9/10/08

ไปเยี่ยมคุณพ่อ ถวิล จันทร์สว่าง บ้านสีสุก ดำนาสักโหล่ง



วัน ที่  06 กันยายน 2551  วันหยุดราชการ พักผ่อนที่บ้าน  ศึกษาเอกสาร ประกอบการทำโครงร่างการวิจัย  เพื่อเสนอขอเงิน จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร  39,660 บาท (สามหมื่นเก้าพันหกร้อยหกสิบบาทถ้วน) เรื่อง  ปัจจัยที่มีผลต่อการมาตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี   อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร  

วัน ที่  07 กันยายน 2551 ไปเยี่ยมคุณพ่อ ถวิล จันทร์สว่าง บ้านสีสุก หมู่ที่ 5 ตำบลดู่ลาด อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ไปร่วมรับประทานอาหาร่วมกับญาติ พี่น้อง ที่ ทุ่งนา (แปลงต้นแค) ท่ามกลาง บรรยากาศ ของความแห้งแล้ง ควายไม่ได้นอนแช่น้ำมาหลายเดือนแล้ว เพราะไม่มีน้ำตามทุ่งนา หรือแม้แต่ ในสระ  พี่วงศิลป์ เหมือนทอง จันทร์สว่าง พี่สุวรรณ  จันทร์สว่าง ป้าจันทร์หอม  จันทร์ส่าง อาสมูรณ์  ศรีชัย แต่ละคน นำลูกๆ มาช่วยงานด้วย  อาหารมื้อนี้คือ แกงเห็ด ผึ้ง และเห็ดก่อ ซึ่ง ยังพอมีหากินได้ ในป่า แถบบหมู่บ้านนี้ รวมทั้งเห็ด ผึ้งด้วย ของหวาน มี ต้มมันนก ของอาบุญ และฝรั่ง  เด็กๆ บอส เบส บาส แนน ก้อย ช่วยกันไปเก็บ ฝรั่ง ขาว มาจากเถียงนาของแนน ได้มากพอสมควร อร่อยมาก รวมทั้ง เด็กๆ ได้ฝากไปให้พี่ภูมิ พี่เพียรด้วย  วันนี้ หากยังไม่มีฝนตกอีกต่อไป จะเป็นวันซ้ำนา ของพ่อถวิล (ปักดำนาสักโหล่ง หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ดำนาฤาษี คำนี้ สส.พิกิฎ  ศรีชนะ สส.ยโสธร พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้อภิปรายไว้ในวันประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระการพิจารณา งปม.ปี 2552 ด้วย)  ดำนาสักโหล่งคือ เมื่อพื้นดินแห้ง ไม่สามารถใช้นิ้วักดำต้นกล้าลงในดินได้ จึงใช้ไม้ หรือ เสียมก้ได้ สัก หรือปักลงไปในดินก่อน ให้เป็นรู แล้วจึง เสียบต้นกล้า ลงไปในรู แล้ว กลบดนให้แน่น จากนั้น ก็ หยอดน้ำ ใส่บริเวณโคนต้นกล้าที่ปักลงไปแล้วนั้น และน้ำที่ใช้หยอดไม่ใช่รด เพราะหากรด จะสิ้นเปลืองน้ำ เพราะต้องไปนำน้ำมาจาก สระ หนอง หรือ คู คลอง ซึ่งอยู่ห่างจากบริเวณที่ปลูกข้าว นั้น)  ...ประวัติศาตร์ได้จารึกไว้..ในรอบ 100 ปี ปีนี้เป็นปีที่มีฝนแล้งที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีน้ำ ไม่มีข้าว ในนา   อีกภาพที่มีน้ำในนา อย่างพอเพียง ปีนี้คงจะมีก็แต่ในความทรงจำเท่านั้น....ตอนกลับบ้าน นำต้นแคนามาเพาะชำ เพื่อปลูก ขยายพันธุ์ ในพื้นที่บ้านบกน้อยด้วย 

No comments:

Post a Comment