9/14/08

การให้การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง สุดท้ายแล้ว ก็ต้องฟรี..จริงหรือ


การให้การรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ความคิดเห็นส่วนตัว ของ นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว (วิชาการ)  เริ่มจาก ต้องปล่อยให้ตายไปเลย มาเป็น ช่วยบ้างในบางกรณี(ล้างไตทางช่องท้อง) มาปีนี้ ช่วยเพิ่มโดยการฟอกเลือด แต่ผู้ป่วยก็บังคงต้องจ่าย อีก ครั้งละ500 … สุดท้ายก็ต้องฟรี ...ทำไมไม่ฟรีไปเลย สำหรับ ผู้ป่วย ทุกข์ทรมาน หรือ หากจะยังใช้ระบบ ให้ผู้ป่วยร่วมจ่าย บ้าง ก็น่าจะให้ร่วมจ่าย ตามฐานะของบุคคล ส่วนบุที่คคลที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น เด็ก คนชรา และผู้ยากจน ควรจะเปิดฟรีให้ เลย เพราะ กระทรวงสาธารณสุข มีระบบการออกบัตร ตามฐานะการช่วยเหลือตนเองของกลุ่มเป้าหมายอบู่แล้ว คือ ประเภท เด็ก ผู้พิการ ผู้สูง อายุ ผู้มีรายได้น้อย  อย่าว่าแต่ 500 ต่อครั้งเลย ค่ารถจะนำพาผู้ป่วยไป โรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้  ส่วนใหญ่ อยู่ชบท การเข้าถึงสถานบริการทำได้ยาก หากไม่ใกล้ตายจริงๆ เขาจะไม่เข้าไปใช้บริการหรอกครับ บางคนไม่มีความสามารถจะนำพาตนเองไปถึง โรงพยาบาลได้ด้วยซ้ำ ไปถึงแล้ว บางคนไม่มีเงินที่จะซื้อข้าปลา อาหารในเมืองกินได้ เพราะมีราคาแพง และต้องร่วมจ่ายอีก ฉะนั้นเงิน 500 คือกำแพงอันใหญ่และหนา ที่ขวางกั้นการเข้าถึงบริการของผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้ ...ส่วนบัตรทอง ประเภท 89 นั้น เป็นกลุ่มที่ สมควรร่วมจ่าย และมีกำลังจ่าย แม้ว่าจะเกิน 500 ก็สามารถจ่ายได้ หากจะใช้ระบบความยุติธรรม ก็น่าจะใช้ การ Co-Payment ในกลุ่มนี้ ที่ไม่สมควรที่จะให้คนรวยไปแย่งสิทธิจากคนด้อยโอกาส  เพราะ คนรวยเหล่านี้ ส่วนใหญ่ อยู่ในเมือง อยู่ใกล้โรงพยาบาล เจ็บป่วยเล็กน้อย ก็มีรถตนเอง หรือ มีความสามารถที่จะไปแย่งชิงการใช้บริการเหล่านี้ได้มากกว่า... แนวคิด การตัดเสื้อโหล หว่านแห นี้ ฟังเผินๆ ดูเหมือน จะเป็นความเท่าเทียม แต่เมื่อวเคราะห์แล้ว มันไม่ยุติธรรม และโดยเฉพาะไม่ยุติธรรม สำหรับคนจนครับ...การพิจารณา ออกระเบียบ กฎเกณฑ์ อะไรต่างๆ นั้น หาก วลีนี้ยังใช้ได้เสมอ  คนชั้นใด ออกระเบียบ กฎเกณฑ์ ก็ เพื่อจะ สนองประโยชน์ ให้กับบุคคล ชนชั้น เหล่านั้น  ลองให้ผูด้อยโอกาสได้มีโอกาสหรือมีส่วนร่วมแสดงความเห็นบ้างก็ดีนะครับในการออกระเบียบบังคับใช้ในโอกาสต่อไป ..

No comments:

Post a Comment