5/29/09

ผลการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธร โดย นบส. รุ่นที่ 25





วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 : ผลการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธร โดย นบส. รุ่นที่ 25
เวลา 08.39 น. เข้าร่วมประชุมการนำเสนอผลงานการปฏิบัติงานภาคสนาม ครั้งที่ 2 จังหวัดยโสธร
ซึ่ง นพ.ธวัช จายนียโยธิน และคณาจารย์ นำนักศึกษาหลักสูตรนักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง รุ่นที่ 25 / 2552 ณ ห้อง แกรนด์บอลลรูม โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัล จังหวัดยโสธร ประธาน การประชุม โดย ท่านสุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร ทำหน้าที่แทน ท่านวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ที่ท่านติดราชการด่วน วันนี้เป็นเวที การสรุปผลงาน ในหัวข้อ “สมมุติบทบาทว่าท่านเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ท่านจะพัฒนางานใน ในจังหวัด เพื่อสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ ชาติ และยุทธศาสตร์ของจังหวัด พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ระบบบริหารแบบบูรณาการ ที่มีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดได้อย่างไร” ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่า ทีมงานทีมนี้ สามารถสรุปและนำเสนอข้อมูลได้ดีมากๆ ทั้ง พิธีกร โดย นบส. อารักษ์ วงศ์วรชาติ และ ผู้นำเสนอผลงานทั้ง 2 คน ประกอบด้วย 1. นบส. ดิเรก งามวาสีนนท์ และ 2 นบส. ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล โดยมีกรอบแนวคิด เรื่องสุขภาพ ใน 4 มิติ ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ คือ มิติด้าน กาย ใจ สังคม และปัญญา บนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กรอบแนวคิด การวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านเสรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ซึ่ง จังหวัดยโสธร
ทั้ง 9 อำเภอ ประชากร 534,539 คน (ชาย 268,120 คน หญิง 266,419 คน) มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด GPP มูลค่า 19,633 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว (Per Capita GPP) 32,243 บาท จัดเป็นลำดับที่ 14 ของภาค ลำดับที่ 71 ของประเทศ มีรายได้แฉลี่ย 43,739 บาท / คน / ปี ประชาชนมี หนี้สิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 78,766 บาท สาเหตุการตาย 3 อันดับแรก เป็นสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ มีบทสรุปคือ จังหวัดยโสธร เป็นสังคมเกษตรกรรม มีจุดเด่นคือ 1) เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตร 2) เป็นแหล่งผลิตสินค้าพื้นเมือง 3) มีภูมิปัญญาที่หลากหลาย 4) ชุมชนเข้มแข็ง 5)มีประเพณีบุญบั้งไฟที่สนับสนุนการท่องเที่ยว มีจุดอ่อน คือ 1) แหล่งท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการพัฒนา 2)การชลประทานเพื่อการเกษตรยังไม่เพียงพอ 3) ขาดการจัดการตลาดสินค้าเกษตร4)ขาดเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย 5) พื้นที่ไร่นามีสารเคมีตกค้าง 6) ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน มีหนี้สิน
สำหรับปัญหาสุขภาพพบว่า อายุขัยเฉลี่ยจังหวัดยโสธรตำกว่าระดับประเทศ (จังหวัดยโสธร ชาย 66.3 หญิง 70.6 ซึ่งระดับประเทศ ชาย 69.9 หญิง 77.6 ปี)
สาเหตุการตายที่สำคัญคือ คือ โรคมะเร็งทุกชนิด ( 110 ต่อแสนโดยเฉพาะมะเร็งตับและท่อน้ำดี) โรคหัวใจและหลอดเลือด (96 ต่อแสน)อุบัติเหตุ ( 39 ต่อแสน) รองลงมาได้แก่ ภาวะติดเชือในร่างกาย โรคปอดและวัณโรคปอด
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโดยใช้การบริหารงานแบบูรณาการ ในประเด็น 1) ;bสัยทัศน์ “ ยโสธรน่าอยู่ เกษตรอินทรีย์ก้าวไกล วิทยาลัยชุมชนสู่สากล” 2) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนา 5 ประเด็น ได้แก่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาการเกษตรอินทรีย์ครบวงจรและศูนย์เรียนรู้ระดับสากล พัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมการเรียนรู้สู่สมดุล พัฒนาการบริหารแบบบูรณาการและสริมสร้างความสงบเรียบร้อย และ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เช่น พัฒนา แหล่งท่องเที่ยวแบบ Long Stay ที่ ชุมชนภู่ไท ตำบลห้องแซง อำเภอ เลิงนกทา โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นข้าราชการบำนาญ และชาวต่างประเทศเป็นต้น
ซึ่งบทสรุปการนำเสนอผลงาน ในวันนี้ ต้องขอยก คำพูดของ ประธานในการประชุมวันนี้ คือ ท่านสุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร “ในฐานะที่ผมเป็น นบส.รุ่นพี่ ขอชื่นชม ทีมงาน นบส. รุ่นที่ 25 นี้ ที่ร่วมกันสรุปผลงานจากการศึกษาในระยะเวลาอันสั้นใน จังหวัดยโสธร ได้อย่างครอบคลุม และทุกสิ่งที่นำเสนอล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการพัฒนา จังหวัดยโสธร เป็นอย่างมาก และ จังหวัดยโสธร เราจะนำเอาผลการศึกษานี้ไปประกอบเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อการพัฒนา จังหวัดยโสธร ต่อไป ...คะแนนเต็มเท่าไร ผมไม่ทราบ แต่ หลังจากการนำเสนอผลงานแล้ว ผมให้ คะแนน A+ ครับ”

No comments:

Post a Comment