2/27/14

26กพ.2557:ต้นแบบที่ดี_บริการแบบองค์รวมผสมผสาน_รพ.สต.นาแก_รับนิเทศงาน คปอ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

26กพ.2557:ต้นแบบที่ดี_บริการแบบองค์รวมผสมผสาน_รพ.สต.นาแก_รับนิเทศงาน คปอ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วันที่26กุมภาพันธ์ 2557 ข้าพเจ้า นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ ออกนิเทศงานและเยี่ยมให้กำลังใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก ครั้งที่  1 ประจำปี 2557  ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่ง เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต้นแบบที่ดี_บริการแบบองค์รวมผสมผสาน
สิ่งดีๆที่ข้าพเจ้าพบเห็น ณ รพ.สต. นาแก  อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
ด้านโครงสร้าง
1.    สามารถต่อเติมอาคารชั้นล่าง โอ่โถง สะอาด สวยงาม ด้วยความร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจ จาก พลัง อสม. และพลังในชุมชน
2.    สามารถต่อเติมห้องประชุม เป็นห้องประชุม ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่สวยงามที่สด ด้วยเงินจากความร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจ ของพลัง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และพลังในชุมชน
3.    สามารถจัดภูมิทัศน์และดูแลสวนหย่อม ร่มรื่น สะอาด สวยงาม ตามบริบท และมีมุมเด่น ที่เป็นจุดสนใจสามารถถ่ายภาพรับแขก
4.    การจัดและดูแลห้องทำงาน อาคารสำนักงาน ห้องประชุม ได้ ตามเกณฑ์ 5 ส.
ความเห็นดีๆ ที่ประทับใจจากผู้มาเยี่ยมให้กำลังใจ
เป็นเรื่องที่วิเศษของผม ที่มีโอกาสได้มารับทราบถึงผลจากการทำงานแบบองค์รวม และผสมผสาน ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับแห่งอื่นๆได้ โดย บุคลากรเพียง 3 คน สามารถมีผลงานที่เป็นรูปธรรมที่ส่งผลต่อผู้รับบริการในทุกๆด้าน สิ่งที่ซ่อนอยู่คือ ศรัทธาที่ดีจากประชาชน นั่นหมายถึงว่า เจ้าหน้าที่ รพ.สต.นาแก ต้องได้สร้างกุศลการบริการที่ดีให้กับ ประชาชนมากๆๆ เลย หาก นำ Concept ของ PCA 7 หมวดมาจับ ถือด่า ณ รพ.สต.นาแก แห่งนี้ ผ่านการประเมิน PCA แล้วนายกันตภณ รัตนปัญญา หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
 “ได้เห็นถึงความตั้งใจ ในการทำงาน ภายใต้บุคลากรที่จำกัดเพียง 3 คน แต่ผลงานที่ออกมา เทียบได้กับคน 30 คน เลยทีเดียวนางนัยนา ดวงศรี หัวหน้าฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ผมประทับใจ และชื่นชม คุณพรรณลิณ ที่นำเอาโครงการในพระราชดำริ มาปฏิบัติจริงให้เกิดประโยชน์ ต่อประชาชน ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจมาก และผมจะขอนำเอาแนวคิด ในลักษณะนี้ไปปรับใช้การทำงานต่อไปภก.กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี หัวหน้างานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ที่นาแกนี้ นานๆครั้ง จะมีสักครั้ง Case สุดท้าย รักษาหายเมื่อปี 53 ที่ รพ.สต.นาแกนี้ มีจุดเด่นมาก ในการค้นหา TB Case และผู้รับผิดชอบงาน รพ.สต.นาแก ทุกคนปฏิบัติงาน การควบคุมวัณโรคที่ดีมาก จนปัจจุบันเป็นพื้นที่ ปลอดผู้ป่วยวัณโรคนางชนิดา อุปยโสธร     พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หัวหน้างานวัณโรค โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
 “รพ.สต.นาแก มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่น ในงาน NCD ทั้งเบาหวาน ความดัน และมะเร็ง จาก KPI QOF งานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่ทำได้ยาก ณ รพ.สต.นาแก ก็มีผลงานการคัดกรองได้ถึง 93.78 % ซึ่งถือว่าดีมาก
นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
วันนี้ ผอ.คมสัน และทีมงาน เป็นตัวอย่างที่ดี ในการนำเสนอผลงาน สั้น กระชับ ไม่มาก แต่สามารถตอบโจทย์ ได้ สุดสาย ตั้งแต่ หมวด 1 การนำองค์กร ไปจนถึง หมวด 7 ผลงานที่ส่งผ่านไปถึง ประชาชนผู้รับบริการนางชนิดา อุปยโสธร    พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หัวหน้างานวัณโรค โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
สิ่งที่ผมประทับใจคือ ปี 2549 ได้ระดมเงิน 3 แสนกว่า จากชุมชน ต่อเติมอาคารชั้นล่าง ให้บริการด้วยความสะดวกสบาย จนถึงปัจจุบัน ณ วันนี้ มี รพ.สต.แห่งอื่นๆ นำเป็นแบบอย่างในการต่อเติม สิ่งที่ภาคภูมิใจอีกประการคือ ได้สร้างคนในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ผมมาทำงานที่นี่ ปี 2537 ถึงปัจจุบัน 20 ปี ถือว่าได้สร้างชุมชนร่วมกันมาจนเป็นวัยหนุ่ม ด้วยความที่อยู่นานจึงใช้เป็นจุดแข็งในการสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนางานใน รพ.สต.นาแก ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนนายคมสัน  อดกลั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
ความประทับใจของผู้รับบริการ มีกรณี Case เบาหวาน ยายนงค์ และคุณยายบุญล้อม ประการแก้ว
ที่กินยาเบาหวานติดต่อกันมานาน 10 ปี มีภาวะไตเสื่อม บางรายแพทย์แนะนำให้ตัดนิ้ว  ตัดขา แต่ผู้ป่วยไม่ต้องการตัดนิ้ว จึงหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยยา 9 เม็ด ตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม ทำเป็นประจำมาตั้งแต่ปี 2553 มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ที่สำคัญคือ น้ำหนักลดลงจาก 70 เหลือ 66 กิโลกรัม ปกติแล้ว จะเหนื่อยง่าย เดี๋ยวนี้ จะสบายตัว ไม่เหนื่อยง่าย นอกจากปฏิบัติด้วยตนเองเป็นประจำแล้ว ยังได้แนะนำให้เพื่อนบ้านและญาติทำด้วย วัสดุ พืชผัก ในการทำ ก็ปลูกเอง ใช้เอง  ประเมินผล ใช้การปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ด้วยยา 9 เม็ด ตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม การประเมินผลพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน (สีดำ) จำนวน 12 คน สามารถผ่านการประเมินระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 50 ” นายคมสัน  อดกลั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
ดิฉัน เป็นคนในพื้นที่นี้ ผู้คนส่วนมาก เป็น ญาติพี่น้องกัน ปริยากร ทำงานกับญาติ พี่น้อง ให้บริการประชาชนเสมือคนในครอบครัว ในบางวัน ที่มีผู้ป่วยมาก เช่นคลินิคเบาหวาน เขารอนอน เราก็จัดบริการเสริมให้เขารู้สึกได้ว่าไม่รอนาน เช่นการทำสปามือ สปาเท้า การสาธิตอาหาร การส่งเสริมการออกำลังกายเป็นต้นนางปริยากร   อดกลั้น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
การดูแล ราย Case หรือ Case management พ่อสมาน รวมธรรม เป็นตัวอย่างที่ดี ท่านเป็น เบาหวาน ต้องพึ่งฉีดอินซูลิน เป็นประจำ จากระดับน้ำตาล swing case ปัจจุบัน เป็น stable แล้ว จาก 200 กว่า เหลือ 160 stable”
นายพรรณลิน  อาจวิชัย จพ.สาธารณสุข  ชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
การป้องกันไข้เลือดออก ที่ดีที่สุดคือไม่ใช้สารเคมี เราทราบดี แต่วิถีชุมชน คือ หากเราพ่น สิ่งที่ตามมาคือ ด้านจิตใจ ว่าเรา และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทำงานในชุมชน เป็นกลวิธี ให้เกิดความร่วมมือ ในชุมชน หากไม่พ่น เราจะไม่ได้รับความร่วมมือในด้านอื่นๆ อีกเพียบ ฉะนั้น เมื่อเราต้องพ่น สิ่งที่ตามมา คือ ค่าใช้จ่าย
เพื่อลดค่าใช้จ่าย ต่างๆ จากการพ่นเคมีฆ่ายุง จึงได้คิดค้นวิธี โดยการใช้น้ำมันพืชใช้แล้ว ซึ่ง น้ำมันพืช เป็นเครื่องมือ ในการให้เจ้าหน้าที่ ไปเยี่ยมเยือน ครัวเรือน เยี่ยมผู้ป่วย เรื้อรัง เยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรัง และกลุ่มเป้าหมายตาม Family Folder ตรวจสภาพแวดล้อม ตรวจสุ่มลูกน้ำยุงลาย ตรวจครัว เป็นต้นนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแกปัจจุบัน
นายคมสัน  อดกลั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
นางปริยากร   อดกลั้น        พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
นายพรรณลิน  อาจวิชัย      จพ.สาธารณสุข  ชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
ขอบพระคุณ คณะนิเทศงานผู้ร่วมออกให้คำแนะนำ ในวันนี้ประกอบด้วย














คณะจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  หัวหน้าทีม
นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้างานสุขภาพภาคประชาชน สสอ.คำเขื่อนแก้ว
ทศพล นิติอมรบดี  หัวหน้างานอนามัยสิ่งแวดล้อม และคบส. สสอ.คำเขื่อนแก้ว
นางชนัญชิดา  จุฑาสงฆ์ หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล สสอ.คำเขื่อนแก้ว
นายสุนทร  วิริยะพันธ์  หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ สสอ.คำเขื่อนแก้ว

คณะจากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นายกันตภณ รัตนปัญญา    หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางนัยนา ดวงศรี              หัวหน้าฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ภก.กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี หัวหน้างานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางอริยวรรณ จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางชนิดา อุปยโสธร          พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หัวหน้างานวัณโรค โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

นางเพ็นนี กลิ่นใกล้           จพ.ทันตสาธรณสุข ชำนาญงาน หัวหน้างานอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

No comments:

Post a Comment