วันที่ 21 กันยายน 2554 อำเภอยิ้ม ช่วยน้ำท่วมบ้านทรายงาม : วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
ไปพร้อมกับ ทศพล นิติอมรบดี เพื่อสมทบกับ คณะของ นายสมเพชร สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้วและส่วนราชการทุกส่วน ออกหน่วยอำเภอยิ้ม เพื่อให้บริการและให้ ความช่วยเหลือและรับเรื้องร้องทุกข์ จากประชาชน ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และร่วมทำบุญ ณ โนวัดบ้านทรายงาม หมู่ที่ 5 ตำบลกุดกุง อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งมีประชาชนประสบภัย จำนวน 175 หลังคาเรือน
นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว พร้อมทีมงาน จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นำทีมชุดใหญ่พร้อมยาและเวชภัณฑ์ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ นายบุญตา หัวดอน ผู้ใหญ่บ้าน บ้านทรายงาม นายสมัคร พุ่มทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกุง และทีมงาน อสม . ได้เตรียมชุมชนไว้พร้อมสำหรับให้การบริการเป็นอย่างดี
บ้านทรายงาม ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เพราะถูกน้ำท่วม รอบๆหมู่บ้าน เป็นระยะทาง 4.5 กิโลเมตร
การสัญจรของราษฎรส่วนใหญ่ ต้องใช้เรือพายประจำครัวเรือน ส่วน การขนส่ง นักเรียนและประชาชนในอำเภอหรือจังหวัด ต้องใช้เรือท้องแบน ซึ่งมี จำนวน 2 ลำ ออกวันละ 2 เที่ยว
คณะของเราเป็นคณะใหญ่ ขอบพระคุณ ท่านวิชัย ไกยราช นายกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต ). กุดกุง และ ท่านกำนัน นิยม สร้อยหล้า กำนัน ตำบลกุดกุง ได้จัดเรือ รับส่ง จำนวน 6 เที่ยว
ขอบพระคุณ ทีมงานทุกท่าน อาทิ นายบัณฑิต ร่วมสุข ผู้อำนวยการโรงเรียน นายถวิล เศษบุบผา เกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว นางปุณยวีร์ มาลัย วัฒนธรรมอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายสมพร พร้อมจิตร คุณครู ร.ท.เพื่อน ฤทธิ์แผ่ว จากสัสดีอำเภอคำเขื่อนแก้ว ทีมงานจาก กศน.คำเขื่อนแก้ว รองผู้จัดการธนาคารออมสินและคณะ ร.ต.ต.ธนกร มนูญวงษ์ รองสารวัตร และคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจ จาก สภ.คำเขื่อนแก้ว พร้อม เจ้าหน้าที่ จากทุกหน่วยงาน
บันทึกเพิ่มเติม สถาณการณ์น้ำ ปีนี้เป็นปีแรก ที่น้ำเต็มทุ่งนา บ้านบกน้อย หลังจากฝนแล้งติดต่อกันมา 4 ปี ปีนี้มีน้ำมาก ด้วย อิทธิพลของ พายุ นกเตน และมรสุมตามฤดูกาล ณ วันนี้ บ้านเราน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ แต่ เพื่อนๆในต่างจังหวัดเรา กำลังประสบปัญหา น้ำท่วม หลายจุด ขอบันทึกไว้ด้วยคุณความดีจาก ข้อมูล ของ http://www.ryt9.com/s/cabt/1241112 พอสรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 15 กันยายน 2554 สรุปได้ดังนี้
เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน” ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา ประกอบกับปัจจุบัน ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ทั่วประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่งผลทำให้เกิดผลกระทบด้านการเกษตรทั้งสิ้นรวม 56 จังหวัด
ผลกระทบด้านการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ย.54)
ด้านพืช เกษตรกร 504,613 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 4,809,302 ไร่ แบ่งเป็นข้าว 4,192,131 ไร่ พืชไร่ 392,130 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 225,041 ไร่
ด้านประมง เกษตรกร 51,057 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย แบ่งเป็น บ่อปลา 54,852 ไร่กุ้ง/ปู/หอย 560 ไร่ กระชัง/บ่อซีเมนต์ 75,161 ตารางเมตร
ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 82,094 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น 3,954,046 ตัว แบ่งเป็น โค—กระบือ 86,012 ตัว สุกร 91,044 ตัว แพ-แกะ 4,505 ตัว สัตว์ปีก 3,772,485 ตัว แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ 4,389 ไร่
ณ วันที่ 15 กันยายน 2554ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่ 33 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี เลย นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ตราด และสตูล
สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 15 กันยายน 2554
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ 400 แห่ง มีปริมาณน้ำทั้งหมด ร้อยละ 83 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 51 ของความจุอ่าง มากกว่าปี 2553 จำนวน 14,532 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 16,060 ล้านลูกบาศก์เมตร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำทั้งหมด 33 แห่ง มีปริมาณน้ำทั้งหมดร้อยละ 78 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 45 ของความจุอ่าง มากกว่าปี 2553 จำนวน 16,944 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 12,372 ล้านลูกบาศก์เมตร
No comments:
Post a Comment