9/20/11

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วิทยา บุรณศิริ















วันที่ 15 กันยายน 2554 นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วิทยา บุรณศิริ:

ในเวทีการประชุมวิชาการพัฒนา ยุทธศาสตร์งานสาธารณสุขระดับอำเภอ ตำบล ปี 2554 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัด เชียงราย วันนี้ ผมประทับใจนิทรรศการ ภาพกิจกรรมหมออนามัยในอดีตแห่งความภาคภูมิใจ

หลังจากเสร็จสิ้นพิธีรับพระราชทาน โล่รางวัล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ดีเด่น และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่น ระดับประเทศ ระดับภาค/ระดับเขต แล้ว นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานการประชุม ได้มอบ นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วิทยา บุรณศิริ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น) จำนวน 16 ข้อ

รายละเอียดนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 16 ข้อดังนี้

1. พัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริและโครงการเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

2. เพิ่มคุณภาพระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ทั่วถึง เป็นธรรม สร้างระบบบริหารจัดการที่มีเอกภาพ

3. เร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดอัตราป่วย ตายและผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง

4. เร่งรัดดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ตลอดจนอาหารปลอดภัย

5. เตรียมความพร้อม พัฒนาระบบเฝ้าระวัง เตือนภัย การจัดการที่มีประสิทธิผล ทันการณ์ เมื่อเกิดภัยพิบัติ โรคระบาด และภัยสุขภาพ

6. จัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอื่น เช่น แรงงานข้ามชาติ

7. สร้างแรงจูงใจและพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนโดยสนับสนุนอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย

8. สร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับโดยปรับระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมและความก้าวหน้าในวิชาชีพที่เป็นธรรม สร้างกลไกพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

9. เพิ่มการลงทุนในระบบบริการทุกระดับ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น มุ่งเน้นการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท

10. ส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ

11. ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub and Wellness) และระบบโลจิสติกส์ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย

12. สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดบริการสุขภาพ

13. พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพให้มีคุณภาพและบริการข้อมูลสุขภาพ สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

14. พัฒนา ผลักดันและการบังคับใช้กฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อการสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านสาธารณสุข

15. จัดตั้งศูนย์บำบัด ฟื้นฟู ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ควบคุม ป้องกันการใช้สารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของสารเสพติดชนิดใหม่

16. จัดให้มีการสื่อสารสาธารณะ ด้านสุขภาพเพื่อให้ความรู้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ รายละเอียด นโยบายการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุข

โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายวิทยา บุรณศิริ)

และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น)

1. พัฒนางานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริและโครงการเฉลิมพระเกียรติเพื่อเทิด พระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการ

-โครงการพระราชดำริ ดำเนินการโดยส่วนกลาง จำนวน 12 โครงการ ส่วนภูมิภาค 93 โครงการ

-โครงการเฉลิมพระเกียรติ ดำเนินการ โดยส่วนกลาง จำนวน 213 โครงการ ส่วนภูมิภาค 135 โครงการ

เช่น

· โครงการสนองน้ำพระราชหฤหัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชมนพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

· โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว

· โครงการ To Be Number One

· โรงพยาบาลต้นแบบ

2. เพิ่มคุณภาพระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ทั่วถึง เป็นธรรม สร้างระบบบริหารจัดการที่มีเอกภาพ

· สร้างกลไกกำหนดนโยบายระบบบริการระดับชาติ

· สร้างความมั่นคงทางการเงินการคลังของสถานบริการ

· การปฏิรูปโครงสร้างและภารกิจของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงการประสานกับหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข

3. เร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดอัตราป่วย ตายและผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง

· ด้านนโยบายสาธารณะ ในการสร้างสุขภาพ การบังคับใช้กฎหมายต่างๆอย่างเข้มแข็ง อาทิ พรบ.การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, พรบ.ควบคุมยาสูบ

· การสร้างกระแสสังคม การจัดมหกรรมรณรงค์ต่างๆ เช่น มหกรรมการออกกำลังกาย รณรงค์องค์กรไร้พุง ฯลฯ

· การพัฒนาศักยภาพในชุมชน เป็นการสนับสนุนให้ชุมชน ท้องถิ่นมีชมรมสร้างสุขภาพ อาทิ ชมรมออกกำลังกาย, ชมรมผู้สูงอายุ, ชมรมอาหารปลอดภัย

· การส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข ให้ อสม.ที่มีอยู่จำนวนเกือบ 1 ล้านคน ได้ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน

4. เร่งรัดดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ตลอดจนอาหารปลอดภัย

· การคุ้มครองผู้บริโภค การเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย โดยชมรมต่างๆ, ประชาชน, ท้องถิ่น รวมถึงการสนับสนุนให้มี อย.น้อย ในโรงเรียน ที่ขยายไปสู่กลุ่มเยาวชนมากขึ้น

· ส่งเสริมให้มีการเฝ้าระวัง และตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร เช่น ฟอร์มาลีน, สารฟอกขาว, บอแร็กซ์, ซัลบูตามอล ฯลฯ โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร นำเข้า

5. เตรียมความพร้อม พัฒนาระบบเฝ้าระวัง เตือนภัย การจัดการที่มีประสิทธิผล ทันการณ์ เมื่อเกิดภัยพิบัติ โรคระบาด และภัยสุขภาพ

· โครงการแท็กซี่สุขภาพ (Healthy Taxi) ส่งเสริมให้มีมาตรฐานของแท็กซี่สุขภาพ จำนวน 84,000 คัน เพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพแก่ผู้ใช้บริการ รับส่งกลับบ้าน

· การจัดตั้งศูนย์เตรียมพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานเฝ้าระวัง เตือนภัย และการบริหารจัดการปัญหาระดับชาติ

· จัดทำระบบการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัย เช่น โรคมือ เท้า ปาก

· จัดตั้งหน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (SRRT)

· จัดระบบการบรรเทาและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่เกิดเหตุอย่างทั่วถึง ภายใน 24 ชั่วโมง

· จัดตั้ง Disaster Management Assistance Team (DMAT) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการภัยพิบัติจำนวน 18 เขต (36 ทีม)

· จัดตั้งห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อม

6. จัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอื่น เช่น แรงงานข้ามชาติ

6.1 กลุ่มเด็ก: จัดให้มีศูนย์พัฒนาสุขภาพเด็กใน รพ.สต. จำนวน 9,750 แห่ง เพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ดังนี้

6.1.1. เกลือไอโอดีน โดยการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรทุกรายที่มาฝากครรภ์ และโครงการส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน ในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ

6.1.2. การเพิ่มพัฒนาการเด็ก 0-2 ปี โดยให้มีกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า ในศูนย์เรียนรู้ฯ ซึ่งจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี สมวัย โดยประสานงานกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสนับสนุนการดำเนินการแก่องค์กรปกครองท้องถิ่น

6.1.3. การคัดกรองและส่งต่อเด็กกลุ่มที่มีพัฒนาการและ IQ ต่ำกว่าปกติ เพื่อให้ความสำคัญในกิจกรรมการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้

6.2 กลุ่มสตรี : จัดให้มีศูนย์พัฒนาสุขภาพสตรี ในระดับอำเภอ โดยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 887 แห่ง เพื่อดำเนินกิจกรรม/โครงการ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะของสตรี ดังนี้

6.2.1. กิจกรรมลดความรุนแรงในเด็ก และสตรี รวมถึงการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือสตรี

6.2.2. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ที่รวมถึงการให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ เรื่องเพศศึกษา (Sex Education), เพศสัมพันธ์ที่รับผิดชอบ (Delay Sex) และเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย (Safe Sex)

6.2.3. การวางแผนครอบครัว

6.2.4. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยจะมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดย

- พบแพทย์เพื่อคัดกรองสำหรับ สตรีที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ทุก 3 ปี หรือ สตรีที่มีอายุมากกว่า 40 ปี สามารถตรวจได้ทุกปี

- ตรวจคัดกรองด้วยเครื่อง Mammogram สำหรับสตรีที่มีภาวะเสี่ยง

6.2.5. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วย PAP Smear สำหรับสตรีอายุมากกว่า 30 ปี (ตรวจทุก 5 ปี) เป้าหมายปีละ 2.6 ล้านคน

6.2.6. ตรวจและให้คำปรึกษาโรคทางเพศสัมพันธ์

6.2.7. ให้คำปรึกษาในการสร้างสุขภาพ อาทิ อาหารปลอดภัย, การดูแลสุขภาพ ฯลฯ

6.3 กลุ่มผู้สูงอายุ / ผู้พิการ : จัดให้มีศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ใน รพ.สต. จำนวน 9,750 แห่ง เพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และผู้พิการ ดังนี้

6.3.1 สนับสนุนฟันเทียมพระราชทาน ให้เพิ่มความครอบคลุมผู้สูงอายุ เพื่อสร้างรอยยิ้ม

6.3.2 สนับสนุนแว่นสายตา ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตา

6.3.3 การให้ความรู้ อยู่อย่างมีคุณภาพ ในการดูแลผู้สูงอายุ / ผู้พิการ

6.3.4 ศูนย์สันทนาการ, ออกกำลังกาย, ชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ

6.3.5 ดูแลสุขภาพเชิงรับ และดูแลทางการแพทย์โดย อสม.

นอกจากนี้ยังมีการจัดสร้างศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อเป็นการสังเคราะห์ความรู้ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบบริการ

7. สร้างแรงจูงใจและพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนโดยสนับสนุนอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย

· อบรม อสม.เชี่ยวชาญ

· เฉพาะอสม.เชี่ยวชาญ 200,000 ชุด (ชุดละ 2,000 บาท) ประกอบด้วย กระเป๋าและอุปกรณ์การแพทย์พื้นฐาน รวมเงิน 400 ล้านบาท

· งบสนับสนุนการปฏิบัติงาน อสม. เดือนละ 600 บาท/คน/เดือน

8. สร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับโดยปรับระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมและความก้าวหน้าในวิชาชีพที่เป็นธรรม สร้างกลไกพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

· ดูแลเรื่องขวัญกำลังใจ เช่น ค่าตอบแทน สถานะการเงินของสถานพยาบาล

· ผลิตเพิ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 2,000 คน (คนละ 100,000 บาท) จำนวนเงิน 200 ล้านบาท (ตั้งงบประมาณต่อเนื่อง 4 ปี) ผลิตพยาบาลวิชาชีพ 1 คน 1 ตำบล เพื่อทำให้ทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีพยาบาลปฏิบัติงาน

· การผลิตแพทย์โครงการพิเศษเพิ่มเติม จำนวน 1,000 คน/ปี ระยะเวลา 10 ปี เพื่อเพิ่มบุคลากร

9. เพิ่มการลงทุนในระบบบริการทุกระดับ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น มุ่งเน้นการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท

· เพิ่มงบลงทุนให้เพียงพอ

· จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง โดยมีเป้าหมายเบื้องต้น

a. โรงพยาบาลทั่วไป (70 แห่ง) แห่งละ 2 ศูนย์ (ศูนย์ละ 1 ล้านบาท) จำนวนเงิน 140 ล้านบาท

b. โรงพยาบาลศูนย์ (25 แห่ง) แห่งละ 3 ศูนย์ (ศูนย์ละ 3 ล้านบาท) จำนวนเงิน 75 ล้านบาท

10. ส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ

· ส่งเสริมการใช้ยาไทย/สมุนไพรไทยในสถานบริการเพิ่มขึ้น

11. ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub and Wellness) และระบบ โลจิสติก โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย

· สนับสนุนกิจการสปา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

· การแก้กฎหมายกิจการสปา

· การสนับสนุนโรงงานผลิตภัณฑ์สุขภาพไทยให้ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice)

12. สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดบริการสุขภาพ

· ส่งเสริมให้รัฐและเอกชนร่วมจัดบริการ

· สนับสนุนเอกชนให้จัดบริการศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยที่มีมาตรฐาน

13. พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพให้มีคุณภาพและบริการข้อมูลสุขภาพ สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

· โครงการปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพ ให้ทุกจังหวัดเป็นศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (Data Center)

· พัฒนาระบบ Call Center ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่างๆ อาทิ กลุ่มเยาวชน, กลุ่มสตรี, ผู้สูงอายุ, ผู้บริโภค ฯลฯ

· เพิ่มช่องทางสื่อสารด้านสุขภาพกับประชาชน

14. พัฒนา ผลักดันและการบังคับใช้กฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อการสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุข

· พรบ.ที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวง ด้านบุคลากร คุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนปรับปรุงกฎกระทรวงหรือ พรบ.ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่

· พรบ.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ พรบ.อาหาร, พรบ.ยา, พรบ.เครื่องสำอางค์, พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ ฯลฯ

· พัฒนา สื่อสารสาธารณะให้ประชาชนรับทราบข้อกฎหมาย และสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายให้ทั่วถึง

15. จัดตั้งศูนย์บำบัด ฟื้นฟู ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ควบคุม ป้องกันการใช้สารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของสารเสพติดชนิดใหม่

· มีจำนวนศูนย์บำบัด ให้พอเพียงต่อความต้องการ

16. จัดให้มีการสื่อสารสาธารณะ ด้านสุขภาพเพื่อให้ความรู้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

No comments:

Post a Comment