7/30/10

วิทยากร อบรม ส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย และ อสป.






28 กรกฎาคม 2553 ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปร่วมเป็นคณะวิทยากร การอบรมโครงการ “ส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอาสาสมัครปกป้องสถาบัน (อสป.) อำเภอคำเขื่อนแก้ว ประจำปี 2553” ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) กู่จาน ท่านกำนันชุมพล พอกพูน นำทีม ประชาชน ในตำบล ๑๐ หมู่บ้าน เข้ารับการอบรมจำนวน ๒๐๐ คน(ยกเว้นบ้านนาเวียงหมู่ที่ 6 กับหมู่ที 10 เพราะผ่านการอบรมแล้ว) งานนี้ ท่านอนุสรณ์ นาเวียง นายก องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) กู่จาน และ ท่าน ฐานันดร คำเสมอ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต . ) กู่จาน ได้อำนวยความสะดวก ห้องประชุม และสถานที่สำหรับการอบรม ได้ดีมากๆ... คณะวิทยากร ที่มาร่วมกันในวันนี้ ประกอบด้วย ท่าน อนุสิทธิ์ บัวหุ่ง ปลัดอำเภอ ท่านไพฑูรย์ จรรยา จากพัฒนาการอำเภอ ท่าน ร.อ.จรรยา สีลับสี จากสัสดีอำเภอ และ คุณครูสุริยันต์ จาก กศน.อำเภอ เป็นต้น... ขอขอบพระคุณ ผู้เข้ารับการอบรมและผุ้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านครับ...

ความหมายของประชาธิปไตย หมายถึง ระบบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิจะปกครองตนเอง หรือเลือกผู้แทนเข้าไป ทำหน้าที่ปกครองประเทศแทน
ประชาธิปไตย ด้านการดำเนินชีวิต
หมาย ถึง การดำเนินชีวิตของประชาชนตามวิถีของประชาธิปไตย เช่น การเคารพสิทธิ เสรีภาพของกันและกัน การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และการใช้เหตุผลพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และการใช้เสียงส่วนมากมาแก้ไขปัญหาโดยรับรองสิทธิเสียงข้างน้อย
หลักการประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และการมีส่วนร่วมเป็นการปกครองตนเองของประชาชน หมายถึง อำนาจสูงสุดมาจากประชาชน การปกครองเป็นของประชาชน และเพื่อประชาชน
2. การยอมรับเสียงส่วนใหญ่ และเคารพเสียงส่วนน้อย หมายถึง เมื่อความคิดเห็นของบุคคลย่อมแตกต่างกันเมื่อมีการลงมติ ต้องยอมรับเสียงข้างมากและให้เกียรติเสียงส่วนน้อย
3. การปกครองโดยกฎหมาย หรือ การยึดหลักนินิธรรม หมายถึง การใช้กฎหมายเป็นหลักในการปกครองประเทศ
4. ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคตามกฎหมาย หมายถึง มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีความเท่าเทียมกั ในขณะเดียวกันประชาชนทุกคนย่อมมีหน้าที่พึงปฏิบัติตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
5. การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมทางการเมืองตาม สิทธิ บทบาท หน้าที่ โดยต้องเข้าร่วมรับผิดชอบกิจกรรมทางการเมืองทุกครั้งที่มีโอกาส และไม่เพิกเฉยต่อการกระทำในฐานะเป็นพลเมืองดีของสังคม
สิ่งที่ประชาชนทุกคนมีในระบอบประชาธิปไตย
1. สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมที่บุคคลพึงมีในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศภายใต้กฎหมาย
2. เสรีภาพ หมายถึง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลตามสิทธิที่มีอยู่โดยไม่รุกล้ำสิทธิเสีรีภาพของผู้อื่น
3. ความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันของบุคคลอันพึงประสงค์ โดยอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
4. หน้าที่ หมายถึง ภารกิจที่ต้องทำในฐานะที่เป็นคนไทย ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ เช่น การเสียภาษี ฯลฯ
พฤติกรรมประชาธิปไตย
คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1. ความมีน้ำใจ 2. ความเคารพ
3. ความนอบน้อมถ่อมตน 4. ความรู้จักกาลเทศะ
5. การเป็นผู้รับฟังที่ดี 6. การยอมรับผิดและการให้อภัย
7. การให้เกียรติผู้อื่น 8. ความกตัญญู
การสนับสนุนและส่งเสริมบุคคลอื่นให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
1. การไม่ชัดนำให้เดินทางผิด
2. การส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี
3. การสร้างมิตรภาพ
4. การให้ความกรุณา
5. การชื่นชมบุคคลอื่น
6. การแสดงความไม่ลำเอียง
"รู้รักสามัคคี มีความเป็นกลาง จริงใจต่อกัน อดกลั้นและอดทน ยึดถือเหตุผล เป็นคนเสียสละ"

No comments:

Post a Comment