8/31/08

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่" :ธรรมนูญชีวิตของชาวอีสาน

วัน ที่ 30 สิงหาคม 2551: ตื่นตี 3 กว่าๆ เพื่อไปประกอบพิธีกรรม ตามประเพณีท้องถิ่น“ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่" บุญข้าวประดับดิน เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับ สัมพเวสี หรือ ผีไม่มีญาติ ต่างๆ ที่ วัด บ้านบกน้อย
ขอบคุณ แหล่ง ความรู้ “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่" :ธรรมนูญชีวิตของชาวอีสาน
จาก http://www.geocities.com/thatmahachai/heet/00.htm
สิ่งที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดในความเป็นเอกของชาวอีสาน คือ “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่" คำว่า “ฮีต” เป็นภาษาไทยอีสาน หมายถึงจารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งฮีตนี้จะต้องปฏิบัติเหมือนกันตั้งแต่ประชาชนธรรมดาจนถึงเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์เมื่อถึงคราว วาระ และเดือนที่จะต้องประกอบพิธีกรรมตามฮีตแต่ละแห่ง แต่ละชุมชนจะต้องปฏิบัติเหมือนกัน ซึ่งมีทั้งหมด ๑๒ ฮีตด้วยกัน ส่วนคำว่า “คลอง” ซึ่งชาวอีสานจะออกเป็น “คอง” จะเป็นเหมือนบทบังคับให้ทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับใด คลองจะมีความเข้มงวดมากกว่า “ฮีต” เพราะคลองเปรียบเหมือนกฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติและละเว้นก็จะถูกสังคมลงโทษตามฐานะแห่งความผิดนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ชาวอีสานจึงมีความเป็นอยู่ที่สงบร่มเย็นมาโดยตลอด เพราะต่างยึดมั่นในฮีตสิบสองคลองสิบสี่นั่นเอง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าฮีตและคลองเปรียบเหมือนธรรมนูญชีวิตของชาวอีสานที่นำมาซึ่งความสุข สงบ ร่มเย็น ตราบเท่าจนปัจจุบัน (บางส่วน) แต่สังคมอีสานหลายแห่งที่วิ่งตามโลกวัตถุ หันหลังให้ฮีตเก่าคลองเดิม เห็นความดีงามของวัฒนธรรมต่างชาติ และรับมาอย่างง่ายดายโดยไม่พิจารณาจึงทำให้สังคมส่วนนั้นมีความวุ่นวาย ระส่ำระสายเป็นครอบครัวมีปัญหาแตกแยก ลูกไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ คนแก่ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี พระ ครู ข้าราชการผู้นำระดับต่าง ๆ จ้องแต่จะเอารัดเอาเปรียบกันคดีต่าง ๆ มีให้เห็น ไม่เว้นแต่ละวัน ส่วนหนึ่งเกิดจากคนห่างเหินฮีตเก่าคลองเดิม ไม่สนใจนำพาคำสอนของบรรพบุรุษ หนังสือ “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่" เล่มนี้เกิดขึ้นในท่ามกลางสังคมอีสานที่กำลังล่มสลาย จึงอยากประกาศให้ผู้คนทราบว่าอดีตเขามีความสุขร่มเย็นกันอย่างไร

No comments:

Post a Comment