4/30/11

นโยบาย21เรื่อง สิ่งดีดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี








วันที่ 22 เมษายน 2554 : นโยบาย21เรื่อง สิ่งดีดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี:ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมด้วย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ คณะ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)ทุกแห่ง ร่วมต้อนรับ นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ คณะ ในกิจกรรม การตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจ ทีมงานที่ปฏิบัติงาน ในระดับ อำเภอ ตำบล โดยเฉพาะ การปฏิบัติตาม นโยบาย 21 เรื่องหลัก ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

.... กำหนดการแรก นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ให้ความสำคัญ กับทีมงานระดับตำบล ท่าน ไปเยี่ยมให้กำลังใจ ทีมงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) สงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เทียบกับแห่งอื่นๆแล้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย มีการพัฒนา ไปมาก มีแปลงสมุนไพรที่หลากหลาย มีบริการแพทย์แผนไทย มีภูมิทัศน์ที่ดี โดยเฉพาะ ห้องน้ำ ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.สงเปือยนั้น สามารถพัฒนาให้ผ่านมาตรฐาน HAS ได้ ในโอกาสต่อไป เป็นคำชื่นชม ท่ามกลางที่ประชุม ที่ผมประทับใจ ... ขอขอบพระคุณ นางป้อมเพชร สืบสอน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สงเปือย นางดรรชนี เขียนนอก พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย นส.ราตรี ชายทอง นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย น.ส. กนกวรรณ ชาวอุบล เจ้าพนักงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย และทีมงาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม .) และผ้นำชุมชน ตำบลสงเปือย ที่ร่วมกันสรรสร้างผลงานที่ดีเพื่อชุมชนสงเปือยของเราในครั้งนี้

.... นโยบาย21เรื่อง สิ่งดีดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี จาก พวกเรา ชาวสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

ซึ่งนโยบาย 21 เรื่องหลัก ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นั้น มีที่มาที่ไป ดังนี้

วันที่10 มกราคม 2554 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี พณฯจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ว่า ในวันนี้ได้มีการพิจารณา นโยบาย แผนงาน และกิจกรรมทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุขที่จะให้ความสำคัญหรือเน้นย้ำเป็น พิเศษปี2554 นอกเหนือจากปกติ ทั้งเป็นนโยบาย โครงการที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และโครงการที่มีการริเริ่มใหม่ รวมทั้งหมด 21 โครงการ ได้แก่
1.การ
เดินหน้านโยบายรักษาฟรีอย่างมีคุณภาพ ในปีที่ผ่านมาได้เดินไปสู่จุดของนโยบายรักษาฟรี 48 ล้านคนใช้บัตรประชาชนใบเดียว จากนี้ไปจะให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพเป็นพิเศษ มีระบบประกันคุณภาพของสถานพยาบาลทั้งหมด เดินหน้าสถาบันรับรองคุณภาพสถานบริการสุขภาพซึ่งได้จัดตั้งขึ้นแล้วเมื่อ ปลายปีที่ผ่านมา ตลอดจนเน้นคุณภาพการรักษาพยาบาลและการให้บริการ เช่น การประกันคุณภาพเครื่องมือแพทย์ ซึ่งจะมีระบบตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในสถานพยาบาลทั่วประเทศ โดยมีกลไกการสอบเทียบความแม่นยำของเครื่องมือต่างๆ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาพยาบาลฟรีตามนโยบาย เช่นการใช้ระบบผ่าตัดทางกล้องเป็นต้น ตลอดจนการดูแลบำบัดผู้ป่วยติดสารเสพติด ผู้ป่วยโรคเอดส์ เช่นจะปรับเกณฑ์มาตรฐานในการให้ยาผู้ป่วยเอดส์ให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันกำหนดมาตรฐานจะให้ยาต้านไวรัสเมื่อพบปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซี ดีโฟร์ (CD4) ต่ำกว่า 200 ในอนาคตจะปรับเป็นต่ำกว่า 350 ก็จะให้ยาได้ รวมถึงการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชให้เข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น
2.นโยบาย
เพิ่มไอโอดีนเพิ่มไอคิวจะให้ความสำคัญมากขึ้น ในเดือนมกราคมนี้จะประกาศผลสำรวจไอคิวเด็กไทยทั่วประเทศครั้งใหญ่ที่สุดใน โลก ที่มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดเท่าที่เคยมีการทำมา และประกาศแผนงานในการเพิ่มไอคิวเด็กไทย กำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่ชัดเจน นอกจากนั้นจะติดตามประเมินผลนโยบายการแจกไอโอดีนเม็ดในหญิงตั้งครรภ์ การออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข 4 ฉบับที่มีการบังคับให้เกลือ น้ำปลา ซ๊อสปรุงรส ซีอิ๊วต้องเติมไอโอดีน
3.นโยบาย
ยกระดับสถานีอนามัยขึ้นเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งในปีที่ผ่านมายกระดับแล้ว 4,010 แห่ง จะยกระดับอีก 5,740 แห่ง เพื่อให้ครบ 9,750 แห่งภายในเดือนกันยายน 2554
4.จะ
ก่อสร้างโรงพยาบาลชุมชนในอำเภอเกิดใหม่ที่ยังไม่มีโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 54 อำเภอให้ครบทุกแห่ง ใช้งบของกระทรวงสาธารณสุขที่มีอยู่ในปัจจุบันรวม 500 กว่าล้านบาท ซึ่งจะเจรจากับสำนักงบประมาณเพื่อดำเนินการต่อไป โดยจะเริ่มสร้างตึกผู้ป่วยนอกก่อน และขยายต่อเติมตามกำลังงบประมาณที่จะได้รับต่อไป
5.จะ ตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชนด้านสาธารณสุข เพื่อทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการยกระดับสุขภาวะที่ดีของประชาชน
6.นโยบาย
โรงพยาบาล 3 ดี จะต้องเป็นโรงพยาบาล 3 ดีที่ยั่งยืน 100 เปอร์เซ็นต์ กล่าวคือต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ทำได้ร้อยละ 95 จะทำให้ได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์
7.นโยบาย
ลดความแออัดในโรงพยาบาล ด้วยระบบบริหารจัดการที่ดี เพื่อแก้ปัญหาความแออัด โดยเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งจะจัดประชุมระดมสมองบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัน ที่ 28 -29 มกราคมนี้ เพื่อหาคำตอบที่เป็นรูปธรรมในการลงมือดำเนินการต่อไป
8.นโยบาย
ลดหวานมันเค็ม ลดอ้วนลดโรคทุกหมู่บ้าน ชุมชน
9.นโยบาย
ลดอบายมุขโดยเฉพาะเหล้าและบุหรี่ จะต้องมีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่นเรื่องเหล้า จะเริ่มต้นดำเนินการออกกฎหมายอย่างน้อย 5 ฉบับ กฎระเบียบอีก 2 ฉบับ รวมทั้งมาตรการอื่นๆ ในเรื่องบุหรี่จะผลักดันแผนยุทธศาสตร์ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติเข้าสู่ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี การแก้กฎหมายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ออกกฎกระทรวงบุหรี่ปลอดไฟไหม้ รวมทั้งจะมีประกาศฉบับใหม่อีก 2 ฉบับ
10.นโยบายสาธารณสุขเพื่อการท่องเที่ยว จะประกาศพื้นที่ดำเนินการให้ได้อย่างน้อยใน 10 จังหวัดในปี 2554
11.นโยบาย
ส้วมสะอาด เพราะส้วมเป็นดัชนีชี้วัดตัวหนึ่งสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว เน้นพิเศษส้วมสาธารณะใน 2 พื้นที่ คือปั๊มน้ำมัน และร้านอาหาร จะกำหนดเป้าหมายชัดเจน เช่นปั๊มน้ำมันจะเน้นเส้นทางสายหลัก 8 สายและเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ รวมปั๊มน้ำมันในโครงการ 1,578 แห่งที่จะต้องเป็นส้วมสะอาดได้มาตรฐานของกรมอนามัย คือต้องสะอาด มีปริมาณเพียงพอและปลอดภัย
12.นโยบาย ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติหรือ
เมดดิคอลฮับ (Medical Hub) จะเน้น 3 เรื่องที่จะเดินหน้าทันทีในปี 2554 คือ 1.การส่งเสริมบริการด้านสุขภาพ สปาไทย นวดแผนไทย 2.การบริการด้านแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก 3.การส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยที่เป็นรูปธรรม ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลนั้น จะมอบให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพทำประชาพิจารณ์ ให้ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
13.นโยบาย
พึ่ง ตนเองด้านวัคซีน จะขยายการผลิตจากปัจจุบันที่ผลิตวัคซีนได้ 2 ตัวเป็น 7 ตัวภายใน 10 ปีเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ หากเหลือจะส่งออกต่อไป ซึ่งจะสามารถทดแทนการนำเข้าได้ปีละ 3,000 ล้านบาท
14.โครงการ
ตรวจสุขภาพผู้นำศาสนาฟรีร่วมกับมูลนิธิ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ์ ภายใต้อุปภัมภ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร โดยจะตรวจสุขภาพฟรีให้แก่พระสงฆ์สามเณรทั่วประเทศ 330,000 รูป และอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ผู้นำศาสนาอิสลามและอื่น ๆ อีกประมาณ 54,000 คน รวมประมาณ 390,000 ราย ภายใน 3 เดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2554
15.การ
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในสตรี โดยจะอบรม อสม. 5 แสนคนให้สามารถสอนประชาชนในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ ส่วนมะเร็งปากมดลูกตั้งเป้าหมายในปี 2554 จะตรวจให้ได้ 2.6 ล้านคน และภายใต้แผน 5 ปีจะทำให้ได้ 13 ล้านคน
16.การจัดทำแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุด้านสาธารณสุข โดยจะตั้งคณะทำงานยกร่างแผนให้มีความชัดเจน เพราะในอนาคตไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งจะต้องมีมาตรการรองรับผู้สูงอายุในเขตเมืองที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ตามแผนงานนี้มีหลายโครงการ เช่น โครงการใส่ฟันเทียมทั้งปากฟรีแก่ผู้สูงอายุ 30,000 ราย โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติให้กับผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปากอีก 10,000 ราย เป็นต้น
17.การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งเดิมความ ร่วมมือจะเน้นด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง แต่ในช่วงหลังเพิ่มด้านสังคม ซึ่งสาธารณสุขถือเป็นงานด้านหนึ่งของสังคม โดยตั้งคณะทำงานยกร่างแผนงานเพื่อก้าวเดินไปสู่ปีพ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้
18.นโยบาย สาธารณสุขเพื่อผู้พิการ จะ
มุ่งเน้นการดูแลผู้พิการเป็นพิเศษโดยเฉพาะผู้พิการตาบอด ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้ เช่น จะคัดกรองนำคนตาบอดที่สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่รักษาให้สายตาดีขึ้นหรือ มองเห็นได้ การอบรมการใช้ไม้เท้าขาวสำหรับคนตาบอด การอบรมภาษามือสำหรับคนหูหนวก และการดูแลผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวซึ่งมีประมาณ 13,000 รายทั่วประเทศ
19. เดินหน้าพัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จะมุ่งเน้นทั้งการผลิตบุคลากร การปรับปรุงรู
ปแบบการให้บริการและการพัฒนายาสมุนไพรไทยใช้รักษาพยาบาลอย่าง มีประสิทธิผลมากขึ้น ควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน โดยปัจจุบันมียาสมุนไพรไทยที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่ง ชาติ 19 รายการ ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนกระบวนการผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติอีก 23 รายการ และประกาศใช้ภายในปี 2554 นี้จะมียาสมุนไพรไทย 42 รายการ เป็นอย่างน้อยในบัญชียาหลักแห่งชาติ และจะพัฒนายาไทยเพื่อใช้ในการรักษาโรค เช่นมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้นควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน
20. การคุ้มครองผู้บริโภค จะเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น รวมทั้งรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน และเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เช่นปีนี้จะปรับปรุงกฎระเบียบเรื่องฉลากโภชนาการให้ผู้บริโภคอ่านเข้าใจง่าย รวมทั้งฉลากมาตรฐานด้านสุขภาพเช่นลดหวาน มัน เค็ม การรณรงค์การอ่านเพื่อชีวิต รวมทั้งการฉีดวัคซีนผู้บริโภค ให้มีภูมิต้านทานไม่ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่างๆ และ
21.โครงการอสม.เข้มแข็ง
ออกระเบียบ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย อสม.ปี 2554 ที่เป็นทางการเป็นฉบับแรก เน้นบทบาท อสม.เชิงรุก และกำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้อสม.เข้ามามีบทบาทเป็นกลไกสำคัญในการร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนต่อไป

ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูล จาก http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=35966

ซึ่งปัจจุบัน ได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๓๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๔ มีชื่อเต็มว่า ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๔

โ ด ย ที่เ ป็น ก า ร ส ม ค ว ร กํา ห น เ บีย บ สํา ห รับ อ า ส า มัค ร ส า ธ า ร ณ สุข ป ร ะ จํา ห มู่บ้า น เพื่อคุ้มครองประชาชน ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เข้ามามี ส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของชุมชน ตามหลักการการสาธารณสุขมูลฐานของกระทรวงสาธารณสุข

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕ ๓ ๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราช การ แ ผ่น ดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข

ประจําหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๔

….. คณะที่ร่วม เดินทางมาให้กำลังใจทีมงานพวกเรา ในครั้งนี้ประกอบด้วย

นพ.จิณณพิภัทร ชูปัญญา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นางอรวรรณ ยืนยง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นางสุนทรี รัศมิทัติ หัวหน้ากลุ่มงาน สุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นายโกวิทย์ โพธิวรรณา หัวหน้ากลุ่มงานบริหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นางชฎาภรณ์ ชื่นตา หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นส.จรรยา ดวงแก้ว น.ส.จรรยา ดวงแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นางสุวรรณี แสนสุขหัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพภาคประชาชนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นายบรรจบ แสนสุขหัวหน้าศูนย์ ICT สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นางสุภาพร แก้วใส นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นางนวลจันทร์ บุญธรรม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นายประดิษ ภูมิแสน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

นายสมชาติ ยอดดี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรเป็นต้น

No comments:

Post a Comment