3/26/11

ประเมิน ON TOP Payment ณ นาเวียง นาแก คำเขื่อนแก้ว







วันที่ 22 มีนาคม 2554: ประเมิน ON TOP Payment ณ นาเวียง นาแก คำเขื่อนแก้ว:ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ปฏิบัติภารกิจ ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

ซึ่งมีภารกิจ ดังนี้ ต้อนรับคณะกรรมการ ประเมิน หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ที่รับงบประมาณเหมาจ่าย เพิ่มเติม (On Top Payment) ในนาม ตัวแทน จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .) สาขาพื้นที่อุบลราชธานี

ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)นาเวียง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)นาแก

ซึ่งเป็น ตัวแทน ของ หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในเขต อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

คณะกรรมการประกอบด้วย ท่านวิทยา ธารประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ประธานกรรมการ และคณะกรรมการ อีก 5 ท่าน ประกอบด้วย

คุณ ตุ๊ก บุญญาพร เผ่าพันธุ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร

คุณ สุภาพร แสนปุชุม เผ่าพันธุ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร

คุณ เขียว ไชยณรงค์ วาปี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร

คุณ วราพงษ์ กาบบัวเหลือง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร

คุณ ปูน้อย นางสาวศิวารัตน์ ตรีทศ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร

ซึ่งทุกท่านล้วนแล้วแต่ได้ให้คำแนะนำที่ดี ในการพัฒนางาน ระดับ ปฐมภูมิที่ดี

ทั้งนี้ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้นำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง และ คณะ เจ้าหน้าที่ ในโซน กู่จาน โซนดงแคนใหญ่ ร่วมต้อนรับ ทำหน้าที่ผู้ประสางานที่ โดย นายสุรินันท์ จักรวรรณพร หัวหน้างานประกันสุขภาพ สสอ.คำเขื่อนแก้ว

ในเวทีนี้ ทีมงาน จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)นาเวียง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)นาแก นำเสนอผลงานได้เป็นที่ประทับใจ โดยภาพรวม จากการลงพื้นที่ดูสภาพจริง ได้รับคำชม จากคณะกรรมการ ทั้งเรื่องการดูแลความสะอาด ของ อาคารสำนักงาน การจัดบริการ การจัดเก็บข้อมูล และ การปฏิบัติงานตามโครงการเพื่อแก้ปัญหา ต่างๆได้ดี

ขอบพระคุณ ทีมงาน ทั้ง ๒ แห่ง ที่ทำหน้าที่ได้ดีมาก

นางเครือวัลย์ คนชม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาเวียง

นายธานินทร์ ซื่อตรง จพ.สาธารณสุข รพ.สต. นาเวียง

นางรัศมี โซ่เงิน พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต. นาเวียง

นางสาวหทัยชนก จันทรากาศ นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต. นาเวียง

นายคมสัน อดกลั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก

นางปริยากร อดกลั้น พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก

นายพรรณลิณ อาจวิชัย เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก

ขอบพระคุณ ทีมงาน จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)ทุกแห่ง ที่มาร่วมให้กำลังใจที่ดีในวันนี้

เกณฑ์การประเมิน ONTOP : หลักเกณฑ์การประเมินเหมาจ่าย ONTOP

ทั้งนี้ ท่านวิทยา ธารประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ประธานกรรมการ ได้ให้ข้อมูล เพิ่มเติมว่า มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประเมินหน่วยบริการปฐมภูมิที่
มีศักยภาพครอบคลุมใน
4 ด้าน ประกอบด้วย

ด้านศักยภาพพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการ ด้านระบบบริการ และด้านผลการให้บริการ

เป็นเกณฑ์ส่วนหนึ่งของเกณฑ์ตรวจประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และทิศทางการพัฒนาบริการปฐมภูมิของประเทศ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1 เกณฑ์และเงื่อนไขหลัก (Major conditions and criteria) เป็นเกณฑ์และเงื่อนไขที่
หน่วยบริการปฐมภูมิที่มีศักยภาพต้องดำเนินการอยู่แล้วในทุกข้อ ดังนี้

· มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมด้านเวชศาสตร์ครอบครัว(ระยะสั้นโดยอนุโลม) หรือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่ปฏิบัติงานเป็นประจำ(เพิ่มเติมจากที่กำหนดในคู่มือบริหารงบกองทุนฯ ปี 2553) ในการดูแลและรับผิดชอบงานบริการปฐมภูมิต่อประชากร UC คือ1 : 10,000 หรือน้อยกว่า (ตามแนวทางการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ ข้อ ม 3.1)

· มีพยาบาลเวชปฏิบัติ หรือพยาบาลวิชาชีพ หรือพยาบาลชุมชน(เพิ่มเติมจากที่กำหนดในคู่มือบริหารงบกองทุนฯ ปี 2553) ปฏิบัติงานประจำที่หน่วยบริการปฐมภูมิต่อประชากร UC คือ 1 : 5,000 หรือน้อยกว่า และอย่างน้อยแห่งละ 1 คน (ตามแนวทาง
การตรวจประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ ข้อ ม
3.2)

· มีจำนวนบุคลากรประจำ (ไม่รวมแพทย์) ต่อประชากร UC คือ 1 : 1,250 คน (ตามแนวทางการตรวจประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ ข้อ ม 3.3 และ ม 3.4)

· มีคณะกรรมการ 4 ภาคส่วน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ แต่งตั้งโดยผู้อำนวยการ สปสช.สาขาจังหวัด หรือผู้อำนวยการ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่กำกับดูแล สนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่หน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ (เพิ่มเติมจากที่กำหนดในคู่มือบริหารงบกองทุนฯ ปี 2553) และมีรายงานการประชุมตามหน้าที่ดังกล่าว (ในปีแรกเน้นประเมินในด้านการทำหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้)

· อัตราส่วนการใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิเทียบกับที่โรงพยาบาลแม่ข่าย คำนวณดังนี้

> 0.88

OP visit (ประชากรในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิ) PCU

OP visit (ประชากรในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิ) ร.พ.

(หมายเหตุ : แก้ไขจากในคู่มือบริหารงบกองทุนฯ ปี 2553 ที่ระบุ จากา 1.11 เป็น 0.88)

ส่วนที่ 2 เกณฑ์และเงื่อนไขรอง (Minor conditions and criteria) เป็นเกณฑ์และเงื่อนไขที่
หน่วยบริการ อาจมีอยู่แล้วหรืออยู่ระหว่างการพัฒนาให้มี โดยต้องมีแผนและระยะเวลากำหนดชัดเจน และพร้อมดำเนินการได้ก่อนการประเมินในปีต่อไป ดังนี้

· มีเภสัชกร นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย ทันตแพทย์/ทันตาภิบาล รับผิดชอบ งานบริการปฐมภูมิ (ปฏิบัติงานประจำที่โรงพยาบาลแม่ข่าย) ตามเกณฑ์ต่อประชากร UC ที่กำหนด (ตามแนวทางการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ ข้อ ม 3.3 – 3.6)

· มีระบบสนับสนุนการเชื่อมโยงบริการระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิกับโรงพยาบาล
แม่ข่าย ได้แก่ ระบบข้อมูลผู้รับบริการ/เวชภัณฑ์ที่เชื่อมโยงหรือเป็นระบบเดียวกัน ระบบการให้คำปรึกษา/การนัดหมาย/ช่องทางด่วน และระบบการส่งต่อ
- ส่งกลับ

· มีข้อมูลผู้ป่วย 5 กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ (ได้แก่ เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์) มีแผนการเยี่ยมบ้านและผลในการลดภาวะเจ็บป่วยได้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ
50 ของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว

· มีแผนงานที่มีการสมทบงบประมาณ หรือร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล และมีผลการดำเนินงานในลักษณะให้ภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนเป็นผู้ดำเนินการหลัก

โดยมีรูปแบบการจัดบริการและการสนับสนุนงบประมาณดังนี้

รูปแบบที่ 1 จัดบริการแยกจาก โรงพยาบาลชุมชน

ลักษณะการจัดบริการ เป็นหน่วย/เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำ มีแพทย์และบุคลากรอื่นๆ ตามเงื่อนไข

อัตราเหมาจ่ายเพิ่มเติม จำนวน 100 บาทต่อประชากรหนึ่งคน

รูปแบบที่ 2 จัดบริการร่วมกับ โรงพยาบาลชุมชน

ลักษณะการจัดบริการเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่เป็นเครือข่ายหน่วยบริการประจำ และมีแพทย์เป็นพี่เลี้ยง มีพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปหรือพยาบาลชุมชนประจำตามเงื่อนไข

อัตราเหมาจ่ายเพิ่มเติม จำนวน 50 บาทต่อประชากรหนึ่งคน

No comments:

Post a Comment