6/25/15

24 มิย.2558 ระบาดวิทยาสำหรับผู้บริหาร

24 มิย.2558 ระบาดวิทยาสำหรับผู้บริหาร
วันที่ 2มิถุนายน  2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  และคณะ ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง(ผ.บ.ก.) (Middle Level Public Health Administrators) รุ่นที่ ๒๙ ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  ขอนแก่น  ร่วมกิจกรรม เนื้อหาวิชา ระบาดวิทยาสำหรับผู้บริหาร
วิทยากร โดย รศ.ดร.รองศาสตราจารย์ ดร. เลิศชัย เจริญธัญรักษ์
ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

            คำศัพท์ ทางระบาดวิทยา ที่ผู้บริหาร ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพิ่มเติม
เช่น P-Value ค่า RR  ค่า Odds Ratio เป็นต้น
เน้น ย้ำ ในที่นี้คำว่า  Odds Ratio  Odds มีตัวs เสมอนะครับ

ถ้าค่าช่วงความเชื่อมั่นผ่าน 1 แสดงว่าความสัมพันธ์ในการเกิดโรคหรือเหตุการณ์นั้น
กับปัจจัยมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ ตัวอย่าง เช่น
RR 95%CI การแปลผล

ตัวอย่างที่ 1 RR 1.5 95%CI 0.8 - 3.0 ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ
ตัวอย่างที่ 2 RR 5.0 95%CI 2.0 - 8.5 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
โดยปัจจัยนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยง (Risk factor)
ตัวอย่างที่ 3 RR 0.7 95%CI 0.4 - 1.5 ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ
ตัวอย่างที่ 4 RR 0.3 95%CI 0.1 - 0.9 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
โดยปัจจัยนั้นเป็นปัจจัยทางป้องกัน
(Protective factor)










บทบาทของวิทยาการระบาดต่อวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการสาธารณสุข
การเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรค
การสอบสวนโรค การติดต่อของโรค
การค้นคว้าสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรค
การป้องกัน เฝ้าระวังโรค
การตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
การศึกษาขอบเขตของปัญหาในประชากร
การวางแผนงานและนโยบายด้านสาธารณสุข
การตัดสินคดีความในศาล

วิธีการทางวิทยาการระบาด
เป็นวิธีการศึกษาที่จะเรียนรู้หรือบอกถึงว่ามีการ
เกิด การกระจายของโรคใน บุคคล เวลา และ
สถานที่ที่เกี่ยว ข้อง นั้นจริง ซึ่ง สามารถบอกถึงความเสี่ยงในการเกิด การกระจาย
โรค มากน้อยเพียงใด อีกทั้งอาจพิสูจน์ปัจจัยใน การเกิด การกระจายโรคได้อีกด้วย

รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา รุปแบบ
1.การศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อทราบถึงการกระจายของโรค และแนวโน้มของการกระจายของโรค

2.การศึกษาเชิงวิเคราะห์ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของโรคและสาเหตุการระบาดของโรค

3. การศึกษาเชิงทดลอง เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของโรค การป้องกัน ควบคุมโรค การรักษา และประสิทธิภาพของยา วัคซีน

การศึกษาเชิงพรรณนา เป็นการศึกษาถึง ปริมาณ หรือ ขนาด (Magnitude)และ การกระจาย (Distribution) ของ การเกิด โรคภัยไข้เจ็บ เหตุการณ์ หรือ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพอนามัย (Health -related events)ในประชากร (Population) โดยการอธิบายการเกิดโรค เหตุการณ์ หรือ ปัญหาดังกล่าว ในลักษณะของเวลา (Time) บุคคล (Person) และสถานที่ (Place) 

วิทยาการระบาดเชิงพรรณนา เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อพยายามตอบคาถามต่อไปนี้คือ
What: โรค เหตุการณ์ หรือปัญหานั้นคืออะไร?
How much: โรค เหตุการณ์ หรือปัญหานั้น เกิดมากน้อยเพียงใด?
Who: โรค เหตุการณ์ หรือปัญหานั้น เกิดกับใครหรือบุคคล กลุ่ม เพศ อายุ ฐานะไหน?
Where: โรค เหตุการณ์ หรือปัญหานั้น เกิดที่ไหน?
When: โรค เหตุการณ์ หรือปัญหานั้น เกิดกับเมื่อไร?

แต่วิทยาการระบาดเชิงพรรณนาไม่ได้ตอบคาถามต่อไปนี้
Why: โรค หรือปัญหานั้น ทาไมเกิด เพราะอะไร?
How: โรค หรือปัญหานั้น เกิดได้อย่างไรหรือแก้ปัญหา หรือโรคได้อย่างไร


การศึกษาเชิงวิเคราะห์  เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรค และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ในชุมชน ทาให้ทราบปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ
เป็นรูปแบบกา ร ศึกษา ที่มีกา ร ศึกษา เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม เพื่อศึกษาสาเหตุของโรค และสาเหตุของการระบาดของโรค ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยต่างๆต่อการเกิดโรค และอัตราเสี่ยงของ ปัจจัยต่างๆต่อการเกิดโรคว่าจะมีมากหรือน้อย เพียงใด โดยเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรค ในกลุ่มที่มีปัจจัยว่าเป็นกี่เท่าของอัตราการเกิดโรคในกลุ่มที่ไม่มีปัจจัย
การศึกษาเชิงวิเคราะห์  มี รูปแบบ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบไปข้างหน้า  
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบย้อนหลัง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลา หรือ ระยะสั้น

วิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า หรือ
COHORT STUDY, PROSPECTIVE STUDY, INCIDENCE STUDY หรือ FOLLOW-UP STUDY
เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาและทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของโรค (Exposure)และการเกิดโรค (Outcome) โดยที่ผู้ทาการศึกษาเริ่มต้นจากการเฝ้าสังเกตกลุ่มคนที่มีปัจจัย ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นโรคที่ต้องการศึกษา แล้วติดตามไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อดูว่าการเกิดโรคในกลุ่มคนที่มีปัจจัยที่ศึกษานั้น จะแตกต่างไปจากกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยหรือกลุ่มเปรียบเทียบหรือไม่ อย่างไร
Cohort Study หมายถึงกลุ่มคนที่มีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน
Cohort มาจากภาษาละตินจุดสาคัญคือ ต้องคัดเลือกกลุ่มที่สามารถนามาเปรียบเทียบกันได้
ในแง่ของโอกาสการเกิดโรคที่จะศึกษาเนื่องจากเป็นการศึกษาที่เริ่มต้นจากกลุ่มคนซึ่งไม่มีโรคอยู่
ก่อน จึงสามารถวัดอุบัติการณ์ของโรคได้ บางที

วิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง
CASE-CONTROL STUDY, RETROSPECTIVE STUDY
เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ คาดว่าจะเป็นสาเหตุของโรค (Exposure)และการเกิดโรค(Outcome) โดยการศึกษาจะประกอบด้วยกลุ่มคนที่เป็นโรคที่ต้องการศึกษาที่เรียกว่าCase และกลุ่มคนที่จะมาเป็นกลุ่มอ้างอิงหรือเปรียบเทียบที่เรียกว่า Control แล้วศึกษาเปรียบเทียบประสบการณ์การสัมผัสกับปัจจัยที่ต้องการศึกษาในอดีต แล้วจึงนาสัดส่วนของการสัมผัสกับปัจจัยที่ศึกษาใน Case และ Controlมาใช้ประมาณหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและการเกิดโรคที่ศึกษานั้น

วิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์  ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง CROSS-SECTIONAL STUDY
เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ที่จุดเวลาหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นการศึกษาสถานการณ์โดยที่ไม่มีการติดตามไปข้างหน้าหรือย้อนกลับไปดูช่วงเวลาในอดีตเป็นการศึกษาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรหรือปัจจัยต่างๆ
ทั้งในแง่ของทิศทางและขนาดของความสัมพันธ์นั้น ทั้งในขั้นตอนของการสร้าง และการพิสูจน์หลักฐาน

การศึกษาระยะสั้นเชิงวิเคราะห์  (CROSS-SECTIONAL ANALYTICAL STUDY)
ช่วยในการสร้างสมมติฐาน เป็นวิธีการขั้นแรกที่ช่วยในการศึกษาเชิงวิเคราะห์ หรือเชิงทดลองอื่นๆ
ศึกษาโดยเลือกขนาดตัวอย่างซึ่งมีจานวนแน่นอน ทาการวัดปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการเกิดโรค และ
ทาการประเมินโรคที่มีอยู่ไปพร้อมกัน
อาจศึกษาปัจจัยต่างๆ และผลหลายชนิดในเวลาเดียวกัน
วิธีการนี้ไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า กลุ่มที่ได้รับปัจจัยและไม่ได้รับปัจจัยจะมีจานวนเท่ากัน ทาให้ผล
วิเคราะห์ทางสถิติมีความน่าเชื่อถือน้อยลง

วิทยาการระบาดเชิงทดลอง  Intervention Studies, Experimental Studies
เป็นการศึกษาที่ผู้ทาการศึกษา เป็นผู้กาหนดตัวกระตุ้น ที่จะทดสอบ ในกลุ่มต่างๆ ที่ทาการศึกษาเช่น
– การทดลองยาในขนาดต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาโรค
– การทดลองลดปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยที่น่าจะเป็นสาเหตุของโรคเฉพาะในกลุ่มทดลอง โดยมีการ
Intervene เช่น กิจกรรมออกกาลังกาย หรือยาบารุง ฯลฯ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
– เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล (Causal association) และหามาตรการในการป้องกันโรค

วิทยาการระบาดเชิงทดลอง  INTERVENTION STUDIES, EXPERIMENTAL STUDIES
มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์แบบไป ข้างหน้า(Cohort Studies) โดยที่ผู้ทาการศึกษาเริ่มต้นจากกลุ่มคนที่มีระดับปัจจัยที่จะศึกษาต่างกัน แล้วติดตามดูว่าเกิดเหตุการณ์แตกต่างกันหรือไม่ จะมีข้อแตกต่างกันคือ การที่ผู้ศึกษามีอิทธิพลต่อการกาหนดปัจจัยให้แตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยที่การกาหนดปัจจัยนั้นจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของปัจจัยโดยตรง

เป็นการวัดผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งทดลองที่ให้กับประชากรศึกษา
เป็นต้น 

No comments:

Post a Comment