข ปลอดภัยของประชาชนโดยรวม จึงกำาหนด 4 เป้าหมายปฏิบัติการ ดังนี้

เป้าหมายที่ 1 ลดระดับปัญหายาเสพติดในกลุ่ม พื้นที่มีปัญหายาเสพติด คือ กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เพราะมีการนำาเข้า ยาเสพติดหลัก กลุ่มพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม และ สมุทรสาคร และกลุ่มพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เป้าหมาย ที่ 1 จะมีการนำาระบบนำา ผู้เสพเข้าบำาบัดรักษาด้วยกระบวนการ ชุมชนประชาสังคม และมาตรการสมัครใจ ระบบการบังคับ บำาบัด และระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน เรือนจำามาใช้

เป้าหมายที่ 2 ลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดทั่วประเทศโดยนำา ผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำาบัดรักษาที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่า 300,000 คน โดยร้อยละ 50 ของจำานวนผู้เข้ารับการบำาบัดรักษาจะต้องได้มาจากกระบวนการชักชวนโดยชุมชน ประชาสังคมและการสมัครใจ ในเป้าหมายที่ 2 มีการวางแนวทางดำาเนินการเพื่อ ลดจำานวน ผู้ค้า

ระดับแพร่ระบาดในพื้นที่ทั่วประเทศลดปัจจัยเสี่ยงสร้างปัจจัยบวกและป้องกันเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในทุกจังหวัดพร้อมมุ่งเน้น

การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ 285 อำาเภอ โดยเน้นหนักทั่วประเทศ

เป้าหมายที่ 3 เสริมความเข้มแข็งของกลไกชุมชน ประชาสังคม ให้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกจังหวัดและอำาเภอเป้าหมายเป้าหมายที่ 4 เสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบกลไก และกระบวนการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤติในการปฏิบัติเพื่อให้ภารกิจเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้นั้นแผนยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันระยะที่ 2 ยังคงยึดกรอบยุทธศาสตร์ระยะที่ 1 ที่เน้นกรอบความคิด 4 ควบคุม1. ควบคุมตัวยา 2. ควบคุมพื้นที่ 3. ควบคุมเงื่อนไข

และ 4. ควบคุมผู้เสพ

โดยนอกจากหลักการควบคุมทั้ง 4 ประการ การปฏิบัติ จะต้องสร้างความสมดุลให้กับมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งระบบ

เพิ่มบทบาทของชุมชนและภาคประชาสังคมในการแก้ไข ปัญหายาเสพติดให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นพลังควบคู่กับภาครัฐ

และแปลงยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันลงสู่พื้นที่เป้าหมาย อย่างเป็นเอกภาพและบูรณาการ

สำาหรับกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันระยะที่ 2 มีการกำาหนด 5 กลยุทธ์ ในการยุติการขยายตัวของปัญหา

ยาเสพติด ดังนี้

กลยุทธ์ 1 ลดการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยใช้ มาตรการทางสังคม มาตรการชุมชน ประชาสังคมและมาตรการ

ป้องปราม

กลยุทธ์ 2 แก้ปัญหาที่จุดวิกฤตเป็นความเร่งด่วนแรก

กลยุทธ์ 3 เน้นพื้นที่แบบบูรณาการภายใต้แนวทาง ทุกรั้วต้องมี จุดเน้นหนักทุกโครงการหลักต้องบูรณาการสู่พื้นที่

กลยุทธ์ 4 พลังคู่ขนาน โดยเพิ่มบทบาทของพลังของชุมชนพลังทางสังคม เป็นจุดสมดุลในการแก้ไขปัญหายาเสพติดควบคู่กับบทบาท ของภาครัฐและ

กลยุทธ์ 5 บริหารจัดการในภาวะวิกฤต

5รั้ว4โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด มีอะไรบ้าง

ภายหลั งกำาหนดกลยุทธ์แล้ วต้องมีกา รออก มาตรการตามยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาในระดับที่ 1ถือเป็นมาตรการทั่วไปที่ใช้ปฏิบัติการในทุกพื้นที่ประกอบด้วย กิจกรรม“ 5 รั้ว 4 โครงการ” 5 รั้ว

1 “รั้วชายแดนหรือโครงการสกัดกั้นการนำาเข้า ยาเสพติดตามแนวชายแดน เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการตัด

supply ยาเสพติดจากนอกประเทศมิให้ลักลอบเข้าประเทศไทย โดยใช้มาตรการต่างๆ

2 “รั้วชุมชนหรือโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ของชุมชนประชาสังคมป้องกันยาเสพติดด้วยการลดระดับ

ความรุนแรงของปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านชุมชนเป้าหมาย ผ่านกลไกต่างๆ ในพื้นที่ และพัฒนาความยั่งยืนด้วยโครงการ

หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน

3 “รั้วสังคมหรือโครงการจัดระเบียบสังคมแบบ บูรณาการ เป็นโครงการที่เน้นขจัดปัจจัยลบ ปัจจัยเสี่ยง ป้องกัน

เยาวชนกลุ่มเสี่ยง และเสริมสร้างปัจจัยบวก หรือ พื้นที่บวก ให้เพิ่มขึ้นในทุกจังหวัด

4“รั้วโรงเรียนหรือโครงการโรงเรียนป้องกันยาเสพติด เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาด้วยกิจกรรม

ต่างๆ

5“รั้วครอบครัวหรือโครงการครอบครัวสีขาวครอบครัวเข้มแข็ง

สรุป 5 รั้ว ป้องกัน ประกอบด้วย รั้วชายแดน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน รั้วชุมชน รั้วครอบครัว ส่วน

4 โครงการ นั้น ประกอบด้วย

โครงการที่ 1 โครงการปราบปรามยาเสพติดและลดความเดือดร้อน ของประชาชน เป็นการปราบปรามเครือข่ายการค้ายาเสพติด ระดับต่างๆโดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพหลัก

โครงการที่ 2 โครงการบำาบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด ยาเสพติดด้วยการนำาผู้เสพเข้าระบบบำาบัดตามระบบที่เหมาะสมและพัฒนาระบบติดตาม ช่วยเหลือ ฟื้นฟู อย่างครบวงจรโดย กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลัก

โครงการที่ 3 โครงการสถานประกอบการป้องกันยาเสพติดเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานประกอบการโรงงาน

ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดย กระทรวงแรงงาน เป็นเจ้าภาพหลัก

โครงการที่ 4 โครงการบริหารจัดการแบบบูรณาการ

วัตถุประสงค์อบรมครั้งนี้ เพื่อให้ฐานข้อมูลด้านการบำบัดรักษายาเสพติด มีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารรสุข

จึงได้ กำหนดให้ มีระบบการรายงานที่มีมาตรฐาน เรียกว่า ระบบรายงาน ระบบติดตาม และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด (บสต.) หมายถึงระบบการรายงานข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้าบำบัดยาเสพติด และผลการติดตามผู้ป่วยภายหลังจากการบำบัดรักษา ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบรายงาน ระบบติดตาม และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ใช้คำ ย่อว่า บสต.

บสต.ย่อมาจาก อะไร ตัวเต็มๆว่า ระบบรายงาน ระบบติดตาม และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด(บสต.)

บสต. 1 เป็นแบบสำรวจการใช้ยาเสพติด (ผู้ติด ผู้เสพ และ เสพรุนแรง) ส่วน ผู้ค้า ใช้ แบบ บสต. 6

บสต. 2 เป็นแบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วย เข้ารับการ บำบัดยาเสพติด

บสต. 3 เป็นแบบบันทึก การ บำบัดยาเสพติด และ แบบ ย้ายสถานบริการที่บำบัด

บสต. 4 เป็นแบบจำหน่าย เพื่อติดตามผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด

บสต. 5 เป็นแบบบันทึก ติดตามผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด

ทั้งนี้ ระบบ บสต. จะมีประสิทธิภาพ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง กับ ทั้ง 4 โครงการ ต้องประสานข้อมูลซึ่งกันและกัน และบันทึก ข้อมูล ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และ ในการอบรมครั้งนี้ ได้ขยายผลการปฏิบัติงาน ให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต.) หรือ ระดับ สถานีอนามัย ทุกแห่ง สามารถบันทึก ระบบรายงาน บสต.ได้ ด้วย รหัสของตนเอง และ คาดหมายว่า พวกเรา ที่ปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต.) ทุกคน จะช่วยกัน เลื่อนระดับ ประสิทธิภาพการบันทึกข้อมูล ระบบรายงาน บสต. จาก อันดับ 72 เป็นระดับที่ อยู่ในระดับ Top 10 ต่อไป

หมายเหตุ ขอบพระคุร ข้อมูล จาก นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ยุติธรรม http://www.moj.go.th/upload/main_magazine/uploadfiles/714col_1327.pdf

1 comment:

  1. Anonymous26/1/11

    5 รั้วป้องกันยาเสพติด ถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน
    กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการป้องกันยาเสพติดในชุมชน
    ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มเข็ง
    ส่งผลให้โรงเรียนและสังคมเป็นสุข
    เฝ้าระวังรั้วชายแดน
    แจ้...ชนาธิป บาททอง

    ReplyDelete