11/25/10

โมเดลปลาทู_เรื่องเล่าเร้าพลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้KM_วิทยากร รพ.สต.ครู ก.ยโสธร








24-25 พฤศจิกายน 2553: โมเดลปลาทู_เรื่องเล่าเร้าพลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้KM_วิทยากร รพ.สต.ครู ก.ยโสธร : ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง โครงการเสริมศักยภาพบุคลากรเพื่อการสนับสนุนงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ณ ห้องประชุม บั้งไฟโก้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โครงการดีๆ ที่ร่วมสร้างสรรค์สังคม โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ร่วมกับ มูลนี สดศรี-สฤษดิ์วงศ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ พัฒนาวิทยากรระดับจังหวัด และเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ...บรรยากาศเป็นการอบรมเกี่ยวกับการเสริมพลัง เพื่อพัฒนาวิทยากรระดับจังหวัด ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ผู้เข้ารับการประชุมครั้งนี้ เพื่อ ทำหน้าที่ วิทยากร ครู กง ระดับจังหวัด ซึ่งในการออบรมครั้งนี้ เป้นผู้ปฎิบัติงาน จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชนและ โรงพยาบาลยโสธร ซึ่งทีมงานของพวกเรา ได้คัดเลือก(Mapping) ผู้เข้าร่ววงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ดี มีความเสียสละและเป็นตัวอย่างของบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกที่ดี ซึ่งอาจเรียกรวมๆว่าเป็นระดับหัวกระทิ ของ จังหวัดยโสธร จำนวน ๑๕ คน

โดยมี ผู้ทำหน้าที่เป็น คุณ เอื้อ Project Manager ที่ดี โดยทีมงาน ของ นางสุวรรณี แสนสุขหัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพภาคประชาชน นส.สิริกัลยา อุปนิสากร นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร การให้คำแนะนำที่ดี จาก อาจารยืเจิมขวัญ ศรีสวัสดิ์ จาก มูลนี สดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ( มสส.)

และการทำหน้าที่ ที่ดี ของทีมวิทยากร ที่ดีมากๆ ของเรา อีก ๒ ท่าน คือ นางวิลาวรรณ ไชยมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ใกล้บ้านใกล้ใจ อำเภอ กุดชุม และ นส.ระยอง มีดี ผอ.รพ.สต.สมสะอาด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา ในห้องผู้จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( Facilitatir) จะสร้างบรรยากาศแบบกันเอง เพื่อให้ผู้ร่วมวงเล่าเรื่องรู้สึกผ่อนคลายสบายๆทำหน้าที่คอยเจาะ และดึงให้ได้ประเด็น ตามที่ต้องการ การ Keep หัวปลา เพราะเชื่อว่าจะสามารถดึง Tacit Knowledge ออกมาจากแต่ละคนได้อย่างเต็มที่ ที่เรียกว่า เรื่องเล่าเร้าพลัง และส่วนของการบันทึกยังได้จัดให้มีหลายช่องทาง ชนิดว่าไม่ให้เรื่องเล่ามีการตกหล่น ตั้งแต่บันทึกด้วยการเขียนลงกระดาษPaper Note บันทึกลงใน Flip Chart โดย Note Taker โดย ผู้มีร่วมวงสนทนาที่ดี Participant

ตามหลักการแล้ว การสร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มด้วยวิธีง่าย เช่นทำสมาธิ หรือBody Scan หรือการพิจารณาตัวเองเพื่อให้ระลึกรู้อยู่กับตัวเอง ด้วยการขอบคุณตัวเอง ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์ความดีต่อสังคมมา หากมีเวลา ให้ นึกถึง

ขอบคุณ...ดวงตาทั้ง 2 ที่ทำให้เรามองเห็น ขอบคุณจมูก...ที่ทำให้เราหายใจเข้า-ออก ปกติ

ขอบคุณหู...ทั้ง 2 ข้างที่ทำให้เราได้ยินเสียงเพราะ คำพูดดีๆ ขอบคุณ 1 สมอง...ที่ทำให้เราคิดแก้ไขปัญหาทุกปัญหา

ขอบคุณมือ...ทั้ง 2 ที่ทำให้เราได้โอบกอดคนที่เรารักได้อย่างอบอุ่น หรืออาจจะ เพิ่ม กิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรม Love Wave Eyes Contrac ประทับใจ การเสนอความคิดดีจากที่ประชุม ในหลายเรื่อง

... การจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Knowledge Management: KM ในวันนี้ พวกเราปฏิบัติตาม

MODEL “ปลาทู :ซึ่งหลายๆ คนคงเคยได้ยินการกล่าวถึง โมเดลปลาทู กันมาบ้างแล้ว ขอสรุปย่อๆ เป็นภาษาที่ พวกเราใช้ ในการ อบรม วันนี้ดังนี้.... โมเดลปลาทูคืออะไร อะไรคือโมเดลปลาทู อยากรู้เรื่องโมเดลปลาทู

MODEL “ปลาทู TUNA MODEL Tuna Model

โมเดลปลาทู : TUNA Model โมเดลนี้ออกแบบโดยท่าน อาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการ

สื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อ สังคม(สคส.) เป็นโมเดลหรือความคิดรวบยอดที่สรุปรวมเป็น

ภาพภาพเดียวที่วิเศษยิ่ง (นอกจากนี้ ชื่อโมเดลยังมีที่มา ที่มี ความหมายกล่าวคือ ย้อนไป เมื่อวันที่ 8 9 กรกฎาคม 2547 ดร.ประพนธ์ ได้เข้าร่วมประชุมในงาน ตลาดนัดความรู้เพื่อ พัฒนาขีดความสามารถการจัดการด้านเอดส์ ณ จังหวัด เชียงใหม่ ในงานนี้ ดร.ประพนธ์ ได้ร่วมรับฟังการบรรยายโดย Mr. Frannie Léautier Geoff Parcell (ที่ปรึกษาการจัดการ ความรู้ ของ UNAIDS ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Learning to Fly ร่วมกับ Mr. Chris Collison ที่โด่งดังมาก) Mr. Parcell ได้ นำเสนอ เครื่องมือชุดหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก และช่วยทำให้ บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคเอดส์ มีสีสัน มี พลัง มีชีวิตชีวา ดร.ประพนธ์ จึงได้นำวิธีการดังกล่าวมาปรับใช้ กับโครงการด้านจัดการความรู้ ที่ สคส. ดำเนินการอยู่ ดังนั้น ชื่อ TUNA Model จึงมาจาก Thai UNAids Model นั่นเอง

โดยเป็นการมองประเด็นของการจัดการความรู้อย่างง่าย ๆ เป็น 3 กลุ่ม ในการดำเนินการจัดการความรู้เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วนคือ

1. หัวปลา (Knowledge Vision- KV) หมายถึง หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ เป้าหมายหลักของการดำเนินการจัดการความรู้ สะท้อน "วิสัยทัศน์ความรู้ หรือหัวใจของความรู้ เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า "เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร " โดย หัวปลานี้จะต้องเป็นของคุณกิจหรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมีคุณเอื้อและคุณอำนวยคอยช่วยเหลือ บุคคลที่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดหัวปลาที่ชัดเจน คือ "คุณเอื้อ(ระบบ)" (ปรับใช้ในการตั้ง วง ลป.รร. คือ กาตั้งหัวเรื่องสำหรับการพูดคุยในวงสนทนา) ซึ่งมีหลัก ๓ ร่วม ในการตั้งหัวปลา คือ ร่วมคุณกิจได้ ร่วมความสนใจ และร่วมเป้าหมายเดียวกัน

2. ตัวปลา (Knowledge Sharing-KS)เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรการแบ่งปันความรู้ (KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคคลสำคัญในการส่งเสริมให้เกิด "ตัวปลา" ที่ทรงพลังคือ "คุณอำนวย" ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ" มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะ tacit ความรู้ที่ซ่อนเร้นที่อยู่ในตัว "คุณกิจ" พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ซึ่ง วัตถุประสงคืหลัก ในการทำวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้และเกิดนวัตกรรม โดยตัวของเขาเอง หรือ ผม ขอ ใช้ศัพมท์ที่เข้าใจง่ายๆว่า หัวออกแสง หรือ บางท่านใช้ตำว่า เกิดความ ปิ๊งแว๊บ ด้วยตัวของเขาเอง เมื่อได้รับฟัง จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3. "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของคลังความรู้หรือขุมความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสมเกร็ดความรู้หมายถึง ขุมความรู้ (KA) ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สกัดขุมความรู้ ออกมาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกไว้ใช้งานต่อ คือ "คุณกิจ" โดยที่การจดบันทึกขุมความรู้ อาจมี "คุณลิขิต" Note Taker เก็บสะสม "เกร็ดความรู้" ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งอาจเก็บส่วนของ "หางปลา" ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป …. ส่วน การ BAR DAR AAR นั้น ไว้ อ่านต่อในโอกาสต่อไปครับ

หมายเหตุ: ผู้มีประสบการณ์ที่ดีที่เป็นระดับหัวกระทิ ที่เข้ารับการประชุมในวันนี้ ประกอบด้วย

๑. นายสงบ ชื่นตา ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอกุดชุม

๒. นางสนิท สัสสี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ดงแคนใหญ่

๓. นางสุภาวดี ขอสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย

๔. นางภัทรวรรณ จันทร์ศิริ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

๕. นายสมัย ชาเมืองกุล นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการสำนักงานสาธารณสุขอำเภอค้อวัง

๖. นายธนกร วอทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ศรี อำเภอมหาชนะชัย

๗. นางสุจี คล่องการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กระจาย

๘. นายเดชา ป้องศรี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ รพ.สต. คำครตา อำเภอ ทรายมูล

๙. นางประทานพร กสิพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลยโสธร

๑๐. นางทิพย์สุคนธ์ เนินทราย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ตาดทอง

๑๑. นางนรรถฐิยา ผลขาว นวก.สาธารณสุข ชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ

๑๒. นายมณีรัตน์ จันทลักษณ์ นวก.สาธารณสุข ชำนาญการสำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ

๑๓. น.ส.จิตลดาวรรณ โสวะภาสน์ นวก.สาธารณสุข ชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

๑๔. นายครรชิต จักรสาร นวก.สาธารณสุข ชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

๑๕. นางอารีรัตน์ เนติวัชรเวช พยาบาลวิชาชีพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

4 comments:

  1. ภาพTUNA MODEL ตามที่หลายท่านร้องขอครับ ขึ้นให้แล้วนะครับ

    ReplyDelete
  2. มีหลายท่าน ต้องการทรราบว่า สะบัดหาง สร้างพลัง จาก COPs ตามTUNA Model นั้นคืออะไร
    COP หรือ COPs เป็นความหมายเดียวกันครับ ที่มีตัวs ต่ท้ายนั้น ต้องการที่จะสื่อให้เห็นว่า คำว่า ชุมชนนั้นต้องมีมากกว่า๑คน มา Participateวึ่งกันและกัน
    ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practices : COP) คืออะไร ? หรือ ชุมชนของ Pant คืออะไร หรือ ชุมชน ของ Participant คืออะไร (Community of Participants)
    Learning in doing คำเหล่านี้ สามารถอธิบายได้ง่ายๆ ตามวิธีที่พวกเราได้ทดลองฝึกปฏิบัติดังนี้
    CoPs(Community of Practices) คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้
    • ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
    • มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
    • มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
    • วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
    • มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
    • มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
    • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี เช่น Internet
    • มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
    • มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
    • มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม
    CoPs ทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ (ที่ผมเรียกมันว่า ปิ๊งแว๊บ หรือ หัวออกแสง ของแต่ละคนนั่นแหละ) เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติ
    รายละเอียด ผมแนะนำ ให้ ค้น หาคำว่า CoP หรือ CoPs ดู มีคนรวบรวมไว้ที่หลากหลาย หรือ จะสะดวก อ่านที่ผม รวบรวมไว้ง่ายๆ ก็ได้ ที่นี่
    http://ptjsw.blogspot.com/2010/11/cop-cops-cop.html

    ReplyDelete