6/10/15

8 มิย.2558 บุคลิกภาพ_ศิลปะการพูดและการสื่อสารของผู้บริหารที่ดี

8 มิย.2558 บุคลิกภาพ_ศิลปะการพูดและการสื่อสารของผู้บริหารที่ดี
วันที่ 8 มิถุนายน  2558 ภาคเช้า วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  และคณะ ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง(ผ.บ.ก.) (Middle Level Public Health Administrators) รุ่นที่ ๒๙ ณ วิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น  ร่วมกิจกรรม ฝึกประสบการณ์ เนื้อหาวิชา กระบวนการคิดและการตัดสินใจทางการบริหาร
วิทยากร โดย อ.ศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  

การคิดแนวข้าง(Lateral thinking)
Lateral thinking มีส่วนสัมพันธ์ กับ Creative thinking เพราะมีส่วนที่อ้างอิงกันและกัน ซึ่งเจ้าของแนวคิด เรื่องนี้ คือ Edward De Bono ซึ่งกล่าวถึง Creative thinking ว่า มีบางส่วนที่เป็นจุดด้อย เช่น คนที่มีแนวความคิดสร้างสรรค์อย่างเดียว อาจจะขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกมากเกินไปในการคิดให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่สร้างสรรค์ออกมา
หรือ อาจจะมุ่งอยู่กับความคิดสร้างสรรค์นั้นๆจนไม่มองมุมอื่นๆที่อาจสร้างสรคค์น้อยกว่าแต่มีประโยชน์มากกว่า...
หรือ การให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นๆออกมา ทำให้คนๆนั้นกลายเป็นพวกที่มีอัตตาตัวตนสูงมาก จนไม่ฟังใครเลยก็เป็นได้
หรือที่น่ากลัวคือ...เมื่อเอาความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ได้สักพัก พอเกิดประเด็นปัญหาขึ้นมา ก็อาจจะเลิกใช้กลางคันเลยก็เป็นได้ แต่ถึงอย่างไร  Edward De Bono ก็แนะนำว่า... 
ทั้งแนวความคิด(Creative thinking และ Lateral thinking) ต้องใช้ “เสริมซึ่งกันและกัน”
โดยหลักการแล้ว การคิดแนวข้าง Lateral thinking นั้นมีประโยชน์มากกว่าเพราะนอกจากจะตั้งอยู่บน เทคนิคและทักษะในการสร้างความคิดแล้ว ยังต้องมีเรื่อง “เจตคติ” หรือ อารมณ์หรือ ความรู้สึกกำกับด้วย เช่น...
เจตคติในการตระหนักว่า “การยึดติดกับมุมมองที่ตายตัว” นั้น มีอันตราย
เจตคติในการตระหนักว่า “การกักขังทางแนวความคิด” นั้น มีอันตราย
เจตคติที่ต้องตระหนักถึง “ความจำเป็น” ที่จะต้องหาวิธีสำหรับทำสิ่งต่างๆในแบบที่ “ต่างไปจากเดิม”
เจตคติในการตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างการคิดแนวข้างกับการคิดแนวตั้ง เป็นต้น
การคิดแนวตั้งจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลและคิดคำนวณและมุ่งที่จะนำแนวคิดต่างๆ(ที่ได้มา) ไป “ปฏิบัติจริง”
นั่นย่อมแสดงว่า...การคิดแนวตั้ง ต้องอาศัย การคิดแนวข้าง ในการ “สร้างแนวคิดที่มีประสิทธิผล” ให้ก่อนนั่นเอง
การคิดแนวข้าง
เกี่ยวข้องกับการจัดแบบแผน การสร้างทางเลือก และ วิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา นั่นคือ จะเลือกแนวความคิดต่างๆ(ที่มีประสิทธิผล)
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า แนวคิดทั้งสอง (การคิดแนวตั้งและคิดแนวข้าง) เป็นสิ่งจำเป็น และจะต้องใช้เสริมกันในการปฏิบัติจริง
ในประเด็นสุดท้าย... หากเราตั้งว่า ความคิดสร้างสรรค์ คือ บริบทกว้างๆ Context
การคิดแนวข้าง Lateral thinking อาจเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการสร้างแนวคิดใหม่ๆที่สร้างสรรค์ในการจัดการงานหรือแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล
แต่คงต้องบอกว่า “การหาแนวทางสร้างสรรค์” ในบริบทกว้างๆนี้ อาจจะมีเครื่องมืออื่นๆที่นำมาใช้ได้เหมือนกัน
และในอนาคตก็คงมีคงพัฒนา “เครื่องมือ” ออกมาใช้กันอีก

ฝึกประสบการณ์ The Six Thinking Hats การคิดอย่างมีระบบ by Edward de Bono

หนึ่งครั้งหนึ่งเรื่อง  ความสับสนเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของการคิดที่ดี เราพยายามทำหลายสิ่งหลายอย่างมากเกินไปในเวลาเดียวกัน เรามองหาข้อมูล เราได้รับผลกระทบจากความรู้สึกของเรา เราแสวงหาความคิดใหม่ๆและทางเลือกใหม่ แล้วเรายังต้องระมัดระวัง เราอาจเห็นประโยชน์ที่อาจมีอยู่ นั่นคือหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องทำระหว่างการคิด การโยนรับสับเปลี่ยนหมวกหกใบในเวลาเดียวกันเป็นเรื่องยาก ใบเดียวต่อครั้งจะง่ายกว่ามาก
ด้วยวิธีการคิดแบบหมวกนี้ เราพยายามทำเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นในแต่ละครั้ง ครั้งหนึ่งเราอาจจะมองหาอันตรายที่อาจมีอยู่(หมวกดำ)อีกครั้งหนึ่งเราแสวงหาความคิดใหม่ๆ(หมวกเขียว) และอีกบางครั้งที่เราสนใจข้อมูล(หมวกขาว)เราจะไม่พยายามทำทุกย่างในเวลาเดียวกัน เวลาเราทำงานพิมพ์สี สีแต่ละสีจะพิมพ์แยกกันทีละครั้ง ทีละสีและสุดท้ายเราก็ได้รับงานผลรวมเป็นงานพิมพ์สีที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับความคิดแบบหมวกทั้งหก เราทำแต่ละเรื่องในแต่ละครั้ง และสุดท้ายภาพที่เต็มสมบูรณ์ก็จะปรากฏภายใต้เรื่องราวทั้งหมดนี้คือความจำเป็นทางจิตวิทยาที่ต้องแยกความคิดแต่ละแบบออกจากกัน
หมวกหกใบหกสี วิธีคิดที่มากกว่า 4 ทิศ  
แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วย
สีฟ้า หมายถึงการควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ

ขั้นตอน คือ เริ่มจาก หมวกสีฟ้าก่อน ( คัดเลือกประธานดำเนินการประชุม)
หลังจากนั้น ต้องดำเนินการตามสีหมวกดังนี้  
หมวกสีขาว ( เป็นกลาง ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง แสดงเกี่ยวกับข้อเท็จจริง และตัวเลข)  
เพื่อให้ได้ข้อมูล ที่เป็น FACT ให้ได้มากที่สุด (ขั้นตอนนี้ หากมีบางคน ใส่อารมณ์ ความรู้สึก เข้าไป
ประธาน ก็ต้อง พยายามจำกัดไว้ เพื่อให้ไปแสดงบทบาทในขั้นตอน ของ หมวกสีแดง หรือ สีเหลือง ต่อไป)
หมวกสีแดง มุมมองด้านอารมณ์เชิงลบ แสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล  ให้ทุกคนใส่ อารมณ์ เปิดเผยความรู้สึกที่เป็นอยู่ออกมา โดย ไม่ต้องมีเหตุผล ไม่ต้องมีคำอธิบาย
(ประธานปล่อยให้เขาแสดงเต็มที่ แต่ กำกับ ที่ประชุมได้โดย ใช้เวลา เป็นตัวกำกับ เช่น เรามี เวลา เรื่องนี้ 5 นาที เป็นต้น)
หมวกสีดำ มุมมองด้านลบ หมวกข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
 ให้ทุกคน ใช้เหตุผล วิเคราะห์ เพื่อมองหาจุดอ่อน หรือ ด้านลบ ประโยชน์ คือ ทำให้เกิดความระมัดระวัง
หมวกสีเหลือง มุมมองด้านอารมณ์ด้านบวก มองโลกในแง่ดี รวมถึงความหวัง เน้นการสำรวจและการคาดการณ์ไปในทางบวก ให้ทุกคนใส่ อารมณ์ เปิดเผยความรู้สึกที่เป็นอยู่ออกมา โดย ไม่ต้องมีเหตุผล ไม่ต้องมีคำอธิบาย 
(ประธานปล่อยให้เขาแสดงเต็มที่ แต่ กำกับ ที่ประชุมได้โดย ใช้เวลา เป็นตัวกำกับ เช่น เรามี เวลา เรื่องนี้ 5 นาที เป็นต้น)
หมวกสีเขียว หมวกคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความคิดใหม่ๆ มองหาวิธีการใหม่ๆ สร้างช่วงเวลาที่มีอิสระในการคิด ทำให้เกิดทางเลือก เสนอทางเลือก
หมวกสีฟ้า หมวกการควบคุม จัดระบบของกระบวนการคิด  และการใช้หมวกอื่นๆ หมวกของประธานการประชุม  รักษากฎ ระเบียบ ในการประชุม
            ทั้งนี้ หากมีสมาชิกประสงค์จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ แต่ต้อง วนอีกรอบ ในการหาในกระบวนการคิดจากหมวกทุกๆสี

การฝึกปฏิบัติ
Issue: นายกฯประยุทธควรอยู่ต่ออีก 2 ปี หรือไม่ด้วยเหตุใด
เริ่มจาก ให้ใช้เทคนิค The Six Thinking Hats การประชุมและให้ได้ข้อสรุปในกลุ่มในเวลาที่กำหนด
หากไม่ใช้เทคนิค The Six Thinking Hats การประชุมจะไม่สามารถได้ข้อสรุป ในเวลาอันสั้น
เพราะจะแสดงบทบาทหมวกสีแดง หรือ สีเหลือง กันมากเกินไป
            สรุปผลการประชุม ของแต่ละกลุ่มได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เห็นควรให้อยู่ต่อ เพื่อแก้ไขปัญหา ต่างๆ ของประเทศ ให้สำเร็จ
เหตุผล : กรุงโรม ไม่ได้สร้างในวันเดียว ถ้าจะสร้างเมืองไทย ต้องใช้เวลาหลายปี
ข้อเสนอแนะ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ให้สามารถสื่อสารภาษาสากลได้
            ควรคควบคุมอารมณ์ รับฟัง ข้อมูล จาก บุคคลอื่นๆให้มากขึ้น
กลุ่มที่ 2 เห็นควรให้อยู่ต่อ เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาประเทศ ให้ก้าวหน้า
เหตุผล : ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง
กลุ่มที่ 3 เห็นควรให้อยู่ต่อ เพื่อแก้ไขปัญหา ให้ชนะอธรรม  
เหตุผล : เด็ดขาด ตัดสินใจเร็ว ประเทศชาติเรายังไม่เป็นธรรมชาติมีความขัดแย้งของคนในชาติ
รัฐบาลจึงต้องสร้างให้เกิดความสงบสุข สามารถแก้ปัญหาประเทศชาติได้อย่างเป็นระบบ  
กลุ่มที่ 4 เห็นควรให้อยู่ต่อ เพื่อแก้ไขปัญหา ให้ชนะอธรรม 
เหตุผล : ประเทศชาติเรายังไม่เป็นธรรมชาติมีความขัดแย้งของคนในชาติ จำเป็นต้อง ให้มีความสงบจึงจะพัฒนาไปข้างหน้า ได้














Hitler ฮิตเลอร์ จะสร้างจักรวรรดิ เยอรมัน ให้รุ่งเรือง
Hitler ฮิตเลอร์ แบ่งคน ออกเป็น 4 กลุ่ม จาก ระดับ สถิปัญญา และ พฤติกรรม
กลุ่มที่ 1. โง่ และ ขี้เกียจ    ผลงานน้อย จึงผิดพลาดน้อย  คนไทย เรียกว่า ไม่รู้ ไม่ชี้
กลุ่มที่ 2. โง่ และ ขยัน แต่ ขยัน ในเรื่อง โง่ๆ  จึงเกิดความผิดพลาดขึ้นได้มาก หรือกลุ่ม ไม่รู้ แล้วชี้
กลุ่มที่ 3. ฉลาด และ ขี้เกียจ สามารถพัฒนาพฤติกรรม ได้          หรือกลุ่ม  รู้ แล้ว ไม่ชี้
กลุ่มที่ 4. ฉลาด และ ขยัน ดีหนึ่ง ประเภท หนึ่ง  หรือกลุ่ม ทั้งรู้ และ ชี้

การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือการคิดดแนวตั้ง
การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึง  ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างที่นำเสนอ แต่ตั้งคำถามท้าทายหรือโต้แย้งข้ออ้างนั้น เพื่อเปิดแนวทางความคิดออกสู่ทางต่าง ๆ ที่แตกต่าง อันจะนำไปสู่การแสวงหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่าข้ออ้างเดิม
คำนิยามอื่นๆ เช่น Critical thinking คือการคิดไตร่ตรองที่เน้นในเรื่องการตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใด หรือจะทำหรือไม่ทำสิ่งใด 
องค์ประกอบของการคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)
1.     การคิดอย่างมีวัตถุประสงค์
2.     มีเหตุผล
3.     เป้าหมายเป็นตัวกำหนดทิศทางการคิด
4.     มีความสามารถในการคิดอย่างระมัดระวัง บนพื้นฐานของการใช้ข้อมูล อย่างมี ตรรกะ
5.     มีแนวคิดจากหลากหลายมุมมอง
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ   เป็นลำดับขั้นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 5 ขั้นตอน ได้แก่ TAEDI
1.  เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ไม่คาดหวัง (Trigger event) เมื่อสมมติฐานที่เราคาดหวังว่าน่าจะเกิดขึ้นไม่สอดคล้องกับความจริงที่ประสบทำให้เรารับรู้ถึงความผิดปกติไปจากสิ่งที่ควรจะเป็นหรือเกิดการกระทำในทางตรงกันข้าม  ก่อให้เกิดความไม่สบายใจสับสน  ส่งผลให้เราเริ่มเปลี่ยนมุมมองและเรียนรู้ที่จะคิดในเชิงโต้แย้ง
2.  การประเมินสถานการณ์ (Appraisal) โดยตรวจสอบด้วยตนเองอย่างละเอียดว่าเกิดสิ่งใดขึ้นเพื่อจะประเมินค่าว่าจะตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร
3.  การวินิจฉัยตรวจสอบอย่างละเอียด (Exploration)   เริ่มยอมรับความขัดแย้งและพยายามหาทางอธิบายความขัดแย้งที่เกิดขึ้น   เพื่อลดความรู้สึกไม่สบายใจ   อันนำไปสู่ขั้นที่สี่  ทำให้เกิดการค้นหาทางเลือกใหม่ คำตอบใหม่ แนวคิดใหม่ ๆ การจัดระเบียบโลกทัศน์ใหม่เป็นต้น
4.  พัฒนามุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม (Development of Alternative Perspectives) เมื่อพบว่าสิ่งที่เคยเชื่อ เคยยึดถือ ไม่สามารถเป็นจริงได้อีกต่อไป จึงพยายามทางทางเลือกใหม่  มุมมองใหม่และพัฒนามุมมองใหม่เหล่านั้นในทางปฏิบัติโดยคิดว่าจะต้องดีกว่าเดิม
5.  บูรณาการวิธีคิดและพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น  (Integration)  โดยคิดว่าสิ่งนั้นถูกต้องและเหมาะสม ขั้นนี้เป็นลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงขั้นสุดท้ายที่ทำให้เกิดโลกทัศน์ใหม่  ทัศนคติใหม่ สมมติฐานใหม่และเริ่มเกิดความคุ้นเคยต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


            เนื้อหา เกี่ยวกับ Six Thinking Hats
The Six Thinking Hats การคิดอย่างมีระบบ by Edward de Bono
Six thinking hats คือ เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ
และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดร. Edward de Bono (เอดเวิร์ด เดอ โบโน) ได้คิดค้นเทคนิค six thinking hats ขึ้น เพื่อเป็นระบบความคิด มีหลักในการจำแนกความคิดออกเป็น 6 ด้าน ทำให้สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยการคิดทีละด้านอย่างเป็นระบบ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้ทักษะการคิด ทำให้ไม่คิดกระโดดไปกระโดดมา หรือคิดพร้อมกันทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้สับสนใช้เวลานาน และสรุปไม่ได้
สีและความหมายของหมวก 6 ใบ Six Thinking Hats ประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ
หมวกใบที่ 1.White Hat หรือ หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์ และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน แน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น โดยปกติแล้วเรามักจะ ใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิดเพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้นแต่เราก็ใช้หมวกขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน เพื่อทำการประเมิน อย่างเช่นข้อเสนอโครงการต่างๆของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่ตัวอย่างคำถามที่ให้ได้มาซึ่งความคิดแบบหมวกสีขาว เช่น มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้,

หมวกใบที่ 2.Red Hat หรือ หมวกสีแดง หมายถึง ความรู้สึก สัญชาตญาณ และลางสังหรณ์ เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ หรือการตระหนักรู้โดยฉับพลันซึ่งก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจในแบบหนึ่ง อยู่ๆก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบก้าวกระโดด ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที ซึ่งเป็นผลจากการใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ เป็นการตัดสินที่ไม่อาจให้รายละเอียดหรืออธิบายได้ด้วยคำพูด เช่นเวลาที่คุณจำเพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำได้ในทันที
หมวกใบที่ 3.Black Hat หรือ หมวกสีดำ หมายถึง ข้อควรคำนึงถึง สิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจากการเสียเงินและพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญา และผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย
หมวกใบที่ 4.Yellow Hat หรือ หมวกสีเหลือง หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์ เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้ การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจากความผิดพลาด ความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นการคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการ และความกระหายที่จะทำสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้น หรือไม่
หมวกใบที่ 5.Green Hat หรือ หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิม และความคิดนอกกรอบนั้นจะอาศัยข้อมูลจากระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
หมวกใบที่ 6.Blue Hat หรือ หมวกสีน้ำเงิน หมายถึง การควบคุม และการบริหารกระบวน การคิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดี และถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็สามารถ สวมหมวกน้ำเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน ตัวอย่างคำถามที่ผู้สวมหมวกน้ำเงินสามารถนำไปใช้ได้ ได้แก่ เรื่องนี้ต้องการคิดแบบไหน ขั้นตอนของ เรื่องนี้คืออะไร เรื่องนี้จะสรุปอย่างไร ขอบเขตของปัญหาคืออะไร ขอให้คิดว่าเราต้องการอะไร และให้เกิดผลอย่างไร เรากำลังอยู่ในประเด็นที่กำหนดหรือไม่ เป็นต้น ผู้สวมหมวกน้ำเงินเปรียบเสมือนผู้ควบคุมวงดนตรีที่จะทำให้ผู้เล่นดนตรีแต่ละชิ้นบรรเลงสอด
ขอบคุณข้อมูล ประกอบ จาก

ตัวอย่างกระบวนการคิดและการตัดสินใจทางการบริหาร
ขงเบ้งดีดพิณบนกำแพง สงบ สยบ ความเคลื่อนไหว
กรณีสุมาอี้ และบุตรชาย 2 คน นำทัพ 2 แสน ยกพล จะบุกเมือง ที่ มีขงเบ้งเฝ้าเมือง ที่มีเด็ก คนชรา และทหาร รักษาเมืองเพียง 2,500 นายเท่านั้น
สั่งให้ทุกคนในเมือง เงียบให้มากที่สุด ตนเอง นั่งดีดพิณ อย่างสบายใจ
( สิ่งที่ซ่อนอยู่ คือ ขงเบ้ง ศึกษา สุมาอี้ แล้วในทุกแง่มุม และ สุมาอี้ เคยโดนกลลวงของขงเบ้ง เสียหายมาแล้ว หลายครั้ง จึงไม่กล้าบุก ทั้งที่ บุตรชาย ทั้ง 2 คน ต้องการที่จะบุก)
คนที่จะคิดนอกกรอบได้คนๆนั้นจะต้องมีกรอบความคิดของตนเองก่อน
เช่น ขงเบ้ง สามารถคิดนอกกรอบได้ เพราะเป็นคนที่มี กรอบความคิด ที่ดี หรือมีปัญญาที่ดี กรอบความคิดที่ดีมาจาก ความรู้ที่ดี ความรู้ที่ดี มาจากข้อมูลที่รอบด้าน ขงเบ้งเป็นคนที่ใส่ใจในรายละเอียด
DNA ของ ToYoTa คืออะไร
ToYoTa ใจดีมาก ในทุกองค์กรที่ ต้องการศึกษาดูงาน ก็จะให้เข้าไปดูหมด แม้แต่คู่แข่ง
            คู่แข่ง เข้าไปดูแล้ว แต่ ทำไม จึงทำเหมือน ToYoTa ไม่ได้
เพราะ ทุกองค์กร ที่ไปดู ยังไม่สามารถมองเห็น สิ่งที่เป็น ตัวตน ของ ToYoTa ได้ สิ่งที่เป็น ตัวตน ของ ToYoTa
ที่มองไม่เห็น เขาเรียกว่า DNA ของ ToYoTa ซึ่ง DNA ของ ToYoTa คือ การมี KM ที่มี แข็งแรง
            KM ที่แข็งแรง คือ การทำงาน ตาม Work Procedure พนักงานทุกคน ต้องทำตาม อย่างเคร่งครัด
เพราะผ่านการทดสอบมามากแล้ว จนเป็นที่ยอมรับ แต่หาก พนักงานมีความคิดที่นอกเหนือจาก  Work Procedure
ที่กำหนดไว้ คุณสามารถทำได้ แต่ต้องไปคิดและทดลองได้ ให้เป็นที่แน่ใจก่อน หากวิธีการนั้นได้ผลดีแล้ว
นำมาเปลี่ยน ทั้งระบบ จะทำให้เกิดระบบที่แข็งแรง
            DNA ของ ToYoTa เช่น สิ่งทีทุกคนต้องดูแลร่วมกัน ToYoTa แปลว่า ไม่มีคนรับผิดชอบ
ฉะนั้นทุกคน ทุก Job ของ ToYoTa ต้องมีคนรับผิดชอบ
DNA ของ ToYoTa เช่น ชุดช่าง เขาเป็นสีขาว ไม่เกรงว่า จะ เปื้อน เพราะแนวคิดของเขาคือ
ชุดเขาจะไม่เปื้อน หากทุกคนปฏิบัติตาม Work Procedure หากเปื้อน แปลว่า คุณไม่ได้ปฏิบัติตาม Work Procedure

กระจก หกด้าน ทิศทั้ง 6 ดูละครย้อนดูตัว ละคร ผู้แสดงแสดงตามชฎาที่สวม พระราม ทศกัณฑ์ สุครีพ  นางสีดา เป็นต้น 

No comments:

Post a Comment