9/6/11

ประสบการณ์ศาลจำลอง:นิติเขียวทอง 54 มสธ.










วันที่ 3 กันยายน 2554 ประสบการณ์ศาลจำลอง:นิติเขียวทอง 54 มสธ.

ในกิจกรรมการอบรมเข้ม ชุดประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย รหัสวิชา 41444 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในวันนี้ เนื้อหาประสบการณ์หลัก คือ การแสดงบทบาทต่างๆ ของ ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ในศาลจำลอง

นิติเขียวทอง 54 จำลองบทบาทสมมุติในศาล ตั้งแต่ประชาชนทั่วไป ผู้เสียหา ผู้ต้องหา พยาน ร้อยเวร พนักงานสอบสวน จนท.ศาล อัยการ และผู้พิพากษา

วิทยากรจากภายนอก โดย ท่านผู้พิพากษา เถกิงศักดิ์ คำสุระ ที่ได้ให้คำแนะนำที่ดีมากๆ สำหรับเสริมประสบการณ์ที่ประทับใจในศาลจำลองให้กับสมาชิก กลุ่มที่ 15 และ กลุ่มที่ 16 ของเรา

ทุกท่านต่างลงความเห็นว่า พวกเราโชคดีมาก ที่ได้ ท่านผู้พิพากษา เถกิงศักดิ์ คำสุระ มาให้ความรู้ในเวที แสดงบทบาทตามสถานการณ์ในศาลจำลองของพวกเรา ได้เป็นอย่างดี

การจะปรับใช้ข้อกฎหมายได้ถูกต้อง นักกฎหมายจะต้องยุติข้อเท็จจริงได้ก่อน โดยเฉพาะบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจะต้องมีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจึงสามารถยุติข้อเท็จจริงได้ เพื่อนำไปสู่การปรับใช้ข้อกฎหมายได้ถูกต้อง แม้นักกฎหมายจะไม่ใช้ผู้รู้โดยตรง แต่ก็จะต้องพอมีความรู้ที่จะวินิจฉัยและตรวจสอบว่าผู้ที่มาให้ความเห็นเป็นผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงหรือไม่ หรือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นนั้น สอดคล้องในเหตุและผลหรือไม่ มิใช่เชื่อตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญไปเสียหมด มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าให้พยานผู้เชี่ยวชาญชี้ขาดข้อเท็จจริงแทนศาล ซึ่งจะนำไปสู่การการปรับข้อกฎหมายที่ผิดพลาดได้ การยุติข้อเท็จจริงจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก

สำหรับการจะปรับใช้ข้อกฎหมายก็จะต้องปรับใช้ให้ถูกต้อง โดยนักกฎหมายจะต้องทำความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายในบทบัญญัตินั้นๆ ด้วย หากเป็นกฎหมายที่มาจากศีลธรรมที่สามารถเดข้าใจได้ด้วยเหตุผลแบบสามัญสำนึก (simple natural reason) ที่ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี เกษมทรัพย์ เรียกว่า “volksrecht” คือ กฎหมายชาวบ้าน การทำความเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายย่อมไม่ยากนัก แต่หากเป็นบทบัญญัติที่นักกฎหมายได้ใช้เหตุผลทางกฎหมายไปปรุงแต่ที่เรียกว่า “Juristenrech” หรือเป็นกฎหมายที่เรียกว่า “Technical law” ซึ่งมีเหตุผลทางเทคนิคในการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ นักกฎหมายจะต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า ความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ในเรื่องนั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้การปรับใช้ข้อกฎหมายเป็นไปโดยถูกต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ในประเทศเยอรมัน จึงมีคำสอนหรือข้อเตือนใจให้นักกฎหมายคำนึงถึงเมื่อจะปรับใช้บทบัญญัติของกฎหมายใด ให้ศึกษาเรื่องคุณธรรมทางกฎหมาย (Rechtsgut) หรือสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองในเรื่องนั้น ๆ ด้วย

มีบางบทความที่ท่านได้ให้ไว้ อย่างประทับใจ เช่น ข้อสำคัญก็คือ นักกฎหมายจะต้องยึดถือหลักการของกฎหมาย เพื่อยุติข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไรแล้ว การปรับใช้ข้อกฎหมายจะต้องถือความถูกผิดเป็นสำคัญ อะไรถูกแม้จะมีเสียงเดียว ก็ต้องถือว่าถูก อะไรผิดแม้จะมีเสียงเดียว ก็ต้องถือว่าผิด ความถูกผิดต้องถือหลักการแห่งกฎหมาย มิใช่ถือเสียงข้างมาก เสียงข้างมากจะใช้ก็ต่อเมื่อเรื่องนั้น ๆ มีความเห็นที่แตกต่าง มิใช่ใช้เสียงข้างมากไปแก้หลักการแห่งกฎหมาย

ท่านพระพรหมคุณากรณ์ (ป.. ปยุตุโต) อธิบายว่า วิชากฎหมายแท้ ๆ แต่เดิมคือ ธรรมศาสตร์ ซึ่งหมายถึงวิชาที่ว่าด้วยหลักการ เพราะ ธรรม แปลว่า หลักการ ในหลักการพื้นฐาน ต้องถือว่า กฎหมายต้องมาจากธรรม ต้องชอบธรรมและต้องเพื่อธรรม

ในส่วนที่เป็นปรมัตถสัจจะ จึงเป็นหลักการ เป็นความจริงแท้แน่นอนที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในส่วนที่เป็นสมมติสัจจะเท่านั้น ที่พิจารณาตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม นักกฎหมายจึงต้องเข้าใจในเรื่องนี้ให้ดี จึงจะสามารถใช้กฎหมายอำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

No comments:

Post a Comment