7/19/11

ศาลโลกสั่งถอนทหารเขมร-ไทย ออกพื้นที่พิพาทรอบเขาพระวิหาร4.6ตร.กม.








วันที่ 18 กรกฎาคม 2554: ศาลโลกสั่งถอนทหารเขมร-ไทย ออกพื้นที่พิพาทรอบเขาพระวิหาร4.6ตร.กม.

บันทึกความดีวันนี้ ขอบันทึก ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง ของการเริ่มต้น ยุติปัญหาความขัดแย้งอันยาวนาน กว่า 50 ปี ของไทย และกัมพูชา รอบๆปราสาทพระวิหาร รายละเอียดดังนี้

ศาลโลกสั่งไทย-กัมพูชาถอนทหารแล้ว

ศาลโลกสั่งไทย-กัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท กำหนดให้เป็นพื้นที่ปลอดทหาร พร้อมให้ทั้ง 2 ฝ่ายเปิดโต๊ะเจรจากัน

ศาลกรุงเฮก ของสหประชาชาติ ได้มีคำสั่งพิพากษาให้ไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากเขาพระวิหารทั้งสองฝ่าย จากพื้นที่ขัดแย้งรอบเขาพระวิหาร บริเวณพรมแดนไทยและกัมพูชา โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่พิพาทเป็นเขตปลอดทหาร และเรียกร้องให้ฝ่ายไทยและกัมพูชาเปิดโต๊ะเจรจาขจัดข้อขัดแย้งระหว่างกัน นอกจากนี้ ศาลยังสั่งให้ไทยและกัมพูชายอมให้เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์จากอาเซียนเข้าไปสังเกตการณ์พื้นที่ขัดแย้งดังกล่าวด้วย

นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า การที่ศาลโลกมีคำสั่งให้ไทยและกัมพูชาถอนทหารนั้น ตรงกับสิ่งที่ทางการไทยคาดหวังไว้แต่แรกอยู่แล้ว ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าการให้มีเขตปลอดทหารจะไม่ส่งผลกระทบต่อคำร้องที่กัมพูชาขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 ใหม่ ซึ่งจะต้องรอดูกันต่อไป ส่วนกรณีที่ศาลโลกสั่งให้ไทยและกัมพูชาร่วมมือกันต่อในอาเซียนนั้น ไทยยินดีมาก เพราะที่ผ่านมา ไทยสนับสนุนกลไกทวิภาคีอยู่แล้ว หลังจากนี้ แนวทางการแก้ปัญหาที่ประชุมรมว.ต่างประเทศอาเซียน เคยเสนอไว้นั้น ได้หมดสภาพไปโดยปริยายและยึดคำสั่งศาลโลกเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ตนขอเตือนสมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่เคยสัญญาหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา ว่าจะยึดคำตัดสินศาลโลกในวันนี้(18 ก.ค.)เป็นหลัก นอกจากนี้ สิ่งที่ตนจะทำต่อไปนี้คือ การพูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รวมถึงการเร่งพูดคุยกับคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม(จีบีซี)ไทย-กัมพูชาโดยเร็ว

ต่อมา นายฮิซาชิ โอวาดะ ประธานศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) อ่านคำสั่งศาลตามคำร้องของกัมพูชา เพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว พื้นที่ 4.6 ตร.กม.โดยรอบปราสาทพระวิหาร เพื่อให้ฝ่ายไทยถอนกำลังทหารและยุติการเคลื่อนไหวใดๆทั้งสิ้นในพื้นที่ดังกล่าวนั้น คณะผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาควรถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าวในทันที และ ห้ามเคลื่อนไหวทางทหารใดๆทั้งสิ้น

คำสั่งศาลซึ่งมาจากการลงคะแนนเสียง 11-5 เสียงของคณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังระบุว่า พื้นที่ข้อพิพาท 4.6 ตร.กม.โดยรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งเคยเกิดการยิงปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชา จนมีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 18 ศพ ประชาชนหลายหมื่นคนที่อาศัยอยู่ตลอดแนวพรมแดนต้องอพยพออกจากพื้นที่อาศัย นับตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมานั้น สถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าว ยังคงตึงเครียดและอาจเลวร้ายลงทุกขณะก็ได้ หากยังคงมีการฝ่าฝืน จึงสมควรให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตปลอดทหาร เพราะอาจเสี่ยงต่อการปะทะและเกิดเหตุรุนแรงมากไปกว่านี้ พร้อมกันนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังขอให้ไทยและกัมพูชา ยึดมั่นในการเจรจา และ ยินยอมให้คณะผู้สังเกตการณ์จากสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวด้วย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานต่อไปว่า นายฮอร์ นัมฮอง รมว.ต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่า การตั้งเขตปลอดทหารขึ้นในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารนั้น หมายถึงเป็นข้อตกลงหยุดยิงถาวร และเท่ากับเป็นการหยุดยั้งการรุกรานจากฝ่ายไทย นอกจากนั้นแล้ว ตนยังพอใจกับผลการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ให้ส่งคณะผู้สังเกตการณ์หยุดยิงเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งกัมพูชาต้องการข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้มาตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมา และในระหว่างการบรรยายสรุปให้ผู้สื่อข่าวฟังนั้น รมว.ต่างประเทศกัมพูชาไม่ได้กล่าวถึงข้อเรียกร้องให้ทหารกัมพูชาถอนตัวออกจากพื้นที่รอบปราสาท

ขอบคุณ การร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ดีดี นี้ จาก

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.html

ซึ่ง เนื้อหา ข่าว จาก สำนักข่าวต่างประเทศ (AP) รายละเอียดดังนี้

UN court draws DMZ for Thai, Cambodia troops

ARTHUR MAX, Associated Press
Updated 04:58 a.m., Monday, July 18, 2011

THE HAGUE, Netherlands (AP) — The U.N.'s highest court Monday ordered troops from both Thailand and Cambodia to immediately withdraw military forces from disputed areas around a World Heritage temple straddling their border.

The court drew a "provisional demilitarized zone" around the 1,000-year-old Preah Vihear temple that would push Thai troops back from positions they have long occupied and would see Cambodian armed forces leave the temple's immediate vicinity.

At least 20 people have died since 2008 in clashes between the two countries that continued as late as last April, when military commanders agreed to an oral cease-fire.

By a vote of 11-5, the judges of the International Court of Justice went beyond Cambodia's request to order Thai troops out of the area, and imposed restrictions on both armies and police forces.

It said it decided to intercede to avoid the risk of more clashes and further damage to the ancient Hindu shrine.

It also called on the two nations to allow officers from the Association of Southeast Asian Nations into the area to observe the cease-fire, which was called for by the U.N. Security Council last February.

Both sides said they were satisfied with the decision. Thai Foreign Minister Kasit Piromya noted the court had declined Cambodia's demand for a unilateral Thai pullback.A withdrawal of armed Cambodians from the temple complex "has been our consistent position," he said outside the courtroom.

He said the decision is binding on both countries, and Thailand would abide by the ruling to withdraw forces and facilitate the observers' deployment. Thailand also agreed to the court's instruction to allow unhindered supplies to Cambodian civilian personnel at the temple complex, he said.

Cambodian Foreign Minister Hor Namhong said the establishment of a demilitarized zone would mean "a permanent cease-fire. This is tantamount to a cessation of aggression" by Thailand. He also voiced satisfaction with the dispatch of truce observers, which he said Cambodia had been seeking since last February. In brief remarks to reporters, he made no reference to the demand for Cambodian troops to abandon the temple grounds.

The court ruled in 1962 that Preah Vihear is in Cambodian territory, a judgment Thailand does not dispute. But the earlier ruling failed to draw definitive boundaries. Cambodia went to the U.N. tribunal for clarifications on "the meaning and scope" of the ruling. Thailand argued that the court has no need to take further action.

The court said its ruling would not prejudice any final ruling on the where the border should fall. It could take the court many months or even years to reach that decision.

Fighting since 2008, when the shrine to the Hindu god Shiva was declared a World Heritage site, has driven tens of thousands of people from the area and wounded dozens, in addition to the score who have been killed.

A map of the demilitarized zone proscribed an area of several square kilometers, with Thai troops moving off a ridge line north of the temple and Cambodian forces moving across a deep valley south of the shrine. Supplies to the temple would have to come via a road that Thailand claims runs through its territory.

Preceding Thai elections earlier this month, border tensions in the area escalated, in part by pressure from influential Thai nationalist groups that have protested in Bangkok, urging the government to take back disputed territory. Hardcore nationalists insist the 1962 World Courtruling awarding the temple to Cambodia was unfair.

According to its World Heritage listing, the temple "is exceptional for the quality of its architecture, which is adapted to the natural environment and the religious function of the temple, as well as for the exceptional quality of its carved stone ornamentation."

Demilitarized Zone (DMZ) ซึ่งถ้าแปลตรง ๆ ก็คือ "เขตปลอดทหาร" ครับ

Thank data from

http://www.seattlepi.com/news/article/UN-court-draws-DMZ-for-Thai-Cambodia-troops-1470347.php

No comments:

Post a Comment