10/19/11

ลดดื่มอัลกอฮอล์ในชุมชน จากงานวิจัยสู่นิสัยประจำ




วันพุธที่ 7 ตุลาคม 2554 ลดดื่มอัลกอฮอล์ จากงานวิจัยสู่นิสัยประจำ

ร.นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นประธานการประชุม ชี้แจ้ง การดำเนินงานตาม โครงการสำรวจสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการบริหารจัดการ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยชุมชนจังหวัดยโสธร ปี ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุม พญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โดยมีหลักการและเหตุผลสรุปได้ดังนี้

จากสถานการณ์ปัจจุบันแนวโน้มการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ประเทศไทยมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมทุกประเภทอยู่ในอันดับ ๕ (ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา: ๒๕๔๙) ของโลก คิดเป็น ๑๘.๖ ล้านคน (ร้อยละ ๓๕.๔๖ ของประชากรอายุ ๑๑ ปี ขึ้นไป) โดยมีปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน ๑๓.๕๙ ลิตร/คน/ปี เมื่อพิจารณาแยกประเภทของการดื่ม พบว่า คนไทยบริโภคเหล้า (Spirits) เป็นอันดับที่ ๓ ของโลก โดยมีปริมาณการบริโภคเท่ากับ ๑๒.๔๕ ลิตร/คน/ปี บริโภคเบียร์ (Beer) เป็นอันดับที่ ๕๘ ของโลก โดยมีปริมาณการบริโภคเท่ากับ ๑.๑๒ ลิตร/คน/ปี และบริโภคไวน์ (Wine) เป็นอันดับที่ ๑๑๑ ของโลก โดยมีปริมาณการบริโภคเท่ากับ ๐.๐๑ ลิตร/คน/ปี สิ่งที่น่าวิตกกังวล คือ คนไทยที่มีอายุเกิน ๑๑ ปี ที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมากกว่า ๑ ใน ๓ และกำลังขยายไปสู่ผู้หญิงและเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี เพิ่มจำนวนเกือบ ๖ เท่า คือ จากร้อยละ ๑ เป็นร้อยละ ๕.๖ ในเวลา ๗ ปี และกลุ่มเยาวชนชาย ๑๑-๑๙ ปี ดื่มสุราร้อยละ ๒๑ (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ: ๒๕๕๐) นอกจากนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ: ๒๕๔๖) ได้สำรวจการดื่มสุราของประชากรไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปี ขึ้นไป ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๘ ร้อยละ ๑๔.๙ ดื่มนาน ๆ ครั้ง ส่วนเครื่องดื่มที่ประชาชนกลุ่มดังกล่าวนิยมดื่มมากที่สุดได้แก่ เบียร์และสุราขาว คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๐ และ ๓๒. ตามลำดับ (บัณฑิต ศรไพศาล: ๒๕๔๙) นอกจากนั้นได้มีการศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มคนงานเหล่านี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าพฤติกรรมการดื่มสุราในคนงานชายสูงถึงร้อยละ ๕๘ ส่วนเพศหญิงพบร้อยละ ๙.๓ (บัณฑิต ถิ่นคำรบ: ๒๕๔๗) จากสภาพการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากในประชาชนไทยดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามมามากมาย เช่น กลุ่มที่ดื่มเป็นประจำในเพศชายมีปัญหาทะเลาะวิวาทเป็นอันดับแรกร้อยละ ๔๕.๖ ปัญหาสุขภาพอนามัยร้อยละ ๓๒.๙ และปัญหาอุบัติเหตุร้อยละ ๓๐.๑ (Wibulpolprasert: ๒๐๐๔) ในส่วนของภาระโรคจากพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันดับ ๒ ของการสูญเสียสุขภาพรองจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ ๕.๘ ของการสูญเสียทั้งหมด นอกนั้นยังทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความผิดทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว ความผิดฐานบุกรุก และปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมาในสังคมอีกมากมาย (ขนิษฐา บุญธรรมเจริญ และคณะ: ๒๕๔๒)

จากข้อมูลและสภาพปัญหาดังกล่าว จังหวัดยโสธรจึงจัดทำการสำรวจสถานการณ์ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการบริหารจัดการ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยชุมชนจังหวัดยโสธร ปี ๒๕๕๔ ขึ้น เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งจังหวัดต่อไป

๒.วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ของจังหวัดยโสธร นำข้อมูลไปใช้วางแผนงานในการแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกิดการบริหารจัดการโดยชุมชนในการแก้ไขปัญหา

๓.กลุ่มเป้าหมาย

อำเภอละ ๑ หมู่บ้าน สำรวจผู้ที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป รวมจำนวน หมู่บ้าน

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว มีพื้นที่หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการวิจัยดังกล่าว จำนวน ๑ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านเป้าหมาย บ้านดู่ หมู่ที่ ๖ ตำบลทุ่งมน จำนวน ๘๖ หลังคาเรือน ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสิม ประชากร อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ชาย ๑๘๖ คน หญิง ๒๐๕ คน รวม ๓๙๑ คน โดมีหมู่บ้านควบคุม คือบ้านพรพูลสุข หมู่ที่ ๕ ตำบลดงเจริญ จำนวน ๘๘ หลังคาเรือน ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจริญ

ประชากร อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ชาย ๑๘๖ คน หญิง ๑๗๖ คน รวม ๓๖๒ คน

ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้ร่วมประชุม จาก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ประกอบด้วย นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย

นายบัณดิษฐ สร้อยจักร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนสิม และผู้ใหญ่บ้านบ้านดู่ หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งมน

ทั้งนี้ เป็นการขยายผล จากการวิจัย ของ ดร.นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

ที่ปฏิบัติได้ผลเป็นอย่างดีมาแล้ว จาก หมู่บ้าน ที่การบริโภคอัลกอฮอล์ มาก ในพื้นที่ จังหวัดมหาสารคาม

ประชุมวันนี้ อำนวยการประชุมด้วยดี โดย นางประชุมพร กวีกรณ์ หัวหน้ากลุ่มงาน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางกชกร ชูแก้ว นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ

No comments:

Post a Comment