4/8/11

ADLI กับ LeTCLi เกี่ยวอะไรกับ PCA คุณภาพ HA องค์กร PMQA ประเมิน DHSA



วันที่ 8 เมษายน 2554: ภาคบ่าย ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม ทีมวิทยากร หลักสูตรการอบรม เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ จังหวัดยโสธร (Primary Care Award: PCA)
ทีมวิทยากร ประกอบด้วย นางวิลาวรรณ ไชยมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ใกล้บ้านใกล้ใจ
นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย
นายบัณดิษฐ สร้อยจักร นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.ดงแคนใหญ่
ภก.กฤษฎา จักรไชย เภสัชกร รพ.สต. ดงแคนใหญ่
นางนัยนา ดวงศรี หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางภัทรวรรณ จันทร์ศิริ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
อำเภอ กุดชุม มี น.ส.สถิต สายแก้ว พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง PCA จาก จังหวัดศรีสะเกษ มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่มีประโยชน์ มาร่วมให้คำแนะนำด้วย
ประสานการจัดการประชุม ที่ มีคุณภาพ โดย นางสุวรรณี แสนสุขหัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพภาคประชาชน นายรัฐพลอินทรวิชัย นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร คุณอารีรัตน์ เนติวัชรเวช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
... ..หลัก การประเมิน PMQA  HA  PCA หรือ งานคุณภาพทั่วไป ... หลักการจัดการที่ดี โดยใช้หลัก ADLI (สำหรับการประเมินหมวด 1-6)
และ LeTCLi (สำหรับการประเมินหมวด 7)
PCA 7 หมวด ประกอบด้วย 1หมวดการนำองค์กร 2หมวดการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ 3หมวดการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4.หมวดการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5หมวดการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6หมวดการจัดการกระบวนการ และ7หมวดผลลัพธ์การดำเนินการ หากจัดหมวดหมู่ตามหลักทฤษฏีระบบ
Input คือ หมวด1 การนำองค์กร หมวด2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Process คือ หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล หมวด6 การจัดการกระบวนการ
Output คือ หมวด7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
Feedback คือ หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มี แทรกอยู่ในทุกๆ ขั้นตอน ทั้ง Input Process Output  
ในทุกหมวดที่กล่าวมา องค์กรผู้รับการประเมินจะต้องตอบคำถาม ให้เห็นภาพการดำเนินการบริหารจัดการในแต่ละหมวด
แล้ว ADLI กับ LeTCLi มาเกี่ยวข้องอย่างไร
ADLI เป็นประเด็น ในการตอบคำถาม ในมิติ ของกระบวนการ (Process)
ส่วน LeTCLi เป็นประเด็น ในการตอบคำถาม ในมิติ ของผลลัพธ์ (Output)
ADLI เป็นประเด็น ในการตอบคำถาม ในมิติ ของกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย
• Approach - A คือ แนวทาง มีวิธีการหรือแผน และระบบที่ชัดเจนที่มุ่งบรรลุผลองค์กร
• 
Deployment - D คือ การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ ดำเนินการ เป็นระบบ/ครอบคลุมทุกขั้นตอนตามแผนทุกหน่วยงาน
• 
Learning - L คือ การเรียนรู้ (ทบทวนและปรับปรุง) ติดตามประเมินผลลัพธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำสู่การปรับปรุง
• 
Integration - I คือ การบูรณาการ ความสอดคล้องระหว่างแผน ปฏิบัติ วัด วิเคราะห์ ปรับปรุงมุ่งสู่เป้าหมายองค์กร
ในการขับเคลื่อน นั้น ทุกๆส่วน ถือว่ามีความสำคัญ จึงจะสามารถ ขับ และ เคลื่อนไปได้
เปรียบองค์กร หรืองาน เป็นตัวรถ การจะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ จะต้อง มีองค์ประกอบที่ครบ
ทั้ง Input Process จึงจะไปถึง เป้าหมาย คือ Output
หมวดที่ 1.  การนำองค์กร และความรับผิดชอบต่อสังคม  ต้องมี รถที่มีสภาพพร้อมใช้งาน และมี คนขับ ที่มีคุณสมบัติครบ
หมวด2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ต้องมีเป้าหมายที่จะไป และ มีการวางแผนไปในเส้นทางที่สั้น สะดวก ประหยัด ปลอดภัยที่สุด  
หมวด3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีผู้ร่วมเดินทาง ผู้โดยสารที่เรากำลังพาไปเป็นกลุ่มไหน
รวมทั้ง เพื่อนร่วมใช้ถนน และ คู่ค้าที่จะไปติดต่อด้วย  
Process คือ หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล  หมายถึงบุคคลภายในทีเกี่ยวข้อง เช่น คนขับรถ หากเป็น ครอบครัว ก็เช่น
ภรรยา บุตร แต่ละคนต้องเตรียมตัวอย่างไร  
หมวด6 การจัดการกระบวนการ  กระบวนการ ทุกๆส่วนต้องพร้อม คนขับรถ ดูกระบวนการความปลอดภัย ตรวจสภาพรถ ให้พร้อมใช้ ยาง ไฟ เชื้อเพลิง ใบขับขี่
            กระบวนการสนับสนุน เช่น งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้  ในการเดินทาง  
ในการ Monitor เปรียบผู้บริหาร เป็นคนนั่งเบาะหลัง แต่สามารถ Monitor ให้การขับ เคลื่อนองค์กร หรือเคลื่อนรถ นผู้โดยสาร ไปสู่เป้าหมาย ที่ตั้งไว้ได้  โดยใช้ LeTCLi  วัด M&E ได้ในทุกขณะ และ อย่างต่อเนื่อง
LeTCLi  วัด M&E ซึ่ง LeTCLi เป็นประเด็น ในการตอบคำถามการประเมินคุณภาพ ในมิติ ของผลลัพธ์ (Output) ประกอบด้วย 
ระดับ (Level) แนวโน้ม (Trend) สารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ (Comparison) และ ความเชื่อมโยง (Linkage)
ระดับLevel of performance meet goals เป็น กระจก ส่องหลัง
แนวโน้ม sustained improvement Trends กระจก หน้ารถ
all key measures พวงมาลัย หน้าปัด
สารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ Comparisons and benchmarks กระจก ข้าง ทั้ง สอง ข้าง
ความเชื่อมโยงLinkage(ความเชื่อมโยง) ตรงเป้า เรานํา ล้ำหน้าดี มีตัวชี้ครบ
งานที่เราทุกคนทำอยู่ในปัจจุบัน คือ หรือ PMA “”PCA แต่เรา ยังไม่มีการเขียนออกมาในรูปของ เอกสาร
สรุปแล้ว คงต้อง มีการเพิ่มความรู้ให้กับ พวกเราทุกคน โดยเฉพาะ ด้านการเขียนออกมา ให้ สามารถ ดู ประเมินได้ ได้ ทั้ง ADLI และ LeTCLi ต่อไปครับ  LTCLi

ตัวอย่าง การนำ ADLI เป็นแนวทางการพัฒนา DHS – PCA แยกเป็น Scoring 5 ระดับ
ในการประเมิน UC CARE  เพียงแต่แยก Deployment เป็น 2 ระดับ
1.มีแนวทาง และ / หรือ เริ่มดำเนินการ
2.ถ่ายทอด ขยายการ ดำเนินการ  3.ดำเนินการเป็นระบบ และ/หรือครอบคลุม
4.เรียนรู้  
5.บูรณาการ
           
1 มีแนวทางที่ชัดเจน และ/หรือ เริ่มดำเนินการ (แนวทาง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์เป็นอย่างไร, แผนขั้นตอนเป็นอย่างไร  และตัววัดเป้าหมาย วิธีการติดตามประเมินผลเป็นอย่างไร)
2 มีการขยายการดำเนินการเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ครอบคลุม
3 ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และ/หรือ มีการทบทวน ประเมินและปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญและ/หรือ มีการดำเนินการครอบคลุม (**ระบบ หมายถึง สามารถทำซ้ำได้ มีขั้นตอนชัดเจน)
(การดำเนินการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1ทำได้ครอบคลุมทุกขั้นตอนตามแผนหรือไม่
อย่างไร, 2คนที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่ทุกคนหรือไม่อย่างไร และ3คนที่ทำทำอย่างมุ่งมั่นหรือไม่ อย่างไร)
4 มีการทบทวน ประเมินผลและปรับปรุงโดยใช้ข้อมูลจริงและมีการเรียนรู้เพื่อปรับพัฒนาให้ดีขึ้น
(การเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ผลลัพธ์ตรงเป้าหรือไม่อย่างไร, มีการแลกเปลี่ยน
บทเรียนที่ได้รับหรือไม่อย่างไร และมีการนำบทเรียนไปปรับปรุงหรือไม่อย่างไร)
5 มีการบูรณาการการพัฒนาใหม่เข้าสู่ระบบงานหลักขององค์กร เริ่มเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และ
ตอบสนองต่อเป้าหมาย/พันธกิจองค์กร
(การบูรณาการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสอดคล้องของเป้า แผน ปฏิบัติ วัด ปรับ,
ความสอดคล้องกับกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง และความสอดคล้องกับเป้าหมายของเครือข่าย
บริการปฐมภูมิ)

**ระบบ หมายถึง สามารถทำซ้ำได้ มีขั้นตอนชัดเจน
เช่น ระบบสุขภาพ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ถือได้ว่าเป็นระบบแล้ว เพราะ ในแต่ละ Essential Care
สามารถทำซ้ำได้ ในแต่ละปี จะมี มี 5 ขั้นตอน หรือ SI3M ในการทำซ้ำ ประกอบด้วย
            ขั้น 1 จัดทำและนำเสนอข้อมูล โรคและภัยสุขภาพ (information)
            ขั้น 2 กรรมการ / เครือข่าย ร่วมตัดสินใจจัดทำแผน  Structure
ขั้น 3 ดำเนินการตามแผน implementation
ขั้น 4 บูรณาการ / ให้การสนับสนุน  Integration

ขั้น 5 กำกับ ประเมินผล Monitor&Evaluation 

No comments:

Post a Comment