7/25/11

มติดีดีที่เราทำร่วมกัน:ประชุมคปสอ.คำเขื่อนแก้ว






วันที่ 25 กรกฎาคม 2554: มติดีดีที่เราทำร่วมกัน:ประชุมคปสอ.คำเขื่อนแก้ว

วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วม การประชุม คณะกรรมการ คปสอ. คำเขื่อนแก้ว ณ ห้องประชุม ม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธานการประชุม โดย นายวิทยาเพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ทำหน้าที่ ประธาน คป.สอ. ในงานนี้ นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นำคณะกรรมการ คปสอ.จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วมประชุม โดยพร้อมเพียงกัน ซึ่งเนื้อหาวาระการประชุม เช่น วาระประธานแจ้งให้ทราบ

1.ขอแสดงความยินดีกับ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ผ่านการประเมินรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ

2. ชมรมผู้สูงอายุดีเด่นระดับจังหวัด โดย ชรมผู้สูงอายุบ้านดงเจริญ ตำบลดงเจริญ อำเภอคำเขื่อนแก้ว

3. รางวัลชมรมจริยธรรมดีเด่น ระดับ เขต 13 ประเภทโรงพยาบาล

ชนะเลิศ โดยชมรมจริยธรรมโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

รองชนะเลิศอันดับ 1 ชมรมจริยธรรมโรงพยาบาลยโสธร

รองชนะเลิศอันดับ 2 ชมรมจริยธรรมโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

รางวัลชมรมจริยธรรมดีเด่น ระดับ เขต 13 ประเภทสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

ชนะเลิศ โดยชมรมจริยธรรมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

4. การเข้าร่วมการประชุมวิชาการเขต 13 วันที่ 27- 28 กรกฎาคม 2554 มหกรรมสิ่ง ดีดี ที่ ยโสธร ณ โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัลด์ อำเภอเมืองยโสธร วัตถุประสงค์หลัก คือ ประชุมวิชาการ และ งานมุทิตาจิต สำหรับผู้เกษียณอายุราชการในปีงบประมาณนี้

กิจกรรม ที่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว รับผิดชอบ คือ

วันที่ 26 กรกฎาคม 2554 ให้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เข้าไปจัดเตรียมสถานที่

ณ โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัลด์ เวลา 09.09 น.

ทีมต้อนรับ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ร่วม ต้อนรับ ในพิธีเปิด ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2554

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เข้าร่วมพิธีเปิด ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2554

โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

รายละเอียดตามเอกสาร

5. อำเภอคำเขื่อนแก้ว มีผลการตรวจสุขภาพเชิงรุก สูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดยโสธร โดยมีผลงานร้อยละ 94.10 ซึ่งในภาพรวมทั้งจังหวัด ณ ปัจจุบัน มีผลงาน ครอบคลุมร้อยละ 80.60

เรื่อง จาก รองประธาน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว โดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

เรื่องที่ 1 เรื่อง การสำรองวัคซีน (ERIG) วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับคน ชนิดผลิตจากซีรั่มม้า (Equine Rabies Immunoglobulin, ERIG) โดย เสนอแนวทาง ให้ สำรองวัคซีน ไว้ที่ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

ได้ด้วย โดยการประสานงานกับ โรงพยาบาลยโสธร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ ไม่ต้องส่งคนไข้ไปที่โรงพยาบาลอื่น เพราะปัจจุบัน จังหวัดยโสธร สำรองไว้ ที่ โรงพยาบาลมหาชนะชัย

เรื่องที่ 2 การพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ภายในเครือข่าย ในรูปแบบของ Context Base Learning โดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ คณะ จะ สนับสนุนวิทยากร และความรู้ด้านวิชาการต่างๆ ในรูปแบบการปฏิบัติ จริง ตามจุดบริการต่างๆ ใน โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว กำหนดการให้ความรู้ เดือนละ 1 ครั้ง มอบหมายให้ ทีมงาน พัฒนา PCA ของเครือข่าย เป็นผู้บริหารจัดการ โครงการร่วมกันต่อไป

วาระเพื่อพิจารณา ประกอบด้วย

วาระเพื่อพิจารณา 1. ระดมความคิดเห็นร่วมกันเพื่อหาแนวทางการตรวจ PAP SMEAR ให้บรรลุเป้าหมาย

โดย คุณนัยนา ดวงศรี หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ

คุณอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

โดยที่ภาพรวม ของ อำเภอคำเขื่อนแก้ว มีผลงาน ครอบคลุมร้อยละ 31( ผลงานยังต่ำกว่าเกณฑ์) ขณะที่เป้าหมายร้อยละ 40 ขอชื่นชม ผลงานชนะเลิศระดับอำเภอ จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย โดย นางสุภาวดี ขอสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย นางเกษรินทร์ วงเวียน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย นส.จิตร์สุดา อรจันทร์ นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบกน้อย ที่ ร่วมกัน ปฏิบัติงานนี้ด้วยดี ด้วยผลงาน ร้อยละ 65 ได้รับคำชื่นชมและเสียงปรบมือ ที่กึกก้องจาก ผู้เข้าร่วมประชุม เป็นที่น่ายินดียิ่งนัก

ขอบพระคุณ สถานบริการ ที่ มีผลงาน ครอบคลุมได้บรรลุตาม เป้าหมาย ที่ต้องได้รับความขอบคุณ จาก ที่ประชุม ประกอบด้วย มี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย นาหลู่ นาคำ นาเวียง กู่จาน เหล่าไฮ ทุ่งมน โพนสิม ดงเจริญ โพนทัน และ กุดกุง

วาระเพื่อพิจารณา 2. แนวทางการขึ้นทะเบียน UC ให้ครอบคลุม และ

การป้องกันการย้ายไปขึ้นทะเบียนUC นอกเขตพื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว

โดย คุณพัฒนา วดี การุณย์ หัวหน้างานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ

โดย คุณสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

วาระเพื่อพิจารณา 3. การขับเคลื่อนและปฏิบัติตาม วาระคำเขื่อนแก้ว งดเหล้าเข้าพรรษา

โดย นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย(ผู้ประสานงาน สสส.) กิจกรรม การรณรงค์ ในวันที่ 2 สิงาคม 2554

วาระเพื่อพิจารณา 4. ความร่วมมือภายในเครือข่าย เรื่อง แนวทางการให้บริการผู้ป่วย DM ให้มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

โดย คุณอนงค์ลักษณ์ ฤทธิวุฒิ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ร่วมกับ

น.ส.กัลศิณี โชติแสง เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

นางสมจิตร สามารถ หัวหน้างานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

สำหรับแก้ไขปัญหาให้กับ ประชาชน ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติ และกลุ่มป่วย 2 พัน กว่าคน โดยได้รับ งปม.จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .) จำนวน 561,800 บาท

มติที่ประชุม ให้ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง หากลวิธีสำหรับแก้ปัญหา ให้กับ ผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มนี้ ต่อไป

วาระเพื่อพิจารณา 5. ความร่วมมือภายในเครือข่าย เรื่อง การดำเนินงานโรงพยาบาลสายใยรัก

คุณชนัญชิดา จุฑาสงฆ์ หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

วาระเพื่อพิจารณา 6. โครงการพัฒนาระบบบริการ ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง งบ Secondary Prevention โดย โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

วาระเพื่อพิจารณา 7. แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณ ค่ายาแวะเวชภัณฑ์ ที่ รพ.สต. รับยาจาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว กรณี เบาหวานและความดันโลหิตสูง

วาระเพื่อพิจารณา 8. เวทีการ Conference Case กรณี งาน DHF โดย นายสุนทร วิริยะพันธ์ หัวหน้างานควบคุมโรคติดต่อ

วาระเพื่อพิจารณา 9. การประเมินขึ้นทะเบียน หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

โดย คุณสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

.... รายละเอียด ERIG คือ จากด้านบน ....

ทั้งนี้ อิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำหรับคน (Rabies Immunoglobulin, RIG) ที่มีใช้ในประเทศ ไทยขณะนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 ชนิดผลิตจากซีรั่มม้า (Equine Rabies Immunoglobulin, ERIG) เตรียมโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับม้า และฉีดกระตุ้นจนกระทั่งมีแอนตี้บอดีย์ อยู่ในระดับสูงพอ จึงเจาะโลหิตมาแยกซีรั่มผลิตเป็น อิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ชนิดที่ 2 ชนิดผลิตจากซีรั่มคน (Human Rabies Immonoglobulin , HRIG)

วิธีใช้วัคซีนและอิมมูโนโกลบุลิน

1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า (Pre-Exposure Immunization)

ฉีดวัคซีน 1 มล. หรือ 0.5 มล. (แล้วแต่ชนิดของวัคซีน) 1 เข็ม เข้ากล้ามเนื้อ (IM) หรือขนาด 0.1 มล. เข้าในผิวหนัง (ID) บริเวณต้นแขน (Deltoid) ในวันที่ 0, 7 และ 21 หรือ 28 (วันที่ฉีดอาจคาดเคลื่อนไปได้บ้าง 1-2 วัน โดยไม่ต้องตั้งต้นใหม่)

ควรฉีดในกลุ่มบุคคลที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค เช่น ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิจัยเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า เจ้าหน้าที่ชันสูตรโรคพิษสุนัขบ้า สัตวแพทย์ นักสัตววิทยา ผู้พิทักษ์สัตว์ป่า อาจรวมถึงบุคลากรในสถานบริการสาธารณสุขแผนกฉุกเฉิน และแผนกผู้ป่วยโรคติดเชื้อในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้าสูง
2. การฉีดวัคซีนและ อิมมูโนโกลบุลินหลังสัมผัสโรค(Post-Exposure Treatment)

การฉีดอิมมูโนโกลบุลิน (RIG) ชนิดผลิตจากซีรั่มม้า (ERIG) ฉีดขนาด 40 IU/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ชนิดผลิตจากซีรั่มม้า (HRIG) ฉีดขนาด 20 IU/ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

การฉีด RIG ให้ได้ผลควรทำหลังจากชะล้างบาดแผลเพื่อขจัดการปนเปื้อนรวมทั้งล้างเชื้อ Rabies Virus ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วฉีด RIG ล้อมรอบบาดแผล เพื่อลบล้างฤทธิ์ (Neutralize) เชื้อ Rabies Virus ที่ยังคงตกค้างในบาดแผลหรือรอบบาดแผล ถ้าบาดแผลขนาดเล็ก การฉีดรอบแผลทำได้ปริมาณจำกัดให้ฉีดส่วนที่เหลือเข้ากล้ามเนื้อ ไกลจากจุดที่ฉีดวัคซีน

ไม่ควรฉีด RIG ขนาดสูงกว่าที่แนะนำ เพราะจะไปกดการสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน

ขอบคุณข้อมูล จาก http://testtnh.tripod.com/tipth_rabies.htm

โดย ..ภญ.วราภรณ์ ศิลปกาลประดิษฐ เภสัชกร ประจำโรงพยาบาลไทยนครินทร์

No comments:

Post a Comment