6/24/15

23 มิย.2558 ประชาคมอาเซียนกับงานสาธารณสุข

23 มิย.2558 ประชาคมอาเซียนกับงานสาธารณสุข
วันที่ 23 มิถุนายน  2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  และคณะ ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง(ผ.บ.ก.) (Middle Level Public Health Administrators) รุ่นที่ ๒๙ ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  ขอนแก่น  ร่วมกิจกรรม เนื้อหาวิชา ประชาคมอาเซียนกับงานสาธารณสุข
ทยากร โดย รองศาสตราจารย์สุเมธ แก่นมณี  ผู้อานวยการสถาบันยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประชาคมอาเซียนกับงานสาธารณสุข
เมื่อเปิดเสรีอาเซียน ประชากรในอาเซียน และทั่วโลก สามารถเดินทางเข้า-ออก ได้ง่ายขึ้น การแพร่ระบาดมากขึ้นของโรคติดต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่แฝงมากับการพัฒนาและการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ปัญหาด้านสาธารณสุขที่จะเกิดขึ้น นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว จะนาพาโรคภัยต่าง ๆ เข้ามามากขึ้น ประชาชนต้องเผชิญกับโรคภัยต่าง ๆทั้งโรคระบาด โรคอุบัติใหม่ โรคติดต่อทั้งเรื้อรัง และไม่เรื้อรัง
โรคที่พบในภูมิภาคอาเซียนนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โรคติดเชื้อจาแนกได้ 3กลุ่มใหญ่ ได้แก่
โรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ โรคหัดและหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส โรคปอดอักเสบ หรือ โรค IPD(Invasive Pneumococcal Disease)
โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ โรคไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอชไอวี

มีเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรค มีความเข้มแข็งและรัดกุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีระบบการเฝ้าระวังอย่างมีประสิทธิภาพขยายความร่วมมือในทุกระดับ ทั้งทวิภาคี และพหุภาคี ในด้านบุคลากรเทคโนโลยีการเตือนภัยเพื่อพัฒนาระบบรองรับโรคระบาด และภัยพิบัติ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกบางประเทศอาจเป็นอุปสรรคในการประสานความร่วมมือในการดาเนินงาน
การค้าขายสัตว์ พืช อาหารต่าง ๆ จะนาพาเชื้อโรค หรือพาหะนาโรคเข้ามามากขึ้น การเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่และอุบัติซ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติดสารเคมีอันตรายต่างๆ จะเข้ามามากขึ้น
การเปิดเสรีทางการบริการสุขภาพและการย้ายถิ่นให้บริการทางวิชาชีพระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีขอบเขตจากัด มีการกีดกันภายในประเทศ นอกเหนือจากอุปสรรคในประเทศปลายทางด้านภาษาและปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาจ้าง
ความต้องการโยกย้ายถิ่นฐานไปให้บริการในต่างประเทศของบุคลากรวิชาชีพด้านบริการสุขภาพยังไม่ใช่กระแสหลัก เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการที่สาคัญ ได้แก่ ความต้องการทางานเพื่อรับใช้คนในชาติยังเป็นจุดยืนสาคัญของบุคลากรทั้งทางการแพทย์และพยาบาลของไทย ความรู้สึกไม่ต้องการแยกจากครอบครัว เป็นต้น 















No comments:

Post a Comment