6/24/15

11 มิย.2558 ผู้นำยุคใหม่และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

11 มิย.2558 ผู้นำยุคใหม่และการบริหารการเปลี่ยนแปลง
วันที่ 11 มิถุนายน  2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  และคณะ ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง(ผ.บ.ก.) (Middle Level Public Health Administrators) รุ่นที่ ๒๙ ณ วิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น  ร่วมกิจกรรม เนื้อหาวิชา 2 เรื่อง
เรื่องที่ 1 ภาวะผู้นำยุคใหม่และการบริหารการเปลี่ยนแปลง
เรื่องที่ 2 นโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานสาธารณสุข
วิทยากร นายแพทย์อิทธิพล สูงแข็ง  สาธารณสุขนิเทศ เขตบริการสุขภาพที่ 7
รักษาการในตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข ระดับ 10 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ร้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง
รู้เขา      คือ ปัจจัยภายนอก องค์กร ( PETS Political Economic Technology Social)
รู้เราคือ ปัจจัยภายใน องค์กร ( 7S Strategy Structure System Staff Skill Style และ Share Value)
คำว่ารู้ คือรู้อะไร คำตอบ คือ รู้ว่าทุกสิ่งอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง) นั้นเกิดขึ้นได้
การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่สำคัญ เป็นไปตามทฤษฎี 3 C คือ
1.     Customer Focus
2.     Competition
3.     Crisis
การเปลี่ยนแปลงมีจากสาเหตุใน 2 ปัจจัย คือ สาเหตุจากปัจจัยภายนอก และ สาเหตุจากปัจจัยภายใน 
สาเหตุจากปัจจัยภายนอก
การวิเคราะห์ดูสาเหตุปัจจัยภายนอก โดยใช้ มีทฤษฎี PEST  Analysis
P  = Political  component  ดูกฎหมาย นโยบายของรัฐบาล
E  = Economic  component  ดูสภาพเศรษฐกิจ
S  = Sociocultural component  ดูสภาพสังคม
T  = Technological  component   ดูเทคโนโลยี
สาเหตุจากปัจจัยภายใน  วิเคราะห์จาก Model ของ McKinney 7-S Framework
Strategy Structure System Staff Skill Style และ Share Value

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ   Chief Changing Officer : CCO
บทบาทหน้าที่สำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ สามารถ

สาเหตุจากปัจจัยภายใน  วิเคราะห์จาก Model ของ McKinney 7-S Framework
Strategy Structure System Staff Skill Style และ Share Value
กลยุทธ์ขององค์กร (Strategy)
องค์กรอยู่ที่ไหนในขณะนี้  องค์กรมีเป้าหมายอยู่ที่ไหน พันธกิจของเราคืออะไร พันธกิจของเราควรจะเป็นอะไร และใครเป็นผู้รับบริการของเรา การบริหารเชิงกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กร กำหนดและพัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขึ้นมาได้และเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์กรรู้ว่าจะใช้ความพยายามไปในทิศทางใดจึงจะประสบความสำเร็จ
โครงสร้างองค์การ (Structure) คือโครงสร้างที่ได้ตั้งขึ้นตามกระบวนการ หรือหน้าที่ของงานโดยมีการรับบุคลากรให้เข้ามาทำงานร่วมกันในฝ่ายต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดองค์กรที่ดีจะมีส่วนช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ลดความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งในหน้าที่ ช่วยให้บุคลากรได้ทราบขอบเขตงานความรับผิดชอบ มีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 
ระบบการปฏิบัติงาน (System) ในการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามที่กำหนดไว้นอกจากการจัดโครงสร้างที่เหมาะสมและมีกลยุทธ์ที่ดีแล้ว การจัดระบบการทำงาน (Working System) ก็มีความสำคัญยิ่ง อาทิ ระบบบัญชี/การเงิน (Accounting/Financial System) ระบบพัสดุ (Supply System) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology System) ระบบการติดตาม/ประเมินผล (Monitoring/Evaluation System) ฯลฯ
บุคลากร (Staff) การคัดเลือกและจัดวางบุคลากรได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
คัดเลือก คนเก่งเขา
พัฒนาคนเก่ง ให้เป็น คนดี
รักษาคนดีเอาไว้
ส่งเสริมคนดีให้เจริญก้าวหน้า
ทักษะ ความรู้ ความสามารถ (Skill) ทักษะ 2 ด้านหลัก คือ  
ทักษะด้านงานอาชีพ (Occupational Skills) เป็นทักษะที่จะทำให้บุคลากรสามารถปฎิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ได้ ตามหน้าที่ และลักษณะงานที่รับผิดชอบเช่น ด้านการเงิน ด้านบุคคล ซึ่งคงต้องอยู่บนพื้นฐานการศึกษาหรือได้รับการอบรมเพิ่มเติม ส่วน
ทักษะ ด้านความถนัด หรือความชาญฉลาดพิเศษ (Aptitudes and special talents) นั้นอาจเป็นความสามารถที่ทำให้พนักงานนั้นๆโดดเด่นกว่าคนอื่น ส่งผลให้มีผลงานที่ดีกว่าและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้รวดเร็ว  
ซึ่งองค์การคงต้องมุ่งเน้นในทั้ง 2 ความสามารถไปควบคู่กัน 
รูปแบบการบริหารจัดการ (Style)
แบบแผนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมภายในองค์กร พบว่า ความเป็นผู้นำขององค์กรจะมีบทบาทที่สำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กร ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องวางโครงสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วยการเชื่อมโยงระหว่างความเป็นเลิศและพฤติกรรมทางจรรยาบรรณให้เกิดขึ้น 
ค่านิยมร่วม (Shared values)

            ค่านิยม บรรทัดฐาน ที่ยึดถือร่วมกัน วัฒนธรรมองค์กร ที่เข้มแข็ง 

















No comments:

Post a Comment