9/19/08

พญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู -นพ.สุธี สดดี"หมอชนบทดีเด่นปี 51


วัน ที่ 19 กันยายน 2551 ลาพักผ่อนประจำปี 2551
ภาคเช้า ยังคงปฏิบัติงาน ตามปกติ ที่บ้าน เรื่อง ตรวจ สอบ รายละเอียดการขอขึ้นทะเบียนบัตรประกันสุขภาพ
สมร พลทิพย์ มาเซ็นต์ เอกสาร ราชการ และรับ Battery camera charger ไปใช้ที่ สำนักงาน
ข่าว ที่น่าประทับใจและ ร่วมกันเผยแพร่ ในคุณงามความดี
ประจำวันนี้ พ.ญ.วลัยรัตน์-น.พ.สุธี แพทย์ชนบทดีเด่นปี 2551
พ.ญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน .... “แท้จริงความลำบากไม่มี มีแต่ความไม่เคยชินเท่านั้น”
"พญ.วลัยรัตน์-นพ.สุธี"หมอชนบทดีเด่นปี 51 ภาพ จาก the Nation
Privy Councillor chairman Prem Tinsulanonda stands with Outstanding Rural Doctors of this year. They were Dr Walairat Chaifu, director of Pangmapa Hosptial, Mae Hong Son and Dr Suthee Suddee of Warinchamrab Hospital,Ubon Ratchathani./Wanchai Kraisornkhaji
"พ.ญ.วลัยรัตน์-น.พ.สุธี" 2 แพทย์ชนบทได้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นปี 2551 ขณะที่ น.พ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รับรางวัลแพทย์ชนบทอาวุโส ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานมอบรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น "กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร" ประจำปี 2551 โดยในปีนี้ ผู้ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล คือ พ.ญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน และ น.พ.สุธี สุดดี แพทย์ประจำโรงพยาบาลวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี และมอบรางวัลแพทย์ชนบทอาวุโสที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง ให้แก่ น.พ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข พ.ญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลนี้ การทำงานเป็นแพทย์ของตนคิดว่า ไม่แตกต่างจากแพทย์คนอื่นๆ แต่การเลือกที่จะทำงานที่ อ.ปางมะผ้า เพราะคิดว่าหากได้ทำงานเป็นแพทย์ที่นี่ น่าจะเป็นประโยชน์ช่วยผู้ป่วยได้มากกว่า เพราะที่นี่ชาวบ้านยังมีปัญหาการเข้าถึงการรักษา เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทุรกันดาร เดินทางลำบาก แต่ก็ไม่ได้มองว่าเป็นอุปสรรค เพราะว่าได้ยึดหลักคำสอนที่ว่า แท้จริงความลำบากไม่มี มีแต่ความไม่เคยชินเท่านั้น พ.ญ.วลัยรัตน์ อายุ 39 ปี จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มรับราชการเป็นแพทย์ใช้ทุนตั้งแต่ปี 2537 ที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ก่อนย้ายไปที่โรงพยาบาลขุนยวม และทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลปางมะผ้าในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากเป็นพื้นที่ห่างไกลแล้ว ยังมีความแตกต่างของประชากร ประกอบด้วย 7 ชนเผ่าใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมา พ.ญ.วลัยรัตน์ ได้พัฒนางานด้านบริการสาธารณสุขในพื้นที่ โดยจัดการบริหารในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เน้นการสร้าง นำ ซ่อม และดูแลสุขภาพ ขณะที่ น.พ.สุธี สุดดี แพทย์ประจำโรงพยาบาลวารินชำราบ กล่าวว่า รู้สึกดีใจ และการได้รับรางวัลนี้จะเป็นกำลังใจในการทำงานต่อไป ซึ่งงานที่ทำถือเป็นงานเชิงรุกไม่เพียงแต่ช่วยรักษาคนไข้เท่านั้น แต่มีส่วนร่วมในระบบการดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งศูนย์แพทย์ชุมชนห้วยขะยุง ที่เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีการพัฒนาเพิ่มคุณภาพในรูปแบบใหม่ ไม่เพียงแต่ให้การรักษา คัดกรองผู้ป่วยในโรคที่ไม่ซับซ้อนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เข้าถึงผู้ป่วย เข้าใจระบบความสัมพันธ์ในชุมชนมากขึ้น ที่เป็นการรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม ใส่ใจทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เกิดความเข้าใจระหว่างกัน น.พ.สุธี อายุ 42 ปี จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มรับราชการในตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุณฑริก จ.อุบลราชธานี เมื่อปี 2533 ก่อนไปรับตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลวารินชำราบ และเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลวารินชำราบ จนถึงปัจจุบัน แหล่งข่าวโดย.... เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ผู้จัดทำ.... สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข

No comments:

Post a Comment