5/16/09

วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดยโสธร


วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 (4) เข้าประชุม ที่ห้องประชุมเล็ก ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ประธานการประชุมโดย ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดยโสธร ผู้เข้าร่วมประชม อาทิ นพ.ศิษฎิคม เบ็ญจะขันธ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายชำนาญ มาลัยสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร เป็นต้น ... การประชุมเพื่อรับรองการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของผู้รับการฝึกอบรม หลักสูตรนักบริหารการแพทย์และสาธารณสุข ระดับสูง รุ่นที่ 25 ประจำปี 2552 ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับ 8-9 จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีกำหนดการฝึกปฏิบัติงานในระหว่างวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2552 และมีกำหนดการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 ซึ่ง ศึกษาดูงานเรื่อง การนำยุทธศาสตร์ จังหวัดยโสธร สู่การปฏิบัติ และผลการดำเนินงานในระดับอำเภอที่ผ่านมา และศึกษาดูงานในพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งผู้ที่มาศึกษาดูงานจำนวน 24 คน วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะผู้บริหารในเรื่อง การทำงานเป็นทีม การพัฒนาทีมงาน การบริหารจัดการ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำเสนอการแก้ไขปัญหา และการพัฒนางานที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีประเด็นที่ศึกษาคือ สมมุติบทบาทว่าท่านเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านจะพัฒนางานในจังหวัดที่รับผิดชอบเพื่อสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ ชาติ และยุทธศาสตร์ของภูมิภาค พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ระบบบริหารแบบบูรณาการ ที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างไร อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เช่น ชุมชนเข้มแข็ง ที่ สถานีอนามัยนาเวียง กลุ่มเยาวชนเข้มแข็งที่สถานีอนามัยแคนน้อย สถานีอนามัยกู่จาน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านปลาอีด หรือ การทำงานร่วมกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ โรงพยาบาลตำบลกู่จาน เป็นต้น ข้อมูลนำเข้าคือยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธร

วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดยโสธร

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดยโสธร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับบที่ 10 ( ปี 2550- 2554) มีวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดยโสธร ว่า “ยโสธร เมืองน่าอยู่ การเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ ก้าวไกลสู่สากล”
ประเด็นยุทธศาตร์ การพัฒนาจังหวัดยโสธร มี 5 ประเด็น คือ
ประเด็นยุทธศาตร์ 5 ประเด็น เป้าประสงค์
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
การคมนาคมสะดวก แหล่งน้ำพอเพียง ประชาชนมีอาชีพรายได้ในระดับอยู่ดีกินดี

2. การยกระดับคุณภาพชีวิตและการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ได้รับบริการสวัสดิการสังคม ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง อย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม หมู่บ้าน ชุมชน เข้มแข็ง

3. การอนุรักษ์และฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมดีมีการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ

4. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ทุกภาคส่วนและเสริมสร้างความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย
องค์กรในจังหวัดบริหารงานตามหลักธรมาภิบาล ประชาชนพึงพอใจ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

5. การส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพ การผลิต เกษตรอินทรีย์ให้ครบวงจร

กลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดยโสธร 14 กลยุทธ์
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก มี 3 กลยุทธ์
1.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและระบบแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
1.2 การส่งเสริมการผลิตการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยว
ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 การพัฒนาการส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตร และการมีงานทำให้มั่นคงเพื่อขจัดความยากจน

2. การยกระดับคุณภาพชีวิตและการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มี 5 กลยุทธ์
2.1 การพัฒนาระบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและการเสริมสร้างสุขภาพปราชน
2.2 การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม และการดูแลผู้ด้อยโอกาส
2.3 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.4 การพัฒนาแหล่งน้ำเพือการอุปโภค บริโภคในครัวเรือน
2.5 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเอง
3. การอนุรักษ์และฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี 2 กลยุทธ์
3.1 ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.2 ส่งเสริมการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
4. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ทุกภาคส่วนและเสริมสร้างความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย มี 2 กลยุทธ์
4.1 ส่งเสริมให้องค์กรทุกภาคส่วนบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และให้การบริการที่ดี
4.2 รักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
5. การส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร มี 2 กลยุทธ์
5.1 ส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปผลผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานปลอดภัย
5.2 ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตและการตลาดการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

No comments:

Post a Comment